LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ปรับโฉมเปิดเทอมใหม่ปี56การบ้านน้อยลง

  • 13 พ.ค. 2556 เวลา 10:26 น.
  • 4,528
ปรับโฉมเปิดเทอมใหม่ปี56การบ้านน้อยลง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปรับโฉมเปิดเทอมใหม่ปี56การบ้านน้อยลง
ปรับโฉมเปิดเทอมใหม่ปี56 ห้องเรียนกลับด้าน-การบ้านน้อยลง : สุพินดา ณ มหาไชย/ ขวัญเรียม แก้วสุวรรณรายงาน
 
               อีกไม่กี่อึดใจ วันเปิดเทอมก็งวดเข้ามาแล้ว... ปีนี้ถือเป็นอีกปีที่ท้าทายเด็กนักเรียนทั่วประเทศ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการเตรียมนำนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่มาใช้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ขณะเดียวในยุคที่ค่าครองชีพพุ่งแซงรายได้ก็ถือว่าท้าทายผู้ปกครองเช่นกัน ปีหน้าคงต้องควักเงินในกระเป๋ามากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
               เปิดเทอมใหม่ปีการศึกษา 2556 กระทรวงศึกษาธิการ "ปักธง" ให้เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อาจพบการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เนื่องจาก สพฐ.เตรียมนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาสู่ชั้นเรียน ทั้ง "ห้องเรียนกลับด้าน" (Flipped Classroom) หรือการเริ่ม "ปรับลดการบ้าน" ขณะที่นักเรียนของโรงเรียนเอกชนที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) คงต้องเจอสิ่งใหม่ๆ เช่นกัน
 
               เรื่องนี้ ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) อธิบายว่า นวัตกรรม “ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นของครูชาวสหรัฐอเมริกา สามารถแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการเวลาในชั้นเรียนที่มีเพียง 50 นาทีต่อ 1 คาบ สพฐ.มีแนวคิดว่า การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนจะไม่เกิด ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนเรื่องการบริหารจัดการเวลาในชั้นเรียนให้เหมาะสมมากขึ้น
 
               "ห้องเรียนกลับด้าน เป็นการคิดนอกกรอบที่จะมาช่วยผ่าทางตันการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะโยนทิ้งรูปแบบการสอนเดิมๆ ของครู ที่ใช้เวลาเรียนประมาณ 70% ไปกับการบรรยาย แล้วแจกการบ้าน หรืองานให้เด็กในช่วงท้ายของคาบเรียน แต่จากนี้ไปนักเรียนจะถูกมอบหมายให้ไปอ่าน หรือดูเนื้อหาวิชานั้นๆ ในสื่อต่างๆ ทั้งที่ครูทำขึ้น หรือมีในอินเทอร์เน็ต เช่น ยูทูบ พอเข้าชั้นเรียน ครูไม่ต้องมายืนบอกอีก แต่จะให้เด็กถกเถียง ตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่ให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้า พอหอมปากหอมคอแล้ว ครูจะสั่งงานให้เด็กทำเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มในชั้นเรียนเลย ไม่ต้องนำกลับไปทำที่บ้าน เพื่อให้เด็กมีครูเป็นผู้แนะนำ หรือชี้แนะในการทำงานนั้นๆ" ชินภัทร อธิบาย
 
               เลขาธิการ กพฐ. ย้ำว่า เปิดภาคเรียนนี้ สพฐ.จะเดินหน้านโยบายปรับลดการบ้านให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยจัดทำคู่มือการให้การบ้านแบบบูรณาการหลายวิชาเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำคู่มือดังกล่าวมาอบรมศึกษานิเทศก์เพื่อให้ไปขยายผลในโรงเรียนต่อไป เมื่อครูสามารถบูรณาการให้การบ้านชิ้นเดียวเป็นสื่อการเรียนในหลายๆ วิชาได้ การบ้านของเด็กจะลดลง อีกทั้งเมื่อนำห้องเรียนกลับด้านมาใช้ งานต่างๆ จะถูกมอบหมายให้ทำในชั้นเรียนแทน
 
