LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

นวัตกรรมกระบวนการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนร่วม/เรียนรว

usericon

สรุปผลงาน Best Practice
ด้านสื่อ/นวัตกรรมกระบวนการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนร่วม/เรียนรวม
โรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ

1.    ผู้พัฒนา Best Practice ได้แก่
1.1.1    นางสาวพฤติลักษณ์ ฉันทานุสิทธิ์     ครูชำนาญการ
1.1.2    นางสาวรักษิตา สบายใจ        พี่เลี้ยงเด็กพิการ
โดยมี นายวรรณชัย เหล่าทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง
และนายณัฐพล ทองดีนอก รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง
เป็นผู้ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุน และเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำตลอดการดำเนินงานในครั้งนี้

    เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ คืออะไร
เทคนิค 3R หมายถึง เทคนิคที่นำมาใช้จัดกิจกรรมหรือสร้างประสบการณ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ได้แก่
    Repettition สอนซ้ำไปซ้ำมาและใช้เวลาสอนมากกว่าเด็กปกติเมื่อมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้วจึงเปลี่ยนจุดประสงค์การเรียนรู้ใหม่
    Relaxtion สอนแบบไม่ตึงเครียด เปลี่ยนกิจกรรมจากวิชาการเป็นกิจกรรมนันทนาการ สลับไปมา
    Routine กำหนดกิจกรรมให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
                สื่อ 3 มิติ หมายถึง สื่อการสอนที่ครูสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่
    หนังสือ Pop-up สอนอ่านคำ เป็นสื่อ 3 มิติที่เน้นรูปร่างรูปทรง มีลักษณะเป็นหนังสือ
เล่มใหญ่ที่เปิดคำตั้งได้ มีตัวหนังสือชัดเจน มีรูปแบบและสีสันให้น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นให้
นักเรียนรักการอ่านมากขึ้น
    บอลมหาสนุก เป็นสื่อสอนการประสมคำนำไปสู่การเขียน ผลิตจากลูกบอลที่มีสีสันสวยงาม
จับเคลื่อนย้ายสลับพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ได้ นักเรียนสามารถสร้างคำให้มี
ความหมายได้อย่างสนุกสนาน
    ลูกเต๋าหรรษา เป็นสื่อสอนเกี่ยวกับการรู้ค่าจำนวนและตัวเลข การเปรียบเทียบจำนวน การบวกและการลบจำนวน ผลิตจากฟิวเจอร์บอร์ดหลากสีสัน สร้างเป็นรูปทรงลูกบาศก์ นักเรียนจับต้องได้ สามารถเรียนรู้จำนวนผ่านการเล่น ทำให้นักเรียนเข้าใจง่ายและเรียนรู้อย่างมีความสุข
ทักษะการอ่านและการเขียน หมายถึง ความสามารถในการอ่านคำและเขียนคำอย่างง่ายในมาตราตัวสะกดตรงตามมาตราทั้ง 9 มาตรา ได้แก่ มาตราแม่ ก กา แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กน มาตราละ 10 คำ ด้วยเทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75

ทักษะการคิดคำนวณ หมายถึง ความสามารถด้านจำนวนและตัวเลข รู้ค่าและเปรียบเทียบจำนวนได้ บวก ลบเลขไม่เกินสองหลัก(แบบไม่กระจาย)ได้ ด้วยเทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง นักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ทั้งที่มีระดับสติปัญญา(IQ) ปกติ แต่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน และเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 14 คน
            
2.    เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice
2.1    เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ
2.2    เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณโดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ

3.    ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice
3 มิถุนายน 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557 รวมเป็นเวลา 9 เดือน

4. ความเชื่อมโยง / ความสัมพันธ์ระหว่าง Best Practice กับเป้าหมาย/จุดเน้นของสถานศึกษา/สพป./ สพฐ. /
        Best Practice ของโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุงในครั้งนี้ ได้ดำเนินการภายใต้กรอบวิสัยทัศน์
“คนพิการได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค” ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย ๔ ข้อ คือ
๑)    คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
๒)    คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการใน
ทุกระบบและรูปแบบการศึกษา
๓)    การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
๔)    พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

จุดเน้นของโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง
โรงเรียนได้กำหนดจุดเน้นให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่ง Best Practice ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้สนองจุดเน้น ทั้ง 3 ด้าน ดังต่อไปนี้
ด้านผู้เรียน
        1.นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีสมรรถนะสำคัญและความสามารถด้านวิชาการ ทักษะทางวิชาชีพสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Student’s Competencies)
    2. นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม (Students’ Characteristics & Social Skills)
3. นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล (Students with Special Needs)
ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาตามวิชาชีพการศึกษาพิเศษอย่างต่อเนื่อง และสามารถจัด การเรียนการสอนนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษอย่างมืออาชีพ (Continuous Professional Development)
ด้านการบริหารจัดการ
โรงเรียนจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับมาตรฐานทุกด้าน (Management with Quality and Standards)
1.    โรงเรียนจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล (Management with Special needs and diversity)

5. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนา Best Practice
การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ ได้ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่างๆที่สอดคล้องกับการพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
    แนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
    ลักษณะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
    หลักการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT
    หลักการวัฏจักรเดมมิง
    ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของ อับราฮัม มาสโลว์
    เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนรวม
    หลักการใช้ 3R
6. กระบวนการพัฒนา Best Practice
6.1 กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best Practice ไปใช้
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 - 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 14 คน
    6.2 ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice
แบ่งเป็น 3 ขั้น
ขั้นที่ 1 การสร้างและทดลองใช้เครื่องมือ
ขั้นที่ 2 การนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นที่ 3 การประเมินผลการดำเนินการ
6.3 การตรวจสอบคุณภาพ Best Practice
     1. ประเมินนักเรียนโดยใช้ใบงาน/แบบทดสอบ
     2. สังเกตพฤติกรรมนักเรียนในการร่วมทำกิจกรรม
     3. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน

    6.4 แนวทางการนำ Best Practice ไปใช้ประโยชน์
    นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาการอ่านและการสะกดคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้
    นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาทักษะการเขียนคำ การเขียนประโยคอย่างง่ายได้
    นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาการรู้ค่าของจำนวนและตัวเลข เปรียบเทียบจำนวนได้ บวกและลบจำนวนอย่างง่ายได้
    นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้สร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมวิชาการมาเป็นนันทนาการ ทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้และภูมิใจในความสามารถของตนเอง
    เป็นแบบอย่างการพัฒนาสื่อที่ทันสมัย แปลกใหม่และนำไปใช้พัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ได้จริงในการพัฒนาการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณของนักเรียนให้ดีขึ้น

7. ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา Best Practice
7.1 เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติสามารถพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิด
คำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
7.2 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน
การเขียน และการคิดคำนวณโดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.94
ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ Best Practice
จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครูผู้สอน และนักเรียนมีความพึงพอใจใน
การจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 100

8.    ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา Best Practice
    ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ และเชื่อมั่นว่า “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้” และ โรงเรียนควรจัดสื่อหรือนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน รวมทั้งมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ คนทุกคน (Education for all) ตามปรัชญาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
9.    กระบวนการตรวจสอบซ้ำเพื่อพัฒนาปรับปรุง Best Practice ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง
9.1     วิธีการตรวจสอบซ้ำ BP
     ดำเนินการตามโครงการในปีการศึกษาต่อไปและปรับปรุงสำหรับข้อบกพร่อง

9.2 ผลการตรวจสอบซ้ำเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP
     นำนวัตกรรม Best Practice มาพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2557 ผลปรากฏว่านักเรียนมีแนวโน้มการพัฒนาที่ดีขึ้น กล่าวคือ นักเรียนสามารถฝึกทักษะได้ด้วยตนเอง และสามารถแนะนำเพื่อนคนอื่นได้ ตลอดจนมีความคงทนในการเรียนรู้
10.    การประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของ และการเผยแพร่ BP ขยายผลในวงกว้าง
     ประชาสัมพันธ์หน้าเสาธงให้นักเรียนและครูทั้งโรงเรียนชื่นชมกับผลสำเร็จ
     ประชาสัมพันธ์ในห้องประชุมโดยแจกแผ่นพับ เช่น ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้ปกครองนักเรียน ประชุมอบรมครูในหน่วยงานใกล้เคียง เป็นต้น
     ประชาสัมพันธ์ในเว็บไชต์ทางการศึกษา
     ประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook
11. บรรณานุกรม
    กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบการเรียนรวม(Inclusive schools).
กรุงเทพมหานคร : กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). เทคนิค วิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน
การอ่าน. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม.
progtiruk 28 ส.ค. 2557 เวลา 17:52 น. 0 1,041
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^