LASTEST NEWS

01 พ.ค. 2567สพม.สระแก้ว ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สระแก้ว 01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 30 เม.ย. 2567สพป.ระนอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 112 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 30 เม.ย. 2567สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 30 เม.ย. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 30 เม.ย. 2567สพม.ประจวบคีรีขันธ์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ประจวบคีรีขันธ์ 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567สพม.เพชรบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 30 เม.ย. 2567สพป.นครสวรรค์ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 3

ทีดีอาร์ไอ เสนอประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี

  • 20 มี.ค. 2556 เวลา 18:16 น.
  • 2,455
ทีดีอาร์ไอ เสนอประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ทีดีอาร์ไอ เสนอจัดทดสอบมาตรฐานระดับชาติรูปแบบใหม่ใช้แทน O-NET แนะให้ประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี เน้นให้เกิดความรับผิดชอบผลการสอบของเด็ก พร้อมเสนอลดบทบาทประเมินภายนอกของ สมศ. เพราะไม่เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง
 
     วันที่ 20 มี.ค.56 ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ทีดีอาร์ไอได้สรุปผลโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยกำหนดหัวใจการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ 1.สร้างระบบการศึกษาที่มีความรับผิดชอบในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับกระทรวง ผู้บริหารและครูที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผลคะแนนที่ตกต่ำของเด็ก 2.ต้องปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3.ปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา เพราะงบประมาณด้านการศึกษาของไทยมีจำนวนมาก แต่บริหารจัดการไม่ถูกต้องทำให้ไม่เกิดประโยชน์
 
     พร้อมกันนี้ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิรูปให้เกิดพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเสนอให้มีการปฏิรูประบบการทดสอบมาตรฐาน เป็นการสอบรูปแบบใหม่เรียกว่า ลิเทอเรซี เบส เทสต์ (Literacy-based test) ให้เป็นการสอบระดับประเทศ ใช้แทนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยผลการสอบดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลงานครู ผู้บริหาร และสถานศึกษา เป็นหลัก ส่วนการประเมินเพื่อวัดความรู้นักเรียนให้เน้นการสอบวัดความรู้ระดับโรงเรียน และการประเมินผลจากแฟ้มผลงานหรือโครงงานของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลว่านักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใด
 
     ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ทีมวิจัยทีดีอาร์ไอเสนอให้ปรับระบบการประเมินรายได้และวิทยฐานะครู โดยการปรับขั้นเงินเดือนให้ขึ้นกับพัฒนาการของผลการสอบมาตรฐานของนักเรียน จากเดิมที่การพัฒนาการสอบของเด็กมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนครู คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ซึ่งน้อยเกินไป ทีมวิจัยเสนอว่าสัดส่วนดังกล่าวควรมีน้ำหนักอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบในการขึ้นเงินเดือน พร้อมกันนี้ได้เสนอเพิ่มการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ โดยอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทุก 5 ปี และให้ครูมีความรับผิดชอบในการพัฒนาเพื่อนครู พัฒนาการสอน และพัฒนาการของผลการสอบนักเรียน ส่วนการพัฒนาระบบการประเมินผลสถานศึกษา เสนอให้ยกเลิกการประเมินภายนอกที่จัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) เพราะเห็นว่าไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง เนื่องจากสถานศึกษาเข้าใจหลักการประเมินก็จะจัดทำเอกสารตามความต้องการผู้ประเมิน แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่การเรียนการสอน นอกจากนี้คำแนะนำที่ได้จากการประเมินภายนอกก็เป็นเพียงคำแนะนำกว้างๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ สมศ.ทำหน้าที่เปลี่ยนจากการประเมินภายนอก ให้เข้าไปตรวจสอบเฉพาะโรงเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงเรียนที่มีผลการเรียนแย่ลง หรือกรณีโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าไปใช้ สมศ.ควรไปศึกษาว่าได้ผลดีหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ใช้การประเมินภายในเป็นหัวใจหลักของการประเมินสถานศึกษา
 
     "นอกจากนี้เราเสนอการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างความรับผิดชอบและลดความเหลื่อมล้ำเป็นหลัก โดยที่ผ่านมามีหลักฐานชัดเจนว่าผลการเรียนของเด็กจะขึ้นอยู่กับเศรษฐานะของครอบครัว ส่วนใหญ่ถ้ามาจากครอบครัวที่มีฐานะก็จะมีผลการเรียนดี ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลสำรวจและอุดหนุนงบฯ ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ยากจนมากขึ้นเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกัน จากนั้นหากจุดตั้งต้นเท่ากันแล้วผลการเรียนยังไม่เท่ากัน ก็ต้องให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ" ดร.สมเกียรติ กล่าว
 
     ดร.ภูมิศรันย์ ทองเลี่ยมนาค นักวิจัยโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ทีมวิจัยเสนอรูปแบบการทดสอบมาตรฐานซึ่งเป็นการสอบโดยประยุกต์เนื้อหาหลากหลายวิชา และเน้นทักษะการนำไปใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ต่างจากการสอบรูปแบบเดิมๆ ที่เน้นการท่องจำและทำตามบทเรียนแบบตายตัว ยกตัวอย่าง ข้อสอบแสดงแผนที่ทวีปหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จากนั้นให้นักเรียนทดลองคำนวนหาพื้นที่ทวีปหรือประเทศนั้น โดยไม่ได้ให้อุปกรณ์ใดๆ ดังนั้นนักเรียนได้ใช้ทักษะในการคำนวนรูปทรงที่แตกต่างกันและมีคำตอบที่ไม่เหมือนกัน โดยนักเรียนต้องสามารถอธิบายว่าแต่ละคนใช้วิธีการใด
 
     "ทั้งนี้ หน่วยงานที่ออกข้อสอบจะต้องปรับคุณภาพการออกข้อสอบ โดยเฉพาะผู้อออกข้อสอบต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงมากขึ้น หรือมีการระดมความคิดจากครูหรือผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องสนับสนุนการจัดทำธนาคารข้อสอบ เพื่อให้มีข้อสอบดีๆ เก็บไว้เยอะๆ สามารถนำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้ การปฏิรูปตัวข้อสอบ ปฏิรูประบบข้อมูลการจัดทำข้อสอบ และปฏิรูปการรายงานผลการสอบ จะมีความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพการสอบและคุณภาพสถานศึกษาได้" ดร.ภูมิศรันย์ กล่าว
 
 
  • 20 มี.ค. 2556 เวลา 18:16 น.
  • 2,455

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ทีดีอาร์ไอ เสนอประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^