LASTEST NEWS

20 ก.ย. 2567“สพฐ. เผยกรณีครูสาวได้ที่ 1 ชื่อหาย เตรียมดึงตำรวจพิสูจน์หลักฐาน เพิ่มความเชื่อมั่น-โปร่งใสทุกกระบวนการ” 20 ก.ย. 2567เปิดผลสอบ "ครูเบญ" กรณี ชื่อหาย จากอันดับที่ 1 เผย ไม่ผ่านจริง คะแนน ทั้งภาค ก และภาค ข ไม่ถึง 60% ตามที่ระเบียบกำหนด 20 ก.ย. 2567ด่วน! สพฐ.เลื่อนแถลงผลสรุปสอบข้อเท็จจริง ปมดราม่า "ครูเบญ" ได้ที่ 1 ชื่อกลับล่องหน 19 ก.ย. 2567“อรรถพล” ชงทบทวนร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติฯให้รมว.ศธ.พิจารณา 19 ก.ย. 2567วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒนบัณฑิตบริหารธุรกิจโพนสวรรค์ รับสมัครครู 6 อัตรา เงินเดือน 15,000 ไม่ต้องมีวุฒิครู รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 19 ก.ย. 2567ผลสอบชัดแล้ว! 10 โมงพรุ่งนี้แถลงสรุป ดราม่า ‘ครูเบญ’ สอบได้อันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน 19 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจง !!! หลังถูกโซเชียลวิจารณ์การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจงศิลปหัตถกรรมนักเรียน แยกการแข่งวิชาการ ลดภาระครู-นักเรียน ไม่ซ้ำซ้อน . 18 ก.ย. 2567ศธ.ย้ำ 20 ก.ย.นี้รู้ผลสอบ "ครูเบญ" ชี้อย่าตัดสินคนแค่เพราะนามสกุลดัง

อาจารย์ มธ.ชี้ ไม่จำเป็นต้องแยกวิชาประวัติศาสตร์

  • 29 พ.ย. 2565 เวลา 09:54 น.
  • 1,057
อาจารย์ มธ.ชี้ ไม่จำเป็นต้องแยกวิชาประวัติศาสตร์

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อาจารย์ มธ.ชี้ ไม่จำเป็นต้องแยกวิชาประวัติศาสตร์

เช้านี้ที่หมอชิต - อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นต่าง ไม่ควรแยกวิชาประวัติศาสตร์ ออกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้หมวดวิชาสังคม เพราะจะเพิ่มภาระให้นักเรียนและครูผู้สอน ไม่สอดคล้องกับแนวคิดของนักเรียนสมัยใหม่

ตามที่ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เตรียมแยกรายวิชาพื้นฐาน วิชาประวัติศาสตร์ ออกมาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้หมวดวิชาสังคม เพราะต้องการให้นักเรียน ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และปลูกฝังให้นักเรียนรักชาติมากขึ้น

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุชัด ไม่มีความจำเป็น ต้องแยกวิชาประวัติศาสตร์ ออกจากกลุ่มวิชาหมวดสังคม หากแยกออกมา จะเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้เรียน และครูผู้สอน

อีกทั้งในวิชาเรียนทั่วไป นักเรียนต้องเรียนเยอะอยู่แล้ว และบุคคลากรที่ชำนาญในวิชาประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้มีเพียงพอ นอกจากนี้ หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ก็ยังไม่เพียงพอกับนักเรียนทุกคน ที่สำคัญ เนื้อหาในวิชาประวัติศาสตร์ ก็ไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการ และไม่สอดคล้องกับแนวคิดคนรุ่นใหม่ ที่สนใจเรื่องการเรียนแบบคิดวิเคราะห์มากกว่า

แต่หากกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นต้องแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกมา ควรให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น เพื่อสร้างตัวตนให้กับคนในพื้นที่ ให้มีความรักและหวงแหนถิ่นกำเนิด และเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชน สร้างรายได้ให้ชาวบ้านในระยะยาว

ล่าสุด ที่ประชุมบอร์ดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ กพฐ. เห็นชอบแนวทางขับเคลื่อน การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง แยกออกมาเป็น 1 รายวิชาพื้นฐาน ซึ่งขั้นตอนต่อไป ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. จะทำประกาศออกมา เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกาาธิการพิจารณาลงนามภายในสัปดาห์นี้

โดย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกมา เพราะอยากให้ผู้เรียน มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย และต้องการสร้าง Soft Power ที่มาจากวัฒนธรรมประเพณีไทย จึงต้องเรียนรู้ตั้งแต่รากฐานความเป็นมา และให้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัย

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เช้านี้ที่หมอชิต ch7.com วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565
  • 29 พ.ย. 2565 เวลา 09:54 น.
  • 1,057

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^