LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 156/2559 ประชุมอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

  • 10 เม.ย. 2559 เวลา 08:04 น.
  • 6,116
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 156/2559 ประชุมอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 156/2559
ประชุมอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ


 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมหารือร่วมกับอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เรื่อง "การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ" เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร  โดยมี รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา, ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, อธิการบดีและผู้แทนอธิการบดีจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม

 
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีที่เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเพื่อการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค จึงต้องชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนได้รับทราบ ซึ่งในเบื้องต้นกระทรวงศึกษาธิการขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในการส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เนื่องจากในองค์ประกอบของ กศจ. จะมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย อีกทั้งได้ขอความร่วมมือให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมจัดทำแผนการศึกษาของแต่ละจังหวัดที่สถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดนั้น ๆ

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการขอให้สถาบันอุดมศึกษาให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมกับแผนงานโครงการในการปฏิรูปการศึกษาจำนวน 4 โครงการ ดังนี้

- โครงการเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง

การที่สถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่เป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงและช่วยพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่เน้นพัฒนาทักษะสำคัญทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ Head, Heart, Hands, Health ตลอดจนร่วมขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาให้ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษาในทุกสังกัด ซึ่งอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลครูที่ทำหน้าที่เป็น Core Trainers ด้านสะเต็มศึกษาจำนวน 140 คน และ Local Trainers อีกจำนวน 205 คน เพื่อพัฒนาให้เป็นครูที่มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็มศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษายังช่วยเสนอแนะวิธีการที่จะทำให้เด็กไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกโรงเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการยกระดับภาษาอังกฤษ เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีภาควิชาภาษาอังกฤษอยู่แล้ว จึงคาดว่าจะสามารถเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ โดยอาจจะสร้างแรงจูงใจและสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาให้เด็กเห็นความสำคัญและมีแรงจูงใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษมากขึ้น พร้อมทั้งจัดหลักสูตรวิชาเอกภาษาอังกฤษให้มีความเข้มข้น เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษด้วย

- โครงการอุดมศึกษาเป็นเลิศ

กระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นการผลิตกำลังคนที่ตรงต่อความต้องการของประเทศ โดยสถาบันอุดมศึกษาต้องกลับไปพิจารณาลักษณะเฉพาะ (Reprofile) ของตนว่าจะเป็นเลิศในด้านใด โดยต้องดู Demand และ Supply ของประเทศประกอบด้วย กล่าวคือ การพิจารณาว่าในจังหวัดที่สถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ควรจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนที่มีความเป็นเลิศในด้านใด เพื่อที่จะเปิดสอนในสาขาที่เชี่ยวชาญและมีความเป็นเลิศในด้านนั้น อีกทั้งร่วมกันพัฒนางานวิจัยเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา (Educational Hub) ของอาเซียน ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีทั้ง 4 ด้านของ Mega Trends ได้แก่ Robotics, Nanotechnology, Biotechnology และ Digital Technology

- โครงการโรงเรียนประชารัฐ

ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในขณะนี้กำลังดำเนินโครงการโรงเรียนประชารัฐจำนวน 3,342 แห่ง ซึ่งจะมี School Partners ที่เป็นผู้แทนจากภาคเอกชนกว่า 1,000 คน เข้าไปดูแลและให้ความช่วยเหลือโรงเรียนประชารัฐกว่า 3,000 แห่งดังกล่าวผ่านโครงการ CONNEXTEd  ซึ่งในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาสามารถให้ความร่วมมือได้ด้วยการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยี เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินการเกี่ยวกับ World Class University อยู่แล้ว หากร่วมมือกับภาคเอกชนและพัฒนาไปพร้อมกัน อาจจะเห็นผลการดำเนินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถดำเนินความร่วมมือได้ทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน

- โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

เป็นโครงการผลิตครูในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อทดแทนอัตราครูที่จะเกษียณตามภูมิลำเนาเดิม ซึ่งเป็นโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี และได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเปิดรับสมัคร โดยสถาบันอุดมศึกษาสามารถสนับสนุนโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของกระทรวงศึกษาธิการได้ ด้วยการเปิดรับนักเรียนในโครงการดังกล่าวเข้าศึกษา ซึ่งจะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนผู้เข้าเรียนจากโครงการนี้ด้วย



ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 8 เมษายน 2559

  • 10 เม.ย. 2559 เวลา 08:04 น.
  • 6,116

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^