LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 1 26 เม.ย. 2567เช็ก 48 สาขาวิชาเอก ใช้รับสมัครสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2

รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน

usericon


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

     รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล PHICHIT EDUCATION : MODEL มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล PHICHIT EDUCATION: MODEL 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล PHICHIT EDUCATION : MODEL ที่เหมาะสมกับบริบทของการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การวิจัยนี้ ได้ดำเนินการผสมผสานทั้งเชิงประมาณและเชิงคุณภาพ
การบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตร ปัญญานุxxxล PHICHIT EDUCATION : MODEL ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล ตามประเด็นกรอบแนวคิดการวิจัย จากกลุ่มตัวอย่าง ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา (หมายถึง รองผู้อำนวยการโรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล) จำนวน 2 คน ครูที่ปฏิบัติการสอน(หมายถึง ครูและพนักงานราชการโรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล) จำนวน 54 คน ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวโรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล จำนวน 45 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียนบุคคลชุมชนในท้องถิ่น ของโรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล จำนวน 118 คน รวมทั้งสิ้น 234 คน จากนั้น จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสังเคราะห์เนื้อหาสาระ (Content analysis) ตามแบบการสังเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดการวิจัย จากนั้นจึงร่างรูปแบบและนำไปรับฟังความเห็น จากผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงและพัฒนา แล้วนำไปดำเนินการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาโรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล ในสภาพปรากฏการณ์บริบทของการบริหารจริง ผลการวิจัยดังนี้
1. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล PHICHIT EDUCATION: MODEL พบว่า
P : Participative Management การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พบว่า 1) ผู้บริหารมีการส่งเสริมการวางแผน ร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติงานการกำหนดโครงสร้างการบริหารองค์กรสำหรับคนพิการ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริมให้มีรูปแบบการจัดโครงสร้างขององค์กรแบบกระจายอำนาจสู่กลุ่ม/ฝ่ายบริหารงานชัดเจน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการงาน

จัดการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารมีการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม หรือประสานงานกับเครือข่ายชุมชน องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาด้านคนพิการ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 6) ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนา ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 7) ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการโดยสร้างหรือเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนแสดงศักยภาพ ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.88 และค่า S.D .= .20185
H : 4 H คือ Head Heart Hand Health ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ทักษะปฏิบัติ บริหารจัดการ พบว่าH 1 : Head ผู้บริหารรู้จักการใช้หลักการคิดที่มีวิสัยทัศน์ พบว่า 1) ผู้บริหารมีความรู้
ความเข้าใจ และใช้หลักการบริหารดำเนินงานสอดคล้องกับแผนนโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้น เป้าประสงค์ระดับกระทรวง สพฐ. สศศ.และสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์
ในการบริหารงาน มีความรู้ ความสามารถและทักษะการสร้าง/จัดทักษะประสบการณ์เรียนรู้สนองต่อนโยบายการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารมีการสื่อสารกับบุคลากรขององค์กร ชุมชน ผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับจัดการศึกษาสำหรับคนพิการขององค์กร อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุนบุคลากร ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการสร้าง จัดประสบการณ์เรียนรู้สนองต่อนโยบายสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
5) ผู้บริหารบริหารจัดการงบประมาณแบบโปร่งใส ชัดเจน มีการจัดหาเงินทุน หรืองบประมาณที่เพียงพอสำหรับนำมาใช้สนับสนุนในการดำเนินงานด้านคนพิการ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.94 และค่า S.D.= .11674
H 2 : Heart ผู้บริหารเป็นผู้มีหัวใจบริสุทธิ์ มีคุณธรรม จริยธรรม พบว่า 1) ผู้บริหารมี
หลักการปฏิบัติตนในการทำงานแบบให้ความรัก ความเข้าใจต่อบุคลากร เสมือนสมาชิกในครอบครัว อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารเป็นบุคคลที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญผู้ร่วมงาน ให้การยกย่องเชิดชูเกียรติและแสดงความยินดีแก่ผู้ร่วมงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารเป็นผู้ที่จิตใจเอื้ออารี มีน้ำใจ และเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารให้การส่งเสริมและสร้างความสามัคคีและร่วมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมทั้งภายในและภายนอก อยู่ใน ระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.97 และค่า S.D.= .08474



