LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

"เปลี่ยนประเทศไทยกับ สปช. : NRC Blueprint for Change" (เฉพาะด้านการศึกษา)

  • 13 ส.ค. 2558 เวลา 21:35 น.
  • 18,830
"เปลี่ยนประเทศไทยกับ สปช. : NRC Blueprint for Change" (เฉพาะด้านการศึกษา)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 265/2558
"เปลี่ยนประเทศไทยกับ สปช. : NRC Blueprint for Change" (เฉพาะด้านการศึกษา)


 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ - สภาการปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จัดงาน สปช.รายงานประชาชน : เปลี่ยนประเทศไทยกับ สปช. (NRC Blueprint for Change) เพื่อสรุปผลงานและส่งมอบวาระการปฏิรูปแก่รัฐบาล โดยมีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เป็นประธานเปิดงาน และเสวนาในหัวข้อ “ประธาน สปช.เปิดใจจะปฏิรูปอะไร” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2558

>> การส่งมอบผลงานของ สปช. แก่รัฐบาล

การจัดงานครั้งนี้ เป็นการส่งมอบผลงานของ สปช. แก่รัฐบาล ใน 37 ประเด็น และ 6 วาระการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย

- 37 ประเด็น  ประกอบด้วย 1.การป้องกันทุจริต 2.การเข้าสู่อำนาจ/ระบบพรรคการเมือง 3.ปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น 4.การงบประมาณ 5.ประสิทธิภาพและคุณภาพการบริหารงานภาครัฐ 6.กิจการตำรวจ 7.การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 8.ระบบและโครงสร้างภาษี 9.ระบบงานรัฐวิสาหกิจ 10.ระบบพลังงาน 11.ปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน 12.การผูกขาดและการแข่งขันที่เป็นธรรม 13.การเงินฐานรากและสหกรณ์ออมทรัพย์ 14.ปฏิรูปภาคเกษตร 15.การสร้างสังคมผู้ประกอบการ 16.ระบบจัดการการศึกษา 17. ระบบการคลังด้านการศึกษา 18.ระบบการเรียนรู้ 19.การกีฬา 20.ระบบวิจัยเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมของประเทศ 21.ระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมของประเทศ 22.ระบบการสาธารณสุข 23.ระบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคใหม่ๆ 24.ระบบการคลังด้านสุขภาพ 25.ระบบการบริหารจัดทรัพยากร 26.การจัดการภัยพิบัติตามธรรมชาติและโลกร้อน 27.การเตรียมการเพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์ "กรุงเทพฯ จม" 28.ระบบเพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง 29.สวัสดิการสังคม 30.สังคมสูงวัย 31.การคุ้มครองผู้บริโภค 32.การกำกับดูแลสื่อ 33.สิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบ 34.การป้องกันการแทรกแซงสื่อ 35.ศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างคุณค่า 36.ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนาเพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม และ 37.ปฏิรูปการแรงงาน

- 6 วาระการพัฒนา ประกอบด้วย 1.ศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศ 2.การวิจัยนวัตกรรม 3.ระบบโลจิสติกส์ 4.การพัฒนาเศรษฐกิจ 5.กลไกในการพัฒนาที่ไม่ใช่ภาครัฐ 6.พัฒนาระบบทักษะใหม่และความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม


>> การปฏิรูปประเทศสู่อนาคต 2575

นอกจากนี้ สปช.ได้จัดทำเอกสารนำเสนอบทสังเคราะห์ "การปฏิรูปประเทศสู่อนาคต 2575" ซึ่งมีเป้าหมาย 5 ด้าน คือ 1) ให้เป็นการเมืองที่เปิดกว้าง ไม่ผูกขาด มีส่วนร่วม ผู้นำดีและเก่ง 2) รายได้ 480,000 คนต่อปี 3) เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการพัฒนาสุวรรณภูมิและอาเซียน 4) ผลสัมฤทธิ์เด็กไทยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและอยู่ใน Top 5 ของเอเชีย 5) พื้นที่ป่าเพิ่มเป็น 40% ระบบน้ำครอบคลุม 70%

โดยมีจุดเน้นการปฏิรูปใน 4 ด้านหลัก คือ

- การปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Reform) ซึ่งภาคการศึกษาจะต้องดำเนินการเพื่อตอบโจทย์การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ คือ

1) การสร้างศูนย์ร่วมของความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ ท่องเที่ยว สุขภาพ เกษตร อาหาร พลังงานทดแทน ยานยนต์ และพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบ เช่น ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องมือแพทย์
2) การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายอาเซียน (Center of ASEAN Connectivity)
3) Home of Innovative Enterprise, Start-Up Nation ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการเป็นสังคมผู้ประกอบการ การพัฒนาอุตสาหกรรมบนฐานนวัตกรรมของอุตสาหกรรม การปฏิรูประบบวิจัย เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมของประเทศ

