LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567 24 ก.ค. 2567สมศ.ประกาศ ขอความร่วมมือสถานศึกษา งดจัดเตรียมพิธีการต้อนรับ รวมถึงมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ประเมินทุกรูปแบบ

การใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรองเพื่อพัฒนาความสามารถ

usericon

การใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรองเพื่อพัฒนาความสามารถ
การพัฒนาความสามารถทางการพูดในโอกาสต่างๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองบัว โดยใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรอง

บทคัดย่อ
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการพูดในโอกาสต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเรียนแบบไตร่ตรอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องการพูดในโอกาสต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนแบบไตร่ตรอง 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรอง
        กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองบัว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เรียนวิชาภาษาไทย ท 21101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวนนักเรียน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการพูดในโอกาสต่าง ๆ ที่ใช้การเรียนแบบไตร่ตรอง 2) แบบประเมินความสามารถทางการพูดในโอกาสต่าง ๆ 3) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องการพูดในโอกาสต่าง ๆ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
         ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้เรื่องการพูดในโอกาสต่าง ๆ หลังเรียนด้วยการเรียนแบบไตร่ตรองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการพูดในโอกาส
ต่าง ๆ หลังการเรียนแบบไตร่ตรองเพิ่มสูงขึ้น 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรองอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

05 ก.ย. 2557 เวลา 14:56 น. 0 874
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^