LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเ

usericon

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเ
ชื่อเรื่อง         : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556
ผู้รายงาน     : นายยูโสบ สุมาตรา
        รองผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์)
ปีที่รายงาน     : พ.ศ. 2557

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ 1)คุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 2)พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 3)พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 4)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40(บ้านควนโพธิ์) 5)ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40(บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP-Model) โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 222 คน ประชากรครู จำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 210 คน กลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.79 – 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดพบว่า ทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.52 , σ = 0.34) รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (X̅ = 4.30,S.D. = 0.25) อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่า ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ค่าน้ำหนัก 20% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก(X̅ = 4.38, S.D. = 0.16) รองลงมาได้แก่กลุ่มครู (µ = 4.30,σ = 0.25)อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(X̅ = 3.73,S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน ค่าน้ำหนัก 10 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.38,S.D.= 0.15) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (X̅ = 4.36,S.D.= 0.24)อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ = 4.21,σ = 0.15) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
     4.2 ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ที่เกิดจากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครูและนักเรียนจำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน มีค่าน้ำหนัก 10 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณา เป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่ากลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก(µ = 4.30,σ = 0.22)รองลงมาได้แก่กลุ่มนักเรียน(X̅ = 4.29,S.D. = 0.28)อยู่ในระดับมากเช่นกัน
     4.3 ผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40(บ้านควนโพธิ์)ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครูและนักเรียน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ค่าน้ำหนัก 10 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.30,S.D. = 0.24) รองลงมาได้แก่กลุ่มครู ( µ = 3.92,σ = 0.24) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
     4.4 ผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำแนกเป็น
4.4.1 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่า โดยภาพรวมระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2555 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 39.54 ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 38.61 แสดงให้เห็นว่าโดยภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง - 0.93 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า มีเพียง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาได้แก่ สุขศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา มีค่าคะแนนพัฒนาสูงสุด เท่ากับ + 4.93 รองลงมาได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ มีค่าคะแนนพัฒนาเท่ากับ + 3.49 ส่วนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าคะแนนพัฒนาต่ำสุด เท่ากับ + 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555โดยภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.17 ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 36.53 แสดงให้เห็นว่าโดยภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง - 1.65 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่ามีเพียง 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้เท่านั้น ที่มี ค่าพัฒนา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ มีค่าคะแนนพัฒนา เท่ากับ + 3.15 และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ + 2.53 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
     4.4.2 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40(บ้านควนโพธิ์) จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่า ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2555 โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.00 ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 69.35 แสดงให้เห็นว่าโดยภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง – 1.65 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า มีเพียง 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาได้แก่ การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าคะแนนพัฒนาเท่ากับ + 3.61 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555โดยภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.44 ปีการศึกษา 2556 มีค่าคะแนนเฉลี่ย 63.56 โดยภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง - 2.88 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่ามีเพียง 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้เท่านั้น ที่มีค่าพัฒนา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าคะแนนพัฒนา เท่ากับ + 3.00 และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ + 0.44 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    5. ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมินค่านำหนัก 10 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.58,S.D. = 0.21) รองลงมาได้แก่กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (X̅ = 4.40,S.D. = 0.18) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ = 4.10,σ = 0.25) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 40 (บ้านควนโพธิ์) ปีการศึกษา 2556 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIIP Model) ค่าน้ำหนัก 100 คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผลการประเมินครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 90 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1.ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้มีประสิทธิภาพโรงเรียนควรจัดประชุมชี้แจงครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ขอบเขต ภาระงาน และกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการ ภายใต้การมีส่วนร่วม ตลอดจนให้ข้อมูลข่าวสารเป็นระยะๆ
    2.โรงเรียนควรส่งเสริมและเร่งรัดให้ครูปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น และแก้ปัญหาได้
3.โรงเรียนควรเร่งรัดให้ครูดำเนินการวิเคราะห์ผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดควรพัฒนาเร่งด่วน เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้


ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
    1. ควรวิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามโครงสร้างโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ครอบคลุม 4 งาน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ เพื่อที่จะทำให้ทราบคุณภาพการบริหารงานด้านต่าง ๆ และเป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    2. ควรส่งเสริมให้ครูใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ
    3. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารงานวิชาการ และหรือบริหารสถานศึกษาตามโครงสร้างโรงเรียนเป็นนิติบุคคล
ppdd17 01 ส.ค. 2557 เวลา 22:50 น. 0 1,464
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^