H 3 : Hand ผู้บริหารมีทักษะสามารถในการปฏิบัติงานและสร้างผลงานได้ พบว่า 1)
ผู้บริหารมีทักษะ ความรู้ สามารถบริหารจัดการนำนโยบาย ยุทธศาสตร์ จุดเน้น สู่การปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารมีทักษะวิเคราะห์และกำหนด วิสัยทัศน์ในการบริหาร
จัดการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพขององค์กร อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารใช้กระบวนการทำงาน วางแผน มีการ ประชุมครูและบุคลากรต่อเนื่อง เพื่อเสนอแนวปฏิบัติและนโยบายในการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การดำเนินงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารมีทักษะการบริหารจัดการองค์กรแบบการมีส่วนร่วม ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารมีทักษะและความสามารถปฏิบัติงานร่วมมือเป็นทีม เกิดผลสำเร็จด้านผู้เรียนและสถานศึกษาในระดับชาติ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.94 และค่า S.D.= .12076
H 4 : Health ผู้บริหารมีการส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะ สมรรถนะทางร่างกายและทางจิตใจ
ที่ดีต่อบุคลากรในองค์กร พบว่า 1) ผู้บริหารมีทักษะ การวางแผนส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพที่ดีของผู้เรียนและบุคลากร อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารมีทักษะ แนวคิดการประสานงานกับองค์กร ชุมชน ในการส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะ สมรรถนะทางร่างกายและ ทางจิตใจที่ดี ต่อบุคลากรในองค์กร อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารมีการจัดบริการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ โดย มีบริการด้าน การจ้างงานและการประกอบอาชีพ ตามกำหนดในกฎกระทรวง อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารมีการสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการงานคนพิการได้รับการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพ ในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.94 และค่า S.D.= .14004
I : Identity การเสริมสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ขององค์กร พบว่า 1)
ผู้บริหารส่งเสริมการบริหารยึดตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของราชการ เป็นแนวทางการบริหาร
จัดการศึกษาถูกต้อง ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริม พัฒนาและสร้างเอกลักษณ์ ด้านบรรยากาศและสภาพสิ่งแวดล้อมขององค์กร ให้เป็นที่เชิงประจักษ์ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริม จัดโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรให้รองรับการบริการด้านคนพิการและเป็นที่ยอมรับจากชุมชน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมให้กับบุคลากรที่มีความรู้ประสบการณ์เฉพาะทางขององค์กรทำหน้าที่หรือประสานงานกับเครือข่าย หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการด้านคนพิการชัดเจน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารดำเนินงาน ตามนโยบายขององค์กร สะท้อนการดำเนินงานเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรและอัตลักษณ์ของผู้เรียนเป็นเชิงประจักษ์ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.95 และค่า S.D.= .10810



C : Check การนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การทำงานอย่างต่อเนื่อง พบว่า
1) ผู้บริหารมีทักษะและส่งเสริมกระบวนการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานสม่ำเสมอ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารใช้หลักการบริหารความรับผิดชอบการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ไปสู่กลุ่ม/ฝ่ายงานอย่างมีระบบต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารมีทักษะ
ความสามารถนำผลสัมฤทธิ์จากการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ เพื่อวางแผนบริหารจัดการได้ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารใช้ทักษะการบริหารการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบแบบความร่วมมือเป็นทีม
ของกลุ่ม/ฝ่ายบริหารงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารมีศักยภาพในการปรับปรุง พัฒนางานจาผลการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ได้ในทางที่มีคุณภาพขึ้น อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.94 และค่า S.D.= .12218
H : Happy การทำงานร่วมกันด้วยความสุขและเสริมสร้างบรรยากาศให้บุคลากรใน
เชิงบวก พบว่า 1) ผู้บริหารส่งเสริมระบบจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับสร้างขวัญกำลังใจ แก่บุคลากรในการปฏิบัติงานคนพิการ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามในการปฏิบัติงาน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในองค์กร อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริมการทำงานร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อ อาทรต่อเพื่อนร่วมงาน เสมือนครอบครัว อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาสุขภาพดีแข็งแรง มีบุคลิกภาพที่ดี
ทั้งกายและจิตใจ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารส่งเสริมการทำงานร่วมกันในองค์กรแบบ ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ร่าเริงแจ่มใส และมีความสุข อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพ ในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.97 และค่า S.D.= .08114
I : Important บุคลากรให้ความสำคัญในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พบว่า
1) ครูและบุคลากรเป็นครูมืออาชีพ สามารถ เป็นแบบอย่างที่ดีขององค์กรและสังคม อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ครูและบุคลากรรู้จักตัวตน ในบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
3) ครูและบุคลากรมีความมุ่งมั่น ทุ่มเทและเสียสละในการปฏิบัติงานส่วนรวม อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ครูและบุคลากร ให้ความสำคัญและรับผิดชอบงานในหน้าที่ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) บริหารจัดการโดยสร้างและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ เป็นที่ยอมรับ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.93 และค่า S.D.= .13531
T : Team Learning การเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม พบว่า 1)ผู้บริหารส่งเสริม
และสนับสนุนในการปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน สอดคล้องตามจุดมุ่งหมายการทำงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริมการกระจายหรือมอบอำนาจในการตัดสินใจการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบและความไว้วางใจ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริมการระดม


