LASTEST NEWS

03 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 พ.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 11 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพม.ขอนแก่น ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 29 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่ 2 – 9 พฤษภาคม 2567 02 พ.ค. 2567สพฐ. ห่วงใยแนะแนวทางการป้องกัน ดูแล ครูและนักเรียน ในสภาพอากาศร้อนจัด

ส่อลดเรียนฟรีเหลือแค่ 9 ปี

  • 07 พ.ค. 2558 เวลา 11:30 น.
  • 3,024
ส่อลดเรียนฟรีเหลือแค่ 9 ปี

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

          โฆษก ศธ.แจงครูอย่าตื่นตระหนกข้อเสนอถ่ายโอนโรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดไปอยู่อปท.เพราะขณะนี้ยังไม่ใช่ข้อสรุปต้องผ่านกระบวนการพิจารณาอีกหลายขั้นตอน ชี้เคยทำแล้วปัญหาเยอะจนต้องถ่ายโอนกลับจึงควรใช้เป็นบทเรียน ส่วนประเด็นลดเรียนฟรีเหลือ 9 ปีร่างรัฐธรรมนูญยังมีทิศทาง  12  ปีแต่อาจให้แค่ภาคบังคับบวกปฐมวัย 3 ปี ยันช่วยคนยากจนไร้โอกาสก่อน

          จากกรณีมีการเผยแพร่ทางโซเชียลเน็ตเวิร์กนัดครูทั่วประเทศใส่ชุดดำในวันที่7-9 พ.ค.นี้เพื่อคัดค้านการถ่ายโอนโรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปอยู่ในการกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พร้อมขึ้นข้อความ "คัด ค้าน ไม่ไป ไม่ย้าย ไม่ถ่าย ไม่โอน ครูสู่ อปท." และร่วมลงชื่อคัดค้านเพื่อยื่นต่อผวจ.และให้ส่งต่อไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

          ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ.ในฐานะโฆษก ศธ.เปิดเผยว่า   ศธ.ยืนยันข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดินเรื่องกระจายอำนาจจัดการการศึกษาสู่ท้องถิ่นรวมถึงข้อเสนอจากฝ่ายต่าง ๆ อาทิ การยุบรวมองค์กรหลักใน ศธ.หรือการยุบเลิกสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) นั้นยังเป็นเพียงข้อเสนอที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณารับฟังความคิดเห็นอีกหลายขั้นตอนทั้ง ศธ. สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงไม่อยากให้ครูตระหนก, สับสนและเข้าใจว่าเรื่องดังกล่าวเป็นข้อสรุปแล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเคยมีการถ่ายโอนสถานศึกษาในสังกัดสำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปให้ อปท.แล้วส่วนหนึ่งแต่ก็มีปัญหาขัดข้องจนต้องถ่ายโอนกลับซึ่งเป็นบทเรียนที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย

          ด้าน ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องกระจายอำนาจจัดการการศึกษาสู่ท้องถิ่นคงไม่สามารถทำได้เพราะไม่แน่ใจว่าจะรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาได้ดีหรือไม่และเห็นว่ายังมีความจำเป็นที่ภาครัฐควรจะบริหารจัดการศึกษาเป็นหลัก ยกตัวอย่างงานวิจัยเรื่องความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้ อปท.ใน จ.ปทุมธานี, นนทบุรีและพระนครศรีอยุธยาของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต มรภ.วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ระบุว่า อปท. 267 แห่ง มีความพร้อมในการจัดการศึกษาแค่ 95 แห่ง ขณะเดียวกันผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนในท้องถิ่นและบุคลากรทางการศึกษาก็มีความเห็นว่า อปท.ไม่มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ, ด้านวิชาการและการบริหารงานบุคคล

          สำหรับข้อเสนอเรื่องลดการศึกษาฟรี 12 ปี เหลือ 9 ปีนั้น ดร.อมรวิชช์ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. กล่าวว่า  เป็นข้อเสนอที่คุยกันอยู่ใน สปช.ซึ่ง ศธ.อยากให้คนยากจนและเด็กด้อยโอกาสได้รับเงินอุดหนุนมากขึ้นแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นรายละเอียด ทั้งนี้ในร่างรัฐธรรมนูญได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่ารัฐต้องอุดหนุนอย่างเหมาะสมตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาภาคบังคับ ตั้งแต่ 3 ขวบ ไปจนถึงการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้นทิศทางการอุดหนุนก็ยังคงเป็น 12 ปีเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม คิดว่าต้องมีการปรับเรื่องเงินอุดหนุนรายหัวใหม่หมด  คือ มีการอุดหนุนขั้นต่ำเท่าเทียมกันทุกคนจริงแต่จะมีเงินรายหัวส่วนเพิ่มให้คนยากจนมากขึ้นโดยแปรผันตามสภาพผู้เรียน, สภาพโรงเรียน และ สภาพพื้นที่เพื่อให้เงินที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นเงินที่ลงไปสู่คนยากจนให้มากที่สุด.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 พ.ค. 2558 (กรอบบ่าย)
  • 07 พ.ค. 2558 เวลา 11:30 น.
  • 3,024

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^