LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7

การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “ มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ”

usericon

ชื่อวิจัย        การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “ มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย        นางสาวเจตสริน ชูศรี
ปีการศึกษา        2559


บทคัดย่อ

    การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ตามเกณฑ์ 80/80 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” จำนวน 3 ชุดการเรียน (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน เวลา 24 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า
1.    ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนขาดทักษะทางคณิตศาสตร์ และมีความรู้พื้นฐานในระดับต่ำ ไม่สามารถค้นพบหรือสรุปกฎเกณฑ์เองได้ และไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาคือ (1) ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดคือร้อยละ 75 (2) นักเรียนขาดความสนใจ หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ (3) นักเรียนคิดและแก้ปัญหาโจทย์ไม่เป็น คิดช้า เพราะขาดการฝึกฝน โดยเฉพาะเรื่องทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม (4) ขาดทักษะการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และขาดทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (5) สื่อการสอนที่นำมาใช้ ไม่สามารถตอบโจทย์ของปัญหาได้ เพราะไม่ตรงประเด็นตามตัวชี้วัด
2.    ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 84.45/85.04 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
3.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ ที่ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนพัฒนา
4.    นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
direkrit132 16 ส.ค. 2560 เวลา 18:46 น. 0 736
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^