ประสานพลังการปฏิบัติงานกลุ่ม อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมให้เพื่อนร่วมงาน บุคลากรทุกคนได้แสดงแนวคิดการทำงานอย่างสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แบบเป็นทีมงาน อยู่ในระดับคุณภาพ
มากที่สุด 5) ผู้บริหารส่งเสริมให้บุคลากรมีบทบาทและถ่ายทอดทักษะปฏิบัติงานในการเรียนรู้ร่วมกันต่อทีมหรือกลุ่มด้วยความเชี่ยวชาญของบุคลากรทุกคนออกมาใช้ผลงานสำเร็จ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.92 และค่า S.D.= .12240
E : Environment การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมดี พบว่า 1) ผู้บริหารส่งเสริม
สร้างและอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อมในองค์กรให้สวยงาม ร่มรื่น เอื้อต่อการบริหารจัดการเรียนรู้
อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารเสริมสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริมบุคลากรทุกคนมีจิตสาธารณะประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารสร้างและปลุกจิตสำนึกให้ผู้เรียนทุกคน ให้เป็นผู้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ที่พึงต่อการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในองค์กร อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 3.98 และค่า S.D.= .05729
D : Development การพัฒนางานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พบว่า 1) ผู้บริหารมีทักษะ
นำองค์ความรู้และประสบการณ์การบริหารจัดทำ ปรับปรุง พัฒนาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องบริบทการดำเนินงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง การบริหารงานขององค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงที่ดี มีประโยชน์ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริมการพัฒนาด้านบุคลากรให้มีการขับเคลื่อนยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน อยู่เสมอ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงการบริหารหลักสูตรการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ยุคเทคโนโลยี อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.94 และค่า S.D.= .13204
U : Upbringing การให้การศึกษา อบรม สั่งสอนและเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเข้าจนจบ
การศึกษา พบว่า 1) ผู้บริหารมีการส่งเสริม ปรับปรุง พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ดี สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารมีการส่งเสริมความมุ่งมั่น ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในการอบรม เลี้ยงดู สั่งสอนผู้เรียนให้อยู่อย่างมีความสุข ปลอดภัย อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคน เป็นผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา ในการจัดการศึกษาต่อผู้เรียนเต็มศักยภาพ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมจัดการศึกษาด้านวิชาการ วิชาชีพและวิชาทักษะการดำรงชีวิต สำหรับผู้เรียน ให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารส่งเสริม พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุขของผู้เรียน ตั้งแต่แรกเข้าจนจบการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.92 และค่า S.D.= .13377


