LASTEST NEWS

03 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 76 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ! แจ้งแนวทางป้องกันเหตุความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากสภาพอากาศร้อนจัด โรงเรียนพิจารณาปิดเรียน และจัดการเรียนในรูปแบบออนไลน์ ออนแฮนด์ ออนแอร์ หรือ ออนดีมานด์ ได้ 03 พ.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 11 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ต้องปฏิรูปหลักสูตรเพื่อยกคุณภาพการศึกษา

  • 09 เม.ย. 2556 เวลา 02:25 น.
  • 2,648
ต้องปฏิรูปหลักสูตรเพื่อยกคุณภาพการศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

โดย ฟาฏินา วงศ์เลขา
 
ในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเด็กและเยาวชนยุคนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงเด็กไทยล้วนมีทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว ทั้งคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือหลากหลายยี่ห้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งติดต่อการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์
 
แต่เมื่อหันกลับมามองคุณภาพการศึกษาของไทยที่มีการสวนกระแสกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลกยุคข้อมูลข่าวสาร ถ้าทบทวนดูผลการจัดอันดับการศึกษาของไทยจะเห็นได้ว่าอยู่ในอันดับที่ไม่น่าพึงพอใจมากนัก มีทั้งอันดับต่ำกว่าเดิม ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การจัดอันดับประเทศที่มีพัฒนาการศึกษาทางการศึกษาของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการจัดอันดับการศึกษาเพียร์สันของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ โดยการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่อันดับ 8 ของอาเซียนตามหลังฟิลิปปินส์และกัมพูชา ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในลำดับ 6 ของอาเซียนตามหลังเวียดนาม
 
ส่วนผลประเมิน PISA ที่มีการสุ่มเพื่อประเมินนักเรียนชั้น ม.3 ต้องการสำรวจว่าเยาวชนที่อยู่ในวัยจบการศึกษาภาคบังคับ มีศักยภาพที่จะใช้ความรู้และทักษะที่เรียนไปในชีวิตจริงในอนาคตได้ดีเพียงใด ซึ่งไม่ได้ประเมินความรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน แต่เน้นประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ PISA ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 โดยมีการประเมินทุก 3 ปี ซึ่งการประเมินแต่ละครั้งจะให้ความสำคัญกับวิชาที่แตกต่างกัน แต่ให้น้ำหนักด้านใดด้านหนึ่งเป็นหลัก และอีก 2 วิชาเป็นรอง พบว่า นักเรียนไทยกลุ่มอายุ 15 ปี มีผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ ต่อเนื่องถึง 4 ครั้ง
 
และเนื่องจากผลการสอบ PISA ได้ถูกนำไปใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้นานาชาติมองว่าไทยยังเป็นประเทศด้อยคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
 
จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ National Test (NT) ระดับชั้น ป.3 ปีการศึกษา 2555 ที่จัดสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่าคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งในทุกด้าน คือ ด้านภาษา คะแนนเฉลี่ย 42.94 ด้านการคำนวณ คะแนนเฉลี่ย 37.45 ส่วนด้านเหตุผล คะแนนเฉลี่ย 45.92 ส่วนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2555 ของนักเรียนชั้น ม.6 จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีผู้เข้าสอบประมาณ 400,000 คน โดยมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งเกือบทุกวิชาเช่นกัน คือ ภาษาไทย 47.19 คะแนน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 36.27 คะแนน ภาษาอังกฤษ 22.13 คะแนน คณิตศาสตร์ 22.73 คะแนน วิทยาศาสตร์ 33.10 คะแนน สุขศึกษาและพลศึกษา 53.70 คะแนน ศิลปะ 32.73 คะแนน การงานอาชีพและเทคโนโลยี 45.76 คะแนน
 
จากผลการจัดอันดับและผลการประเมินต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและระดับนานาชาติที่ผ่านมาล้วนบ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เหล่านี้ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาที่จำเป็นต้องมีการหาแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันวิกฤติการศึกษาของประเทศ
 
รัฐบาลชุดปัจจุบันได้มองเห็นปัญหาการศึกษาไทยที่เรื้อรังมายาวนาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา มองว่าในอดีตที่ผ่านมาเด็กไทยเรียนมากแต่รู้น้อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิรูปหลักสูตร ปรับกระบวนการเรียนการสอนที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง โดยให้สอนน้อยแต่เด็กเรียนรู้มาก
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นให้การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กเป็นสำคัญ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 คณะ คือ คณะที่ 1 กำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีรมว.ศธ.เป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิมาจากทุกภาคส่วนเป็นกรรมการ ส่วนคณะที่ 2 มี ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เป็นประธาน และมีคณะกรรมการออกแบบยกร่างหลักสูตร-ตำราเรียนแห่งชาติ
 
ซึ่งช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมการได้มีการประชุมยกร่างหลักสูตรใหม่เพื่อเป็นพิมพ์เขียวโดยกำหนดกรอบเวลาไว้เพียง 6 เดือน โดยมีมติให้ยกเลิก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรเดิม และยกร่างโครงสร้างใหม่เป็น 6 กลุ่มสาระ คือ ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture) กลุ่มสาระเรียนรู้ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกร และคณิตศาสตร์) การดำรงชีวิตและโลกของงาน (Work Life) ทักษะสื่อและการสื่อสาร (Media Skill and Communication) สังคมและมนุษยศาสตร์ (Society and Humanity) และอาเซียน ภูมิภาคและโลก (Asean Region and World) ส่วนเวลาเรียนไม่เกิน 800 ชั่วโมงต่อปี โดยให้เพิ่มกระบวนการเรียนรู้ผ่านโครงงานทุกระดับชั้น เน้นกระบวนการประชาธิปไตยและคุณธรรม จริยธรรมเพิ่มมากขึ้น
 
หากรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจน จริงจัง ต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีความตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่จะร่วมกันรังสรรค์พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ทุกเวลา สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในชีวิตจริง และพัฒนาต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยทุกหนทุกแห่งคือห้องเรียนที่กว้างใหญ่ และที่สำคัญผู้เรียนทุกคนต้องได้รับการส่งเสริมให้มีศักยภาพที่จะเรียนรู้อย่างหลากหลาย ต่อเนื่อง สนุกสนาน ท้าทาย และเรียนรู้อย่างมั่นใจ เหล่านี้คือหนทางนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยในอนาคต.
 
 
  • 09 เม.ย. 2556 เวลา 02:25 น.
  • 2,648

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ต้องปฏิรูปหลักสูตรเพื่อยกคุณภาพการศึกษา

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^