LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง

  • 16 ธ.ค. 2557 เวลา 21:44 น.
  • 4,057
คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง
 
เปิดตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี พบกิจกรรมภายนอกกระทบการสอนของครูถึง 84 วัน หรือ 42% ชี้“การประเมิน-แข่งขันทางวิชาการ-การอบรม” ดึงเวลาครูออกจากห้องเรียนสูงสุด ด้านนักวิชาการชี้ผลสำรวจ 5 ประเทศพบครูถูกดึงเวลาสอนเพียง 30% กระทบผลการเรียนของเด็ก พบเสียงสะท้อนขอคืนครูสู่ห้องเรียน แฉถูกเรียกสินบนในการประเมิน แนะรัฐบาล-ศธ.-เขตพื้นที่ ทบทวนกิจกรรมไม่ส่งผลการเรียนรู้ถึงเด็ก ด้านที่ปรึกษารมว.ศธ.ชี้ของขวัญปีใหม
 
เปิดตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี พบกิจกรรมภายนอกกระทบการสอนของครูถึง 84 วัน หรือ 42% ชี้“การประเมิน-แข่งขันทางวิชาการ-การอบรม” ดึงเวลาครูออกจากห้องเรียนสูงสุด  ด้านนักวิชาการชี้ผลสำรวจ 5 ประเทศพบครูถูกดึงเวลาสอนเพียง 30% กระทบผลการเรียนของเด็ก พบเสียงสะท้อนขอคืนครูสู่ห้องเรียน แฉถูกเรียกสินบนในการประเมิน แนะรัฐบาล-ศธ.-เขตพื้นที่ ทบทวนกิจกรรมไม่ส่งผลการเรียนรู้ถึงเด็ก ด้านที่ปรึกษารมว.ศธ.ชี้ของขวัญปีใหม่ครูไทยต้องออกเป็นนโยบายปิดช่องงานที่ไม่เกี่ยวกับการสอน 
 
     เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ได้มีการแถลงข่าว “คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี  เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง” โดยดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า จากการสำรวจกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู เพื่อสะท้อนสถานการณ์การทำงานของครูภายใต้ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน โดยได้ทำการสำรวจครูผู้ได้รับรางวัลครูสอนดีจากสสค. ซึ่งมีอายุเฉลี่ยและวิทยฐานะสูงกว่าครูทั่วไป กระจายตัวครอบคลุมโรงเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ จำนวน 427 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-15 ต.ค.ที่ผ่านมาพบว่า ใน 1 ปี มีจำนวนวันเปิดเรียนทั้งหมด 200 วัน ครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนเฉพาะวันธรรมดาถึง 84 วัน หรือคิดเป็น 42%



 
 
     ดร.ไกรยส กล่าวว่า กิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุด 3 อันดับแรกคือ อันดับ 1  การประเมินของหน่วยงานภายนอกเฉลี่ย 43 วัน ทั้งการประเมินโรงเรียน ประเมินครู และประเมินนักเรียน โดยครูใช้เวลาไปกับการประเมินของหน่วยงานต้นสังกัดในโครงการต่างๆ 18 วัน การประเมินของสถาบันทดสอบ 16 วัน   และการประเมินของสมศ. 9 วัน ตามด้วยอันดับ 2 การแข่งขันทางวิชาการ 29 วัน และอันดับ 3 การอบรมจากหน่วยงานภายนอก 10 วัน โดยครูส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ได้แก่ การแข่งขันทางวิชาการ การประเมินO-NET การอบรม และการประเมินการอ่าน ส่วนกิจกรรมที่ครูส่วนใหญ่เห็นว่าส่งผลเสียต่อการเรียนการสอนคือ การประเมินโรงเรียนโดยสมศ. การอบรม และการประเมินอื่นๆ ซึ่งหน่วยงานประเมินที่ครูส่วนใหญ่อยากให้มีการปรับปรุงมากที่สุดคือ สมศ. 98% รองลงมาคือเขตพื้นที่ และสพฐ. 1.7% โดยเสนอให้ปรับปรุงวิธีการประเมินที่เน้นผลลัพธ์ของเด็กมากกว่าเอกสารและลดภาระการประเมินลง 
 
     “เสียงสะท้อนของครูส่วนใหญ่ต้องการคืนครูสู่ห้องเรียนและลดภาระงานของครูที่ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยลดภาระการประเมินด้านเอกสารลง และควรจัดอบรมในเนื้อหาที่ครูต้องการในช่วงปิดภาคเรียนเท่านั้น ที่น่าสนใจคือครูมากกว่า 90% เห็นว่า หากโรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณและการบริหารบุคคลจะมีส่วนสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โดยเงื่อนไขสำคัญของการกระจายอำนาจการบริหารจัดการเรียนการสอนให้ประสบผลสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมของครู คุณภาพของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียน” ดร.ไกรยส กล่าว    
 