C : Child Centered การเสริมสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พบว่า 1) ผู้บริหารมีหลักการบริหารขั้นตอนกระบวนการในการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านคนพิการ ในรูปแบบต่างๆ ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
2) ผู้บริหารส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และแผน การสอนเฉพาะบุคคล (IEP / IIP ) อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารเน้นการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก ตามความต้องการของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารส่งเสริมพัฒนาห้องเรียนคุณภาพและพัฒนาที่พัก หอนอนคุณภาพ เน้นคุณภาพชีวิตและศักยภาพผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.92 และค่า S.D.= .13465
        A : Authentic Assessment การประเมินผลตามสภาพจริง พบว่า 1) ผู้บริหารจัดประชุม อบรม พัฒนาให้ครูมีความรู้ เข้าใจและนำกระบวนการประเมินตามสภาพจริงไปใช้ให้เหมาะสมผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลและแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IEP และ IIP)สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
3) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูพัฒนาและสร้างเครื่องมือการวัดประเมินผลผู้เรียนแบบหลากหลายวิธี ตามสภาพจริง อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูพัฒนามีกระบวนการประเมินผลงานผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมผลงานสอดคล้องตามแผน IEPและ IIP อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูนำผลการประเมินผู้เรียนมาปรับปรุงพัฒนา ให้เกิดผลต่อผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.95 และค่า S.D.= .10223
T : Technology การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและการเรียนการสอน พบว่า
1) ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุนให้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ใช้ในการบริหารจัดการสารสนเทศและการปฏิบัติงานในทุกกลุ่ม / ฝ่ายงาน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริมพัฒนาครูให้มีทักษะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการบริหารจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุนให้มีสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการบริหารจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอต่อผู้เรียน อยู่ ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารสนับสนุนความสามารถของผู้เรียน ในการใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้เรียนได้รับบริการและใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต อย่างเพียงพอ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.90 และค่า S.D.= .15853



I : Individualized Education Pr0gram : IEP การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ
บุคคล พบว่า 1) ผู้บริหารจัดประชุม อบรม พัฒนาให้ครูมีความรู้ เข้าใจและนำกระบวนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ไปใช้ตามสภาพการพัฒนาการของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการจัดทำแผนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP ) อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูนำจัดทำแผนการจัดการศึกษา
เฉพาะบุคคล ( IEP ) ไปพัฒนาผู้เรียน สอดคล้องกับหลักสูตร ฯ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูนำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) วิเคราะห์ ปรับปรุง ตามพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.98 และค่า S.D.= .06903
O : Objective การกำหนดเป้าหมายของการศึกษาพิเศษที่ชัดเจน พบว่า 1) ผู้บริหาร
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายที่ผู้เรียนให้มีมาตรฐานคุณภาพ
อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริมมีการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมาย ที่ครูและบุคลากรให้มีคุณภาพ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริมมีการมีส่วนร่วมในการ
วิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4)ผู้บริหารส่งเสริมมีการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายเครือข่ายสังคมชุมชนมีความเข้มแข็ง อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.96 และค่า S.D.= .11645
N : Nourishing การเป็นศูนย์บ่มเพาะการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
และยั่งยืน พบว่า 1) ผู้บริหารส่งเสริม พัฒนาสถานศึกษาเป็นสถานที่จัดการศึกษา อบรมเลี้ยงดูผู้เรียนเสมือนเป็นสถาบันบ้านและครอบครัว อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 2) ผู้บริหารส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นองค์กรพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตของผู้เรียนให้เป็นทักษะพื้นฐานการดำเนินชีวิต อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ผู้บริหารส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนปฏิบัติตนเสมือนเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มีความรัก ความอบอุ่นอย่างใกล้ชิด อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 4) ผู้บริหารส่งเสริมให้เป็นศูนย์บ่มเพาะความสามารถของผู้เรียนที่มีพัฒนาการ ทักษะที่แตกต่างตามศักยภาพเฉพาะบุคคล อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 5) ผู้บริหารส่งเสริมการส่งต่อผู้เรียนที่มีพัฒนาการและศักยภาพการดำรงชีวิตไปสู่สังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ซึ่งมีคุณภาพในภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 4.96 และ
ค่า S.D.= .10883
     ซึ่งผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล PHICHIT EDUCATION: MODEL มีคุณภาพในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.88 และ ค่า S.D.= .03271




2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนพิจิตรปัญญานุxxxล PHICHIT EDUCATION : MODEL ตามกรอบแนวคิด ทฤษฎี ตามรูปแบบที่ได้อธิบายหรือบรรยายจากปรากฏการณ์จากสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษา ในสภาพจริง พบว่า มีคุณภาพ เหมาะสม ถูกต้องและสอดคล้องกับบริบทของการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาให้สู่ความยั่งยืนต่อไป



                                 อนงค์ เนตรทิพย์
                                 ผู้วิจัย
                                 พุทธศักราช 2560




ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^