- การปฏิรูปสังคม (Social Reform)  ในส่วนของการศึกษาได้นำเสนอใน 2 ด้านที่สำคัญ คือ
1) ด้านการลดความเหลื่อมล้ำ ในคุณภาพและโอกาสทางการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่งต่อตำบล และโรงเรียนมัธยม 1 แห่งต่ออำเภอ รวมทั้งได้กำหนดว่า ควรจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ช่วง 2 ปีแรก นับตั้งแต่ปี 2558 คือ ควรมีการนำร่องจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ หลังจากนั้นในอีก 7 ปีข้างหน้า (ในปี 2565) ให้มีการกระจายอำนาจและทรัพยากรลงสู่ฐานกลไกจังหวัด พร้อมทั้งให้มีกรรมการการศึกษาจังหวัดและสมัชชาการศึกษาจังหวัดเกิดขึ้นทั่วประเทศ  ส่วนอีก 17 ปีข้างหน้า (ในปี 2575) ควรจัดให้มีหลักสูตรการจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ตามภูมิสังคมของพื้นที่ เพื่อมุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนที่สูงขึ้น
2) ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งควรมีกลไกสามประสานเชื่อมโยงในระดับพื้นที่ คือ ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน

- การปฏิรูปสาธารณะ (Public Sector Reform) โดยเสนอให้มีการศึกษาเป็นหนึ่งในสามกลไกการปฏิรูปที่สำคัญภาครัฐ นอกเหนือจากการปฏิรูปภาคเกษตร และกิจการพลังงานและไฟฟ้า ซึ่งได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นเป้าหมายให้ผลสัมฤทธิ์เด็กไทยเป็นอันดับสองของอาเซียน และอยู่ใน Top 5 ของทวีปเอเชีย

มีประเด็นในการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ คือ ควรกระจายอำนาจสู่การจัดการเชิงพื้นที่ การปฏิรูประบบการเงินด้านอุปสงค์จ่ายตรงกับผู้เรียนและสถานศึกษา การปรับโครงสร้างอัตรากำลังของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรองรับบทบาทใหม่ ในฐานะผู้อำนวยความสะดวก (Regulator) การใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายฯ ยืนระยะการปฏิรูปให้ต่อเนื่อง 10-15 ปี และการปฏิรูปวิธีการเรียนและหลักสูตร โดยได้กำหนด Road Map การปฏิรูปการศึกษาในช่วง 2 ปี (ปี 2560) 7 ปี (ปี 2565) และ 17 ปี (ปี 2575) ดังนี้
 
- การปฏิรูปการเมือง (Political Reform) เพื่อนำประเทศไทยไปสู่แผนการปฏิรูปประเทศในปี 2575 คือ "ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" โดยจัดโครงสร้างระบบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อาทิ การกระจายอำนาจและการถ่ายโอนภารกิจ ระบบบูรณาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การเชื่อมโยงระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานภาครัฐ การปรับโครงสร้างและอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนปฏิรูปวิธีการเรียน การปรับปรุงโครงสร้างระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัย เป็นต้น

>> การออกแบบพิมพ์เขียวการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

อีกประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ การออกแบบพิมพ์เขียวการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและบริบทของสังคมไทย โดยมียุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การปลูกฝังคนไทยไม่โกง 2) ยุทธศาสตร์การป้องกันด้วยการเสริมสร้างสังคมธรรมาภิบาล 3) ยุทธศาสตร์การปราบปราม

ในส่วนของกรอบการขับเคลื่อนการปฏิรูป "คนไทยไม่โกง" นั้น ประกอบด้วย 3 แนวทาง และ 7 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ

3 แนวทาง : 1) สร้างจิตสำนึกที่ตัวบุคคล รู้ผิดชอบชั่วดี ตระหนักถึงผลเสียหายร้ายแรงของการทุจริตคอร์รัปชัน 2) สร้างเครือข่ายและกลไกเชิงสถาบันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนที่มีจิตสำนึกให้มีระบบและกลไกในปัจเจกบุคคลที่มีจิตสำนึกได้เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สร้างพื้นที่ให้คนดีมีที่ยืนในสังคม 3) สร้างพลังคุณธรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยในภาพใหญ่ด้วยการส่งเสริมและสร้างกลไกบางประการที่ทำให้เครือข่ายของผู้มีจิตสำนึกรักความถูกต้องนี้มีพลัง เป็นกลไกการตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ สร้างพลังต่อต้าน และลงโทษทางสังคมต่อผู้กระทำการทุจริตคอร์รัปชัน

7 กลุ่มเป้าหมายหลักในการปฏิรูป : เด็กและเยาวชน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง ธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน ประชาสังคม และประชาชนทั่วไป

ที่มาของข่าว : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 13 สิงหาคม 2558
 
  • 13 ส.ค. 2558 เวลา 21:35 น.
  • 18,830

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^