LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

พบพัฒนาการเด็กล่าช้า กรมสุขภาพจิต ทำคู่มือแรกเกิด-5ปี แจกพ่อแม่

  • 09 ส.ค. 2556 เวลา 16:39 น.
  • 2,519
พบพัฒนาการเด็กล่าช้า กรมสุขภาพจิต ทำคู่มือแรกเกิด-5ปี แจกพ่อแม่

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

พบพัฒนาการเด็กล่าช้า กรมสุขภาพจิต ทำคู่มือแรกเกิด-5ปี แจกพ่อแม่
  กรมสุขภาพจิตทำคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปีแจกพ่อแม่ หลังพบเด็ก 30% มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า เหตุขาดการดูแล ไม่มีการประเมิน และเข้าถึงบริการน้อย แนะพ่อแม่สังเกตพัฒนาการแต่ละช่วงวัย หากผิดปกติให้รีบกระตุ้นทันที ชี้รู้และรักษาเร็วช่วยให้เป็นปกติหายได้
       
       วันนี้ (9 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาเด็กบกพร่องทางพัฒนาการของไทยในปัจจุบันพบว่า เด็กมีพัฒนาการล่าช้าเฉลี่ย 240,000 คนต่อปี จากการสำรวจพบว่า เด็กร้อยละ 30 จะมีปัญหาการพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้า และในจำนวนนี้ร้อยละ 5 มักเป็นเด็กออทิสติก โดยปัจจัยสำคัญคือ การขาดการดูแลตั้งแต่วัยแรกเกิด - 5 ปี อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงอัตราการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ พฤติกรรม และอารมณ์ของไทยยังมีน้อย โดยเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาเข้าถึงเพียง 33,592 คน หรือประมาณ 5.23% เป็นเด็กออทิสติก 7,212 คน หรือประมาณ 12.02% ของประชากรเด็ก ดังนั้น การค้นหา การช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสม ตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป
       
       พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า ในการค้นหาเด็กที่มีความเสี่ยง กรมสุขภาพจิตได้ทำคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีสำหรับผู้ปกครองขึ้น ซึ่งมีการตีพิมพ์และแจกมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว โดยจะส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศแห่งละ 30 เล่ม โดยคู่มือดังกล่าวจะมีระบุถึงการพัฒนาการของเด็กออก 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา 3.ด้านการเข้าใจภาษา และ 4.ด้านการช่วยเหลือและสังคม ซึ่งในแต่ละด้านจะมีการให้คำแนะนำการกระตุ้นพัฒนาการแต่ละช่วงวัย เช่น อายุ 5-6 เดือน อายุ 7-9 เดือน เป็นต้น โดยช่วงอายุที่สำคัญคือช่วง 9 เดือน ต้องดูพัฒนาการของลูกแล้วว่าล่าช้าหรือไม่ เช่น วัย 1 เดือนสามารถนอนคว่ำ ยกศีรษะและหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งได้หรือไม่ พูดได้ช้ากว่าปกติ ไม่สามารถทำตามคำสั่งได้ ซนเกินไป ไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น ทำลายข้าวของ เป็นต้น หากผิดปกติให้ลองกระตุ้นลูกตามคำแนะนำในคู่มือก่อน หากพัฒนาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบพาไปพบแพทย์ หลังจากนั้นให้สังเกตอีกครั้งตอนช่วงอายุ 18 เดือน และ 36 เดือน
       
       "การกระตุ้นพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยก็เหมือนการทำการบ้านที่จะต้องทำไปทีละระดับขั้นตอน หากเด็กมีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้าแล้วปล่อยไว้ไม่มีการกระตุ้น หากจะกลับมากระตุ้นภายหลังจะเป็นเรื่องยาก เพราะสมองเดินไปข้างหน้าแล้ว ทั้งนี้ เด็กมีความสามารถในเรื่องการพัฒนาสมอง หากพบว่าผิดปกติและทำการกระตุ้นแต่เนิ่นๆ จะสามารถช่วยให้เด็กกลับมาเป็นปกติได้" รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
       
       พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า สำหรับในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กจะได้รับการเฝ้าระวังด้านพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ โดยครูศูนย์เด็กเล็กจะประเมินพัฒนาการเด็กภาคเรียนละ 1 ครั้ง และประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กปีละ 1 ครั้ง ถ้าเด็กมีปัญหาพัฒนาการก็จะส่งต่อหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระบบต่อไป ส่วนครูศูนย์เด็กเล็กจะมีการประเมินความเครียดด้วยตนเองปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งสร้างความรู้และความตระหนักให้แก่พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูให้มีความเข้าใจการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กวัยแรกเกิด - 5 ปี ได้รับการตรวจประเมินและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างต่อเนื่อง หากพบว่าเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัยหรือมีความเสี่ยงต่อปัญหา EQ ก็จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
       
       
  • 09 ส.ค. 2556 เวลา 16:39 น.
  • 2,519

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : พบพัฒนาการเด็กล่าช้า กรมสุขภาพจิต ทำคู่มือแรกเกิด-5ปี แจกพ่อแม่

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^