LASTEST NEWS

06 มิ.ย. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 ทั่วประเทศ 06 มิ.ย. 2566สพม.เชียงราย ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพป.เชียงราย เเขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพป.เชียงราย เขต 3 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพป.เชียงราย เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพป.เชียงราย เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพป.ชุมพร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 06 มิ.ย. 2566สพม.ชัยภูมิ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566

"ชินภัทร" เห็นต่างไม่ต้องการแยกมัธยมฯ

  • 08 ก.ค. 2556 เวลา 14:36 น.
  • 2,567
"ชินภัทร" เห็นต่างไม่ต้องการแยกมัธยมฯ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ชินภัทร" เห็นต่างไม่ต้องการแยกมัธยมฯ
 
ชี้ขาดช่วงบุคลากรเพราะเกษียณเป็นเรื่องปกติ ยาหอมเป็นหัวรถจักร
 
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มผู้แทนองค์กรจากการมัธยมศึกษา 13 แห่ง รวมกว่า 100 คน เข้าพบนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อยื่นข้อเสนอให้มีการปรับโครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยแยกงานมัธยมศึกษาออกมาเป็นองค์กรหลักอีกองค์กรหนึ่งนั้น เป็นสิทธิ์ของผู้แทนองค์กรต่างๆ ที่สามารถยื่นข้อเสนอได้ แต่ขอให้ข้อมูลที่เสนอมาจากฐานการคิดวิเคราะห์วิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียก่อน และควรจะเป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมด้วย เพราะการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก เราเสียเวลาค่อนข้างมากในการปฏิรูปโครงสร้างและตอนนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อง การปฏิรูปหลักสูตร ดังนั้นควรจะให้ความสำคัญ ทุ่มเทไปในเรื่องการพัฒนาวิชาการมากกว่าเรื่องของปฏิรูปโครงสร้าง และในทางปฏิบัตินั้น ตอนนี้แม้จะไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แต่กลไกในการทำงานก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้
 
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านมัธยมศึกษาใน สพฐ. แทบจะไม่มีเหลืออยู่แล้วนั้น โดยส่วนตัวมองว่าไม่ได้มีปัญหาหรือเกิดการขาดช่วงของผู้ที่รอบรู้เรื่องการมัธยมศึกษา เพราะการเกษียณอายุราชการเป็นวิถีปกติ และการทำงานที่ผ่านมา ไม่ใช่หมายความว่าคนรุ่นเดิมเปลี่ยนไปแล้ว คนรุ่นใหม่จะไม่สามารถสานต่อได้
 
“สพฐ.ไม่ได้ทอดทิ้งคนมัธยมศึกษา ความจริงเราดูแลทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยิ่งมัธยมศึกษานั้นถือเป็นหัวขบวนรถจักรรถไฟ เป็นพี่ใหญ่ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้สูงในด้านวิชาการ พร้อมที่จะเป็นต้นแบบให้น้องๆ ในระดับประถมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพของประถมศึกษาและมัธยม ศึกษาใช้แนวคิดของการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นหลักเหมือนกัน ดังนั้นผมมองว่าเราควรอยู่ร่วมกัน เพื่อที่จะได้มีพลังความเข้มแข็งมากกว่าเราแยกกันอยู่” ดร.ชินภัทร กล่าว.
 
 
  • 08 ก.ค. 2556 เวลา 14:36 น.
  • 2,567

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "ชินภัทร" เห็นต่างไม่ต้องการแยกมัธยมฯ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <