LASTEST NEWS

19 พ.ค. 2567(ไม่ต้องผ่าน ภาค ก) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับสมัครพนักงานราชการ 8 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน”

ครูไม่มาทำงานวันปิดเทอมเป็นขาดราชการ (ถามตอบจากข่าว 108)

  • 05 พ.ย. 2559 เวลา 23:37 น.
  • 41,528
ครูไม่มาทำงานวันปิดเทอมเป็นขาดราชการ (ถามตอบจากข่าว 108)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครูไม่มาทำงานวันปิดเทอมเป็นขาดราชการ (ถามตอบจากข่าว 108)

สรุปประเด็นข่าว

ปิดเทอมเด็กหยุด ครูไม่หยุด ศาลปค.สูงสุดชี้ ไม่มาทำงานถือว่าขาดราชการ(ข่าว)

ประเด็น  ; ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาการอุทธรณ์ผลการพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ของครู 2 คน ที่ไม่ได้รับพิจารณาขั้นเงินเดือน ยื่นฟ้อง ผอ.รร. ผอ.เขตพื้นที่ฯ และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ให้เพิกถอนคำสั่งกรณีที่สั่งตนทั้งสองไม่ให้ขึ้นเงินเดือน เนื่องจากการออกคำสั่งให้มาทำงานวันปิดเทอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ยกฟ้อง (ยืนตามศาลชั้นต้น) ถือเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

ข้อเท็จจริง ; ผู้อำนวยการโรงเรียน ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ข มีคำสั่งแต่งตั้งครู คือ นางที่ 1 และนางที่ 2 (ผู้ฟ้องคดี) เป็นคณะกรรมการจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา ในคำสั่งอ้างสาระของระเบียบว่าในช่วงปิดภาคเรียนซึ่งถือเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน แต่เป็นวันปฏิบัติราชการตามปกติของครู จึงให้ข้าราชการครูต้องมาปฏิบัติราชการ ลงลายมือชื่อมาปฏิบัติราชการ และหากไม่เสร็จต้องทำต่อในช่วงปิดภาคเรียนด้วย และจากการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติงานราชการของโรงเรียน ปรากฏว่าในช่วงปิดภาคเรียน ผู้ฟ้องคดี นางที่ 1 ไม่มาปฏิบัติราชการรวม 9 วันครึ่ง รวม 10 ครั้ง และผู้ฟ้องคดี นางที่ 2 ไม่มาปฏิบัติราชการ 1 ครั้ง จำนวน 1 วัน โดยไม่ยื่นใบลา ผอ.รร.วินิจฉัย ถือว่าเป็นการขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อถึงคราวการพิจารณาเลื่อนขั้นจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ได้เลื่อนเงินเดือนในรอบครึ่งปีตามหลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนฯ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่จึงมีมติเห็นชอบไม่ให้ขึ้นเงินเดือน ผอ.เขตพื้นที่ ข ก็ออกคำสั่งตามนั้น ผู้ฟ้องเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม กระทบสิทธิ์ จึงได้ดำเนินตามขั้นตอนกฎหมายและได้ยื่นฟ้องศาลต่อปกครองนครราชสีมา(ชั้นต้น) ให้เพิกถอนคำสั่งโดยมี ผอ.รร. ก เป็นจำเลยที่ 1  ผอ.เขตพื้นที่ ข เป็นจำเลยที่ 2 และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ข เป็นจำเลยที่ 3 ต่อมาศาลปกครองชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ฟ้องจึงอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดให้ศาลกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้เพิกถอนคำสั่ง (ที่ไม่ให้ได้เลื่อนเงินเดือน)

 

ข้อกฎหมาย  

   1) ข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547 มีสาระสำคัญว่า วันปิดภาคเรียน คือ วันหยุดพักผ่อนของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจอนุญาตให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็น ให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการเหมือนการมาปฏิบัติราชการตามปกติ

     2) ข้อ 7(4) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ใช้โดยอนุโลมใช้กับครูฯในตอนนั้น) กำหนดว่า ผู้ที่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นในแต่ละครั้ง ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร

 