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เสียงสะท้อนของครูที่นักปฏิรูปต้องฟังจากผลสำรวจครูในประเทศของเรายังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับที่ดี คือใช้เวลากับการสอนในชั้นเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง/วัน แต่ครูกำลังถูกกดดันและเริ่มไม่มีความสุขเพราะภาระงานนอกห้องเรียนที่ดึงเวลาครูออกไปถึง 42% ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องให้ความสนใจว่าเหตุใดคุณภาพการศึกษาถึงไม่ดีขึ้น จากงานวิจัยขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี 2555 ได้ศึกษาเวลาของครูที่ใช้ในห้องเรียนของ 5 ประเทศได้แก่ เอธิโอเปีย สาธารณรัฐกัวเตมาลา ฮอนดูรัส โมซัมบิก และเนปาล พบว่า เมื่อครูถูกดึงออกนอกห้องเรียนที่ไม่เกี่ยวกับการสอนไป 20-30% จะมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก โดยมีผลกระทบต่อโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก สมาธิของเด็กต่อเนื้อหาและผลคะแนนของเด็กลดลงอย่างเห็นได้ชัด 
 
     “กิจกรรมการประเมินภายนอกทั้งครู โรงเรียนและนักเรียนกว่า 20 โครงการที่ครูต้องใช้เวลาถึง 43 วันต่อปี และยังมีเสียงสะท้อนจากครูว่ามีการเรียกรับสินบนจากการประเมิน นอกจากนี้ยังมีภาระการทำเอกสาร การอบรม และงานสัมมนา ทำให้งานสอนมีแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น รัฐบาล กระทรวงศึกษา และเขตพื้นที่จึงไม่ควรสร้างภาระงานที่กระทบต่อการสอน ต้องทบทวนว่ากิจกรรมเหล่านี้เกิดประโยชน์ไปถึงตัวเด็กหรือไม่ ผลการประเมินเหล่านี้ถูกนำกลับไปใช้พัฒนาการสอนของครูให้ดีขึ้นหรือไม่” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว   
 
     ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่าปัญหาการศึกษาไทยในยุคคสช.จะสำเร็จได้ต้องมุ่งแก้ไขใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ปรับกฎหมายคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อไม่ให้ครูยึดติดกับการทำผลงานเพิ่มวิทยฐานะ 2) ปรับการประเมินผลของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยต้องปรับบทบาทและทบทวนตัวเองใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) มาตรฐานตัวชี้วัดที่ไม่สะท้อนคุณภาพจริง 2) มาตรฐานผู้ประเมินที่ยังลักลั่น และ 3) ภาระงานเอกสาร ก่อนมีการประเมินรอบ 4 และ 3) ปรับวิธีการสอบของสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้เน้นที่กระตุ้นพัฒนาการของเด็ก มิใช่การสอบระดับชาติที่ใช้ข้อสอบเพียงชุดเดียววัดผลเด็ก
 
      “เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ต้องการกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่ให้มาก และที่สำคัญจะต้องมีการสร้างกลไกระดับชาติเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับกระบวนการปฏิรูป โดยได้มีการเสนอผ่านสภาปฏิรูป ผมจึงมั่นใจว่าไม่มีจังหวะใดที่จะมีความหวังในการปฏิรูปการศึกษาได้เท่าขณะนี้ ข้อมูลสสค.จึงเป็นประโยชน์ในการตั้งโจทย์ปฏิรูประบบการศึกษาครั้งใหม่ที่มีโจทย์ร่วมของทุกกระทรวงไม่เพียงแต่ สปช.-สนช.-ศธ.เท่านั้น เพราะทิศทางใหม่ของการศึกษาจะเป็นเรื่องการพัฒนาคนที่ต้องทำร่วมกัน”
  
 
     นายอาคม สมพามา ตัวแทนครูสอนดี โรงเรียนสายธรรมจันทร์ จ.ราชบุรี กล่าวว่า “รางวัลของเด็กคือ การได้มีครูอยู่ในห้องเรียน  ผมจึงขอคืนเวลา 84 ชม.ให้กับเด็กนักเรียน และเห็นว่าควรมีการรื้อการประเมินรูปแบบวิทยาฐานะใหม่ที่มุ่งสู่การพัฒนาเด็กมากกว่าการผลประโยชน์ที่ครูได้รับ ดีใจที่สปช.จะเร่งแก้กฎหมายให้ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะเพื่อให้ครูได้มีโอกาสอยู่ในห้องเรียนเพิ่มขึ้น”
 
 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
- ผลสำรวจกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู  คลิกที่นี่
 
  • 16 ธ.ค. 2557 เวลา 21:44 น.
  • 4,057

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^