LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567 24 ก.ค. 2567สมศ.ประกาศ ขอความร่วมมือสถานศึกษา งดจัดเตรียมพิธีการต้อนรับ รวมถึงมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ประเมินทุกรูปแบบ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรั

usericon

การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์  	สำหรั
ชื่อเรื่อง     การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์
    สำหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์
    อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา     2556
ผู้ศึกษา     นายรติพงษ์ รักษาพันธุ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา     โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

บทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ ดังนั้นความมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ ที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์
(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .22 ถึง .97 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .23 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามเท่ากับ .91
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และค่าทดสอบที t-test (Paired – Samples
T Test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.18/83.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ .57 แสดงว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น .57 คิดเป็นร้อยละ 57
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับ มาก
27 มี.ค. 2557 เวลา 07:10 น. 0 951
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^