LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

"จาตุรนต์"มอบ 4 มหา'ลัย ประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษา

  • 26 ก.ค. 2556 เวลา 05:58 น.
  • 1,615
"จาตุรนต์"มอบ 4 มหา'ลัย ประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"จาตุรนต์"มอบ 4 มหา'ลัย ประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษา
 
แนะ สอศ.ยกระดับและเพิ่มความร่วมมือกับเอกชน มั่นใจภายในปี 58 สามารถเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะ:สามัญ เป็น 50:50 
 
     ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เมื่อวันที่ 25 ก.ค.56 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังมอบการนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านอาชีวศึกษาสู่การปฏิบัติ ให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า การพัฒนางานอาชีวศึกษามีความจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะต้องมาหาแนวทาง และกรอบความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ว่าจะทำอย่างไรให้อาชีวศึกษาสามารถผลิตบุคลากรได้ตรงกับความต้องการของประเทศ ทั้งปริมาณและคุณภาพ มิเช่นนั้นแล้วไทยอาจจะตกอยู่ในสภาวะชะงักงันในการพัฒนา และไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศในเวทีโลกได้
 
     ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องนำนโยบายที่มอบให้ไปจัดทำเป็นแผน และวางมาตรการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ กรอบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย ประกอบด้วย 9 เรื่อง ได้แก่
 
     1.ประเมินสถานการณ์อาชีวศึกษาโดยเร่งด่วน โดยมอบให้สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่งมาช่วยประเมินสภาพ และสถานะของอาชีวศึกษาทั้งประเทศแบบเร่งด่วน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย และมาตรการต่อไป ซึ่งสิ่งที่จะต้องประเมิน อาทิ การผลิตนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาตรงกับความต้องการหรือไม่ ครู-อาจารย์ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใ้ในการเรียนการสอนเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่ ศักยภาพของการจัดการศึกษาแบบทวิภาคี
 
     ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อจะใช้เป็นแนวในการที่จะปรับการทำงานของอาชีวศึกษาให้ตรงกับโจทย์ใหญ่ โดยจะนำมาใช้ในปีงบประมาณ 2557 หรือวันที่ 1 ต.ค.นี้
 
     2.เร่งผลิตกำลังคนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น เพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของภาคเอกชน รวมทั้งเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และโลจิสติกส์ของประเทศ
 
     3.เร่งผลักดันให้เกิดระบบกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยดำเนินการนำร่องบางสาขาอาชีพ เช่น โรงแรม ท่องเที่ยว ชิ้นส่วนยานยนต์ ร่วมกับภาคเอกชน
 
     4.ขยายและยกระดับการเรียนการสอนระบบทวิภาคี เพื่อยกระดับผลผลิตให้มีความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น
 
     5.ยกระดับการพัฒนาระบบความร่วมมือกับต่างประเทศให้มากขึ้นในเรื่องหลักๆที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ
 
     6.ปรับภาพลักษณ์อาชีวศึกษา โดยการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้มีความทันสมัยไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาท
 
     7.ขยายโอกาสทางการศึกษาและยกระดับการศึกษาของแรงงานไทย เพราะปัจจุบันแรงงานกว่า 25 ล้านคน ยังไม่จบมัธยมศึกษาจึงควรส่งเสริมให้ยกระดับการศึกษา โดยอาจร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือเปิดให้มาเรียนวันหยุด และให้ สอศ.มีบทบาทในการดูแลมาตรฐานคุณภาพ
 
     8.การพัฒนาแรงงานต่างด้าวให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะสอดคล้องกับความต้องการ มีมาตรฐานสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย
 
     และ 9.สร้างเครือข่ายอาชีวศึกษาอาเซียน เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอาชีวศึกษาภูมิภาค ทั้งนี้ สอศ.จะต้องไปทำแผนปฎิบัติการ เพื่อนำกรอบแนวทางดังกล่าวสู่การปฎิบัติต่อไป 
 
     "หลังจากนี้เราจะต้องยกระดับและเพิ่มความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งความร่วมมือจะไม่ใช่เพียงแค่ต้องการทราบว่าเอกชนต้องการบุคลากรด้านใด แต่เราจะต้องทราบด้วยว่าแรงงานที่มีฝีมือจะต้องมีคุณลักษณะอย่างไร หลักสูตรและเครื่องมือในการเรียนการสอนควรเป็นอย่างไรด้วย เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง" 
 
     รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2558 สอศ.จะต้องเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา:สามัญ เป็น 50:50 ด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มได้ตามสัดส่วนดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะหาก สอศ.เร่งขับเคลื่อนตามนโยบายที่มอบไว้ เด็กก็จะเห็นเองว่าเรียนอาชีวะแล้วมีความก้าวหน้าทางอาชีพ มีอนาคต และมีรายได้ที่สูง โดยที่ไม่ต้องมีใบปริญญา
 
 
  • 26 ก.ค. 2556 เวลา 05:58 น.
  • 1,615

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "จาตุรนต์"มอบ 4 มหา'ลัย ประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษา

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^