LASTEST NEWS

09 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 46 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 35 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?

  • 22 พ.ค. 2556 เวลา 14:21 น.
  • 2,609
ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
          เอนก  กระแจ่ม - กวินทรา ใจซื่อ
          "โรงเรียนอยู่ไม่ไกลจากบ้าน ทุกวันยายจะไปรับ-ไปส่ง แต่หากโรงเรียนถูกยุบอย่างที่ผู้ใหญ่เขาคุยกัน  หนูก็ไม่อยากเข้าไปเรียนในเมือง เพราะยายต้องลำบาก ไปรับส่ง สงสารยายแก่มากแล้ว"
 
          เสียงสะท้อนของ เพชรไพริน  เชาวพงษ์  ด้วยวัยเพียง 10 ขวบ เรียนอยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 โรงเรียนบ้านโสกยางต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม   หลังจากทราบถึงข่าวการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก  ในวันประชุมผู้ปกครอง
 
          เพชรไพริน อาศัยอยู่กับ นางทองขาน   ประทิตังโข อายุ 64 ปี  ผู้เป็นยายมาตั้งแต่เกิด ขณะที่บิดาของเด็กหญิงรายนี้เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนรายได้ที่จุนเจือในครอบครัวขณะนี้ มาจาก น้ำพักน้ำแรงของมารดาของ เพชรไพริน ที่ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ซึ่งส่งเสียมาตั้งแต่เกิด  โดยมีนางทองขาน ทำหน้าที่ดูแลหลาน
 
          ทุกเช้าเมื่อไปส่งที่โรงเรียนแล้ว นางทองขาน  ก็จะไปทำไร่ ทำนา ตามวิถีชีวิต  กรณีการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก จึงทำให้ นางทองขานรู้สึกวิตกกังวลถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
 
          "เป็นกังวลไปหมดทุกเรื่อง ความปลอดภัย อุบัติเหตุ ทั้งค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าเดินทางของ ทั้งยายและหลาน หลานยังเด็กมาก หากต้องไปโรงเรียนที่ไกลบ้าน  ก็ต้องเดินทางไปส่งเอง  แต่ยายแก่มากแล้ว จะให้ขึ้นรถเดินทางก็คงจะไม่ไหว หลานเองก็ไม่อยากจะไปโรงเรียนในเมือง  หวังว่าจะไม่มีการยุบโรงเรียนตามที่รัฐบาลออกประกาศ  ยังคงต้องการให้มีโรงเรียนในหมู่บ้านเหมือนเดิม" นางทองขาน กล่าว
 
          ไม่ต่างจาก นางกนกพร  คุณสีขาว  เพื่อนบ้านหมู่บ้านเดียวกันที่แสดงความกังวลว่า หากต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็ก บุตรสาว ซึ่งเรียนอยู่ที่โรงเรียนบ้านโสกยาง ก็ต้องย้ายไปเรียน ใน อ.วาปีปทุม ไกลจากบ้านถึง  7 กิโลเมตร  ความเป็นห่วงและความวิตกกังวลถึงปัญหา ที่จะเกิดขึ้น จากประเด็นนี้ ทำให้ "กนกพร" หันมาสนใจการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีความทัดเทียมกับโรงเรียนในตัวเมืองหรือในจังหวัด โดยเป็นแกนนำพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยชุมชน  เพื่อต่อลมหายใจให้กับโรงเรียนขนาดเล็กที่ก่อตั้งมากว่า 57 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีครู 5 คน  และมีนักเรียน 35 คน
 
          "ตลอด 4 เดือนได้ยินกระแสการยุบโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองสนใจและจับกลุ่ม คุยกันมากขึ้น  ทุกคนไม่ยอมรับแนวคิดในการ ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก  สิ่งที่ชาวบ้านทำได้คือ การรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย  เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน พัฒนาโรงเรียนในด้านวิชาการ ส่วนชุมชนจะใช้ภูมิปัญญาให้ลูกหลานได้เรียนรู้วิชาชีวิต ทั้งสอนทำอาหาร ทอเสื่อ ทอผ้า โครงการเกษตรน้อยในโรงเรียนเล็ก เข้ามาช่วยสอนลูกหลานของเรา สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครอง จะทำให้นำ ลูกหลานกลับมาเรียนในชุมชนเหมือนเดิม" นางกนกพร กล่าว
 
          หนึ่งปีแล้วที่โรงเรียนบ้านหนองอ้อน้อย ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น  ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กปิดตัวลง หลังจากมีนักเรียนอยู่เพียง 4 คน สภาพโรงเรียน อาคารเรียน  อาคารพักครู โรงอาหาร วันนี้จึงถูกทิ้งร้างทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เหลือเพียงร่องรอยโรงเรียนในความทรงจำ
 
          ก่อนจะถูกยุบโรงเรียน ครูได้อธิบายกับนักเรียนและผู้ปกครองถึงความจำเป็น  พร้อมจัดหาโรงเรียนใกล้บ้านให้เป็นที่เรียนใหม่  โดย ด.ช.อุเทน ดอนมะโฮง อายุ 12 ปี  เป็นนักเรียนคนสุดท้ายที่ย้ายไปเรียนต่อในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่โรงเรียนบ้านกุดกว้าง ในตำบลเดียวกัน
 
          นางหลอด  คำอ้อ  ผู้เป็นแม่ บอกว่า  บ้านอยู่ติดกับรั้วโรงเรียนเก่า แต่พอต้องย้ายไปเรียนที่ใหม่แม้จะห่างไปเพียง 1 กิโลเมตร ทุกเช้าลูกจะขี่รถจักรยานไปโรงเรียนเอง  รู้สึกกังวลใจ  แม้ไม่ไกลแต่ก็กลัวเรื่องอันตราย ไกลหูไกลตา คิดไปต่างๆ นานา กลัวกระทั่งเรื่องการขโมยเด็ก
 
          " รู้สึกใจหายที่เห็นโรงเรียนในชุมชนถูกยุบ  คนขับรถผ่านไปมาก็มอง และสอบถามสาเหตุ  โรงเรียนถูกยุบก็เหมือนบ้านไม่มีคนอยู่ เหมือนบ้านร้าง  นับวันก็ทรุดโทรมไปตามเวลา"
 
          การนับถอยหลังรอวันเวลาโรงเรียนถูกยุบ เท่ากับยอมรับคำตัดสินการชี้ชะตาในการก้าวเดิน ซึ่งสำหรับชาวบ้านและผู้บริหารทางการศึกษากลุ่มหนึ่ง เลือกที่จะไม่ให้มีวันนั้น ด้วยการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กในภาคอีสาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ตั้งแต่มีกระแสข่าวว่าจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กเมื