LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

ฝันบรรเจิด! ชงจัดสอบ O-NET รายภูมิภาคลดความเหลื่อมล้ำ

  • 16 มิ.ย. 2556 เวลา 20:30 น.
  • 1,725
ฝันบรรเจิด! ชงจัดสอบ O-NET รายภูมิภาคลดความเหลื่อมล้ำ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เด็กไทยเสนอไอเดียจัดการศึกษา แนะปฏิรูปหลักสูตรให้เด็กมีอิสระทางความคิด เสนอจัดทำข้อสอบ O-NET เป็นรายภูมิภาคช่วยลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมยกเลิกสอบ GAT-PAT มั่นใจ O-NET ช่วยคัดกรองคนเข้ามหา'ลัยได้ ด้าน "ภาวิช" เผยหลักสูตรใหม่คืบหน้า 80% เตรียมนำร่องปีการศึกษา 2557 จำนวน 2,000-3,000 แห่งทั่วประเทศ ชี้หลักสูตรใหม่เด็กไม่ต้องอัดแน่นทุกรายวิชา และลดเวลาเรียนในห้องให้น้อยลงจาก 1,000 ชม. เหลือ 600 ชม.
 
     ที่โรงแรมบางกอกชฎา กทม. เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.56  นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดงานสมัชชาการศึกษา 56 การศึกษาไทย แบบไหนที่เด็กไทยต้องการ ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อยู่ระหว่างการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะเริ่มนำร่องใช้ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 2,000-3,000 แห่งทั่วประเทศ โดยขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้ว 80% ซึ่งหลักสูตรใหม่นี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับสมองในช่วงวัยต่างๆ โดยเฉพาะชั้น ป.1 และ ป.2 ที่จะไม่อัดความรู้พร้อมกันเป็นหน้ากระดานเหมือนแต่ก่อน แต่จะใส่เนื้อหาในรายวิชาที่สำคัญ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาอื่นๆ ที่สอดคล้องกับช่วงวัย
 
     นอกจากนี้จะลดชั่วโมงเรียนในห้องเรียนให้น้อยลง เช่น ระดับประถมศึกษาจากเดิมประมาณ 1,000 ชั่วโมง ให้เหลือ 600 กว่าชั่วโมง แต่ทั้งนี้การลดชั่วโมงเรียนไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการลดการเรียนรู้ แต่เป็นการลดเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กมีการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งผ่านการทำกิจกรรม หรือการเรียนรู้นอกห้องเรียน
 
     ส่วนเรื่องการวัดและประเมินผลของหลักสูตรใหม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้เชิญสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มาหารือ เพราะต้องการทำหลักสูตรใหม่ให้อิสระ และเสร็จสิ้นก่อน จากนั้นจึงค่อยเชิญ สทศ.มาจัดทำการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ต่อไป ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการปรับข้อสอบต่างๆ ของ สทศ.อย่างแน่นอน
     นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ ประธานเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นจากนักเรียนทั่วประเทศ เกี่ยวกับการศึกษาแบบไหน ที่เด็กไทยต้องการ พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ต้องการให้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอน โดยเปิดให้เด็กได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ไม่ปิดกลั้น ควรนำเทคโนโลยีมาพัฒนาควบคู่กับการเรียนการสอน และให้ครูคอยเป็นที่ปรึกษา เพราะปัจจุบันครูจะสอนแต่ในหนังสือเท่านั้น ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่ล้าหลังไปแล้ว
 
     นอกจากนี้ควรจะประยุกต์รายวิชาที่สามารถนำไปใช้กับการทำงานในอนาคตได้ เช่น การนำหลักสูตร คอมพิวเตอร์กราฟฟิกมาสอดแทรกในการเรียนการสอน เมื่อจบจะได้สามารถนำมาทำงานได้ เพราะหากเน้นวิชาการอย่างเดียวก็ไม่สามารถตอบโจทย์การศึกษาให้เด็กได้ทั้งหมด จนส่งผลให้มีการออกนอกการศึกษา ซึ่งจากการสำรวจการใช้หลักสูตรปัจจุบันพบว่าตอบโจทย์เด็กเพียง 4 คนจาก 10 คนเท่านั้น ส่วนอีก 6 คนออกจากระบบการศึกษา และที่สำคัญควรมีการปฏิรูปครูควบคู่ไปกับการปฏิรูปหลักสูตร โดยนอกจากจะพัฒนาครูทางด้านวิชาการให้เข้มแข็งแล้ว จะต้องเน้นให้ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครูมากขึ้น และสามารถสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนให้เข้าใจตรงกัน
 
     "มีข้อเสนอที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET เพราะเด็กส่วนใหญ่อยากให้ข้อสอบ O-NET บางรายวิชา โดยเฉพาะในวิชาสังคมศึกษา เป็นข้อสอบที่ไม่ใช่ข้อสอบเดียวกันทั้งประเทศ เพราะเป็นการเหลื่อมล้ำ ดังนั้นข้อสอบควรจัดเป็นรายภูมิภาค เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ แต่ทั้งนี้ข้อสอบยังคงจะต้องมีจุดเน้นเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
 
     ซึ่งหากทำได้จริงเชื่อว่าจะทำให้เด็กไทยในภูมิภาคต่างๆ สามารถทำคะแนนสอบได้มากขึ้น อันจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยสูงขึ้น และไม่อยู่รั้งท้ายนานาประเทศด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอด้วยว่าควรยกเลิกการสอบแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และแบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT เนื่องจากเห็นว่าการสอบ O-NET ก็เป็นการวัดผลระดับชาติอยู่แล้ว จึงเพียงพอสำหรับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย และยังเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการสอบด้วย" นายพชรพรรษ์ กล่าว
 
 
  • 16 มิ.ย. 2556 เวลา 20:30 น.
  • 1,725

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ฝันบรรเจิด! ชงจัดสอบ O-NET รายภูมิภาคลดความเหลื่อมล้ำ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^