LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

เปิดบัญชีเงินเดือนข้าราชการ ปรับขึ้นแล้ว 6 ครั้ง ในรอบ 10 ปี

  • 13 ธ.ค. 2557 เวลา 22:36 น.
  • 8,839
เปิดบัญชีเงินเดือนข้าราชการ ปรับขึ้นแล้ว 6 ครั้ง ในรอบ 10 ปี

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เปิดบัญชีเงินเดือนข้าราชการ ปรับขึ้นแล้ว 6 ครั้ง ในรอบ 10 ปี
 
          เปิดบัญชีเงินเดือนข้าราชการล่าสุด 2557 ถือเป็นการขึ้นเงินเดือนข้าราชการครั้งที่ 6 ในรอบ 10 ปี ลองมาย้อนดูอัตราการปรับเงินเดือนข้าราชการในอดีต ตั้งแต่ปี 2547-2557
 
            การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยให้ขยายเพดานเงินเดือนข้าราชการทุกระดับ ร้อยละ 10 และปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการที่ร้อยละ 4 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป ถือเป็นการปรับเงินเดือนขึ้นครั้งที่ 6 ในรอบ 10 ปี ของข้าราชการไทย
 
            โดยก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ thaipublica.org ได้ทำบทความรายงานถึงโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน ซึ่งนำข้อมูลมาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าแต่ละครั้งมีการปรับเพิ่มขึ้นในอัตราเท่าใด โดยตัวเลขต่อไปนี้ไม่รวมเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม และค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน (compensation) ที่จะมีข้าราชการในบางตำแหน่งได้รับ
 
            เริ่มจากในปี พ.ศ. 2547 สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปรับเงินเดือนข้าราชการเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 เท่ากันทุกอัตราสําหรับข้าราชการทุกประเภท ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนของข้าราชการ ทำให้เงินเดือนต่ำสุดอยู่ที่ 4,230 บาท สูงสุดที่ 61,850 บาท 
 
            จากนั้นคณะรัฐมนตรีของ พ.ต.ท. ทักษิณ ก็ได้มีมติปรับเงินเดือนขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 โดยปรับเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5 เท่ากันทุกอัตราสำหรับข้าราชการทุกประเภท ทำให้เงินเดือนต่ำสุดอยู่ที่ 4,450 บาท สูงสุดที่ 64,950 บาท 
 
            ในปี พ.ศ. 2550 สมัย พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับขึ้นเงินเดือนเป็นครั้งที่ 3 ในอัตราร้อยละ 4 เท่ากันทุกอัตราสําหรับข้าราชการทุกประเภท ทำให้เงินเดือนต่ำสุดอยู่ที่ 4,630 บาท สูงสุดที่ 67,550 บาท 
 
            การปรับเพิ่มเงินเดือนครั้งที่ 4 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551 โดยครั้งนี้มีการปรับเปลี่ยนระบบการกำหนดตำแหน่งงาน จากเดิมที่ใช้ "ซี" เป็นตัวแบ่งขั้น 1-11 มีบัญชีเงินเดือนเดียว กลายเป็นการกำหนดฐานเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ไม่รวมข้าราชการทหาร ตำรวจ ฯลฯ) หรือระบบแท่ง ซึ่งจะแบ่งบัญชีเงินเดือนออกเป็น 4 บัญชี คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ (แบ่งเป็นระดับปฏิบัติการ ชํานาญการ ชํานาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และทรงคุณวุฒิ) และประเภทประเภททั่วไป (แบ่งเป็นระดับปฏิบัติงาน ชํานาญงาน อาวุโส และทักษะพิเศษ) ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
 
            สำหรับการขึ้นเงินเดือนนี้ จะพิจารณาตามผลการปฏิบัติราชการ และยึดหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามค่างานและผลของงาน ซึ่งแต่ละองค์กรจะเป็นผู้พิจารณาเอง ถือเป็นการให้เงินเดือนแบบยืดหยุ่นกว่าระบบซี และครั้งนี้ได้มีการปรับขึ้นร้อยละ 5 เท่ากันทุกประเภท เงินเดือนต่ำสุดอยู่ที่ 4,870 บาท สูงสุดที่ 69,810 บาท 
 
            ต่อมาในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี พ.ศ. 2554 ได้มีการปรับเพิ่มเงินเดือนครั้งที่ 5 ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 แต่ครั้งนี้ไม่ได้กำหนดอัตราเป็นร้อยละ คงกำหนดเพียงเงินเดือนต่ำสุดอยู่ที่ 4,870 บาท สูงสุดที่ 69,810 บาท เช่นเดียวกับเมื่อปี พ.ศ. 2551
 
            และในปี 2557 รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้คืนความสุขให้ข้าราชการไทยอีกครั้ง เมื่ออนุมัติขยายเพดานเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการและพนักงานราชการทุกประเภท เพิ่มขึ้น 3 ขั้น หรือประมาณร้อยละ 10 สำหรับบัญชีเงินเดือนแบบขั้น ขณะที่ข้าราชการ 6 ประเภท ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือนสามัญ, ข้าราชการทหาร, ข้าราชการตำรวจ, ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และข้าราชการรัฐสภาสามัญ จะได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น หรือประมาณร้อยละ 4 
 
            การปรับเงินเดือนข้าราชการที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นมา ซึ่งการปรับครั้งล่าสุดในปี 2557 นี้ ใช้งบประมาณถึง 22,900 ล้านบาท โดยมีข้าราชการและพนักงานได้รับประโยชน์เกือบ 2 ล้านคน 
 
 
  • 13 ธ.ค. 2557 เวลา 22:36 น.
  • 8,839

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เปิดบัญชีเงินเดือนข้าราชการ ปรับขึ้นแล้ว 6 ครั้ง ในรอบ 10 ปี

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^