               “ต่อไปเด็กจะได้ไม่เครียด เด็กส่วนหนึ่งเครียดจากการทำการบ้านจนไม่อยากมาโรงเรียน กลัวถูกครูลงโทษที่ไม่ส่งงาน ไม่ส่งการบ้าน กลายเป็นเด็กที่มีทัศนคติไม่ดีต่อการมาโรงเรียน แต่ถ้าปรับลดการบ้าน ให้ทำงานในชั้นเรียนแล้ว เด็กจะมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น" ชินภัทร ยืนยัน
 
               แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ บัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิกาคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ซึ่งประกาศให้ปีการศึกษา 2556 เป็นปีแห่งการเพิ่มคุณภาพการศึกษาเอกชน โดยนักเรียนชั้น ป.3 ร้อยละ 90 ต้องอ่านเขียนภาษาไทยคล่อง ส่วน ป. 1 และ ป.4 ร้อยละ 90 ต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เมื่อจบภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 นอกจากนี้นักเรียน ป.3 รวมถึง ม.3 และ ม.6 ต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2556 ทั้งนี้ สช.ยังต้องการให้โรงเรียนเพิ่มการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของเด็กนั้น ตั้งเป้าไว้ว่า ร้อยละ 90 ของนักเรียนต้องสามารถเขียน "Mind Map" ของตัวเองได้ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับชั้น และจะต้องถูกเกณฑ์เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือมากขึ้น หรือร้อยละ 90 ของแต่ละโรงเรียน เพื่อเรียนรู้ทักษะชีวิต
 
               ใช่เพียงน้องๆ ขาสั้นคอซองจะต้องเตรียมปรับตัวรับนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษาแล้ว ในส่วนของผู้ปกครองก็เตรียมควักกระเป๋าสำหรับค่าใช้จ่ายทางการศึกษาจิปาถะ
 
               น.ส.ดา วัย 37 ปี แม่บ้านอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในเมืองกรุง เล่าว่า ลูกสาววัย 5 ขวบ กำลังจะขึ้นชั้นเรียนอนุบาล 2 ส่วนหลานชายวัย 11 ปี เรียนชั้น ป.5 โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง) สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้พาทั้งสองไปซื้ออุปกรณ์การเรียน เช่น ชุดนักเรียน กระเป๋า รองเท้า ตกประมาณ 1,000-2,000 บาทต่อคน แล้วนำใบเสร็จสินค้าไปยื่นที่โรงเรียนเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือ 300 บาทต่อคน ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ส่วนอุปกรณ์การเรียน เช่น แฟ้มสะสมงาน สมุด หนังสือ ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด (อย่างละ 1 ชิ้น) โรงเรียนจะให้ผู้ปกครองจ่ายในราคา 199 บาท
 
               “ใกล้เปิดเทอมที่ไร กลุ้มใจทุกที มีค่าใช้จ่ายเยอะ ปีไหนต้องซื้อชุดใหม่ยิ่งหนักเลย แค่เสื้อนักเรียนตัวเดียวก็ 300 บาทแล้ว ทางโรงเรียนให้มาก็ไม่พอ ต้องควักเพิ่มอีกเยอะ ตอนที่เด็กๆ เรียนอยู่บ้านนอก (ภูมิลำเนาอยู่ที่ จ.บุรีรัมย์) โรงเรียนเขาให้ครบหมด ไม่ต้องจ่ายสักบาท” น.ส.ดากล่าว
 
               ย้อนกลับไปเมื่อครั้งแรกที่ทราบว่ารัฐบาลมีโครงการเรียนฟรี 15 ปี น.ส.ดา ยอมรับว่า ดีใจมาก คิดว่าช่วยลดภาระผู้ปกครองได้มาก และโล่งอกที่ลูกหลานจะได้รับการศึกษา ถึงแม้ทางบ้านจะมีฐานะยากจน จึงอยากให้ กทม.ช่วยเหลือเหมือนที่โรงเรียนในต่างจังหวัด
 
