LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567 24 ก.ค. 2567สมศ.ประกาศ ขอความร่วมมือสถานศึกษา งดจัดเตรียมพิธีการต้อนรับ รวมถึงมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ประเมินทุกรูปแบบ

การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ของโรงเรีย

usericon

การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ของโรงเรีย
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ของโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
ผู้รายงาน นายสถาพร ชูอินทร์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร
ปีงบประมาณ 2557

บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ของโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ครั้งนี้ ใช้รูปแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Daneil L. Stufflebeam) เป็นกรอบในการประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ของโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) เกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการ กับนโยบายต้นสังกัดและความเหมาะสมของกิจกรรมในโครงการ 2) ประเมินปัจจัย (Input Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของทรัพยากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และวิธีบริหารโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation ) เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการและผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการและผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ของโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร จำนวน 428 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างที่มาจากประชากรแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 59 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มาจากประชากรแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยการเปิดตารางxxxส่วนกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (Z=1.96) เมื่อความคลาดเคลื่อน (E) เป็น 5% จำนวน 354 คน ประกอบด้วย 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 177 คน 2) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 177 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 11.5 โดยมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือจำนวน 5 คน
ผลการประเมินพบว่า
    1. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, =0.75) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด                        2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.38, =0.74) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด                         3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.31, = 0.79) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงานโครงการ (Plan) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด                          4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ของโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพช โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้                                                 4.1 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, = 0.62) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
        4.2 ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, = 0.61) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
25 ส.ค. 2557 เวลา 22:40 น. 0 992
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^