ข้อวินิฉัย  ศาลได้วินิจฉัยสองประเด็น ตามประเด็นฟ้องของผู้ฟ้อง ดังนี้

  1) ประเด็นแรกผู้ฟ้องเห็นว่า กระบวนการดำเนินการก่อนออกคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติทางการปกครอง พ.ศ. 2539 ที่กล่าวถึง กรณีที่มีคำสั่งทางการปกครองและกระทบสิทธิ์ของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้มีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน จึงเป็นการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมาย  แต่ศาลได้พิเคราะห์ว่า คำสั่งทางการปกครองในกรณีการบรรจุ แต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน สั่งพักราชการ สั่งให้ออกจากงานหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เป็นคำสั่งทางการปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) ซึ่งได้รับการยกเว้นตามวรรคแรก โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งได้ โดยไม่จำเป็นให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ มีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนมีคำสั่ง ดังนั้นจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ผู้ฟ้องก็มีโอกาสชี้แจงต่อ ผอ.โรงเรียนถึงกรณีที่กล่าวอ้างว่าผู้ฟ้องขาดราชการโดยไม่เหตุอันสมควร จนเป็นผลให้มีการออกคำสั่งไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนแล้ว ก็แสดงว่าได้รับทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสโต้แย้งแสดงหลักฐานแล้ว ดังนั้นกระบวนการก่อนออกคำสั่งจึงชอบด้วยกฎหมาย

 

  2) ประเด็นสองผู้ฟ้องเห็นว่า ผู้ฟ้องมิได้ขาดราชการเนื่องจากวันดังกล่าวที่ไม่มาปฏิบัติราชการนั้นเป็นวันปิดภาคเรียน งานที่ปฏิบัติเป็นการจัดทำเอกสารเตรียมประเมินตำแหน่งเชี่ยวชาญของ ผอ.โรงเรียนและไม่มีชื่อในคำสั่งของโรงเรียนฯ ศาลมีประเด็นพิเคราะห์ว่า ผู้ฟ้องเป็นผู้มีสิทธิ์ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นหรือไม่ ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ ตามข้อกฎหมายตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง มาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ใช้โดยอนุโลมใช้กับครูฯในตอนนั้น) ซึ่งบัญญัติถึงกระบวนการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงื่อนไขการไม่ได้เลื่อนเงินเดือนครึ่งขั้นอันเนื่องมาจากการขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เห็นว่า ผู้ฟ้องได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นกรรมการจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา เมื่อทำแผนไม่เสร็จ ผอ.โรงเรียน จึงชอบที่จะสั่งให้มาปฏิบัติราชการต่อในวันปิดภาคเรียนถือว่าเป็นราชการจำเป็น ตามนัยข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ดังนั้นข้าราชการครูในโรงเรียนจึงต้องมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ และลงลายมือชื่อมาปฏิบัติราชการ หากไม่มาปฏิบัติราชการต้องยื่นใบลา แต่ผู้ฟ้องทั้งสองไม่ได้มาปฏิบัติราชการ และไม่ยื่นใบลา จึงเป็นผู้ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (นางที่1 หลายครั้งหลายวัน นางที่ 2 หนึ่งครั้ง หนึ่งวัน) จึงไม่มีสิทธิ์ได้เลื่อนเงินเดือนตาม ข้อ 7(4) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ใช้โดยอนุโลมใช้กับครูฯในตอนนั้น) ดังนั้นการที่สำนักงานเขตพื้นที่ ข ออกคำสั่งโดยไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้อง โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ข จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

คำพิพากษา ; คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.1062/2559 อ่านคำพิพากษา ณ ศาลปกครองนครราชสีมา ความว่า การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน (มติของ อ.ก.คศ. และการออกคำสั่งไม่ให้เลื่อนเงินเดือนของ ผอ.เขตฯชอบด้วยกฎหมายแล้ว)  


ที่มา ; หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 1 พ.ย. 2559

ถอดบทเรียน ; การที่มีคำสั่งของผู้อำนวยการโรงเรียนให้ข้าราชการครูมาปฏิบัติราชการในช่วงการปิดภาคเรียนเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การละเลยไม่มาปฏิบัติราชการตามคำสั่ง โดยไม่ยื่นใบลา ย่อมถือว่าเป็นการขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การขาดราชการเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผผลไม่ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี(รอบครึ่งปี)

ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547

2. กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550

3. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544
 

ตั้งข้อสอบ

1. คำถาม  ; ผู้สั่งเลื่อนเงินเดือนครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียน สพฐ.คือ  

    คำตอบ ; ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2. คำถาม  ; คดีที่ศาลปกครองชั้นต้นรับพิจารณาคือ

    คำตอบ ; คดีทางการปกครอง


ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: เว็บไซต์บ้านสอบครู วันที่ 5 พฤศจิกายน 2559 

  • 05 พ.ย. 2559 เวลา 23:37 น.
  • 41,528

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^