LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

การพัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล เพื่อส่งเสริม

usericon

ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล เพื่อส่งเสริม
สมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
ชื่อผู้วิจัย      : นางอุษณิษา ภาคยานุวัติ
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลพะตง
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วย
เหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) ในปีการศึกษา 2559 จำแนกเป็นครูกลุ่มอ้างอิง จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 19 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 181 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และ
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลวิจัยพบว่า
1)    รูปแบบการบริหารมีชื่อว่าการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู (P2BDIAR Model) ประกอบด้วยหลักการ ได้แก่ การบริหารงานวิชาการโดยเน้นการสร้างเจตคติและบุคคลกลุ่มอ้างอิงให้คล้อยตามในการปฏิบัติงานย่อมทำให้ครูมีสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน และส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูและยกระดับคุณภาพผู้เรียน กระบวนการบริหาร 7 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นตอนที่ 2 สร้างเจตคติ (Build the Attitude) ขั้นตอนที่ 3 สร้างกลุ่มอ้างอิง (Build the Reference Group) ขั้นตอนที่ 4 การให้ตัดสินใจ (Decision Making) ขั้นตอนที่ 5 การให้ศึกษาความรู้ (Information) ขั้นตอนที่ 6 ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) และขั้นตอนที่ 7 การยกย่องชมเชย (Recognition) โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ 1) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยในชั้นเรียน 2) ครูกลุ่มอ้างอิงจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนและเป็นบุคคลที่ครูมีความเชื่อมั่นศรัทธาทั้งด้านความรู้ความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนและด้านการปฏิบัติตนในลักษณะที่มีความเป็นกัลยาณมิตรสูง 3) ผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมครูกลุ่มอ้างอิงในด้านการกระจายอำนาจในการบริหาร การส่งเสริมให้มีความรู้ ความสามารถให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และให้ขวัญกำลังใจทั้งในระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการ
2)    ผลการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ
การวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่าสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูอยู่ในระดับสูง ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู อยู่ในระดับมากที่สุด และครูมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยใน
ชั้นเรียนในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู แตกต่างกันอย่าง
มีนัยทางสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการบริหาร นักเรียนมีผลการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหาร















banoke2526 24 พ.ย. 2560 เวลา 18:42 น. 0 854
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^