LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ

usericon

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
ทัศนีย์ กรวยสวัสดิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. โรงเรียนบัวใหญ่ : นครราชสีมา.

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ4) ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ของโรงเรียนบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่สอง พ.ศ. 2552 –2561กำหนดให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถการคิดโดยเน้นทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลายและสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิด แต่สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูยังใช้การสอนแบบบรรยาย ขาดการฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติจริง การสืบเสาะค้นหาความรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเอง และการฝึกทักษะกระบวนการคิดวิจารณญาณอย่างมีเหตุผลยังมีน้อย

2. รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า“ ERISAE Model” มีองค์ประกอบสำคัญ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะ สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสังคม และสิ่งสนับสนุน กระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นการเตรียมความพร้อม (Encouragement and Preparation: E) 2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Reviewing Knowledge: R) 3) ขั้นสืบค้นและฝึกปฏิบัติทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Inquiry and Practice Critical Thinking Skill: I) 4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปความรู้ (Sharing and Summarizing: S) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Application of Knowledge: A) และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation: E) และรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.50/85.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมนักเรียนมีความเห็นด้วยต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.75 และนักเรียนมีความเห็นด้วยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในระดับมากที่สุด เนื่องจากครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง นักเรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถสร้างองค์ความรู้ ฝึกการคิดและสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
sudthapa 04 ก.ย. 2557 เวลา 16:04 น. 0 984
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^