               ไม่ต่างกับครอบครัวของ นางแหม่ม วัย 34 ปี พนักงานทำความสะอาด บอกว่า ลูกชายจะขึ้นชั้น ม.1 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งย่านบางกะปิ ซึ่งสังกัดรัฐบาลตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี โดยโรงเรียนจ่ายให้ผู้ปกครองเพียง 300 บาท แต่ต้องมีหลักฐานคือใบเสร็จสินค้ามาขอรับ หากรายจ่ายไม่ถึง 300 บาท ก็จ่ายตามตัวเลข ส่วนอุปกรณ์การเรียนอื่นๆ ต้องซื้อเองทั้งหมด รวมทั้งชุดกีฬา
 
               “เราเงินเดือนแค่ 6,700 บาท ส่งลูกเรียนด้วย เงินแทบไม่พอใช้จ่าย แต่ไม่ได้หวังว่าโรงเรียนจะต้องช่วยเหลือทุกอย่าง แต่เงิน 300 บาท ก็แทบช่วยอะไรไม่ได้เลย ถ้าจะช่วยเด็กไทยจริงๆ ต้องลงทุนให้มากกว่านี้ อย่าให้มันเป็นแค่ความฝัน” นางแหม่มกล่าว
 
               ทั้งนี้ จากการสำรวจร้านค้าจำหน่ายชุดนักเรียนพบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ปกครองเปลี่ยนไป โดยระบุถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ต้องประหยัดการใช้จ่ายมากขึ้น วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อชุดนักเรียนที่หลากหลาย ทั้งตลาดบน กลาง และล่าง ส่วนคุณภาพอาจไม่แตกต่างกันมากนัก อย่างราคาชุดนักเรียนแบรนด์ดังสินค้าเกรดเอ ในห้างสรรพสินค้าจำหน่ายที่ตัวละ 180 บาท ขณะที่โบ๊เบ๊ราคาตัวละ 90 บาทเท่านั้น
 
               ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมเฉลี่ยใช้จ่ายอยู่ที่ 9,128 บาทต่อคน แต่จะได้สินค้าจำนวนเท่าเดิม เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่มองว่า เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า กระเป๋า สมุด หนังสือ และเครื่องเขียนมีราคาแพงขึ้น เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการเรียน เช่น ค่าหน่วยกิต ค่าบำรุงโรงเรียน หรือแป๊ะเจี๊ย กรณีเปลี่ยนโรงเรียนใหม่ก็เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นช่วงเปิดเทอมปีนี้จะมีมูลค่าการใช้จ่ายรวม 53,614.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.7% แต่ถือว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 55,000 ล้านบาท
 
               ส่วนบรรยากาศการจับจ่าย จากปกติที่ผู้ปกครองเมื่อเงินไม่พอจะนำของมีค่าไปจำนำ แต่ปีนี้ส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นใช้บัตรเครดิต ทั้งนี้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังอยากให้ภาครัฐดำเนินนโยบายเรียนฟรี 12 ปี แจกชุดนักเรียนฟรี และให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้น ป.1 มองว่าเด็กจะได้ประโยชน์ในระดับปานกลางเท่านั้น เพราะเด็กส่วนใหญ่ หรือกว่า 44% จะใช้เล่นเกม แต่ผู้ปกครองยังมองว่ารัฐบาลควรแจกแท็บเล็ตต่อไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรแจกให้เด็กทุกระดับชั้นและทุกจังหวัด
 
               อีกไม่กี่วัน....จะถึงวันเปิดเทอมใหม่แล้ว หวังว่าปีนี้บรรดานักเรียนทั่วประเทศน่าจะสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลายด้านในวงการศึกษาไทย
 
(หมายเหตุ : ปรับโฉมเปิดเทอมใหม่ปี56  ห้องเรียนกลับด้าน-การบ้านน้อยลง : สุพินดา  ณ  มหาไชย/ ขวัญเรียม แก้วสุวรรณรายงาน)

ขอบคุณข้อมูลจาก --> เว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 13 พฤษภาคม 2556

 
  • 13 พ.ค. 2556 เวลา 10:26 น.
  • 4,528

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ปรับโฉมเปิดเทอมใหม่ปี56การบ้านน้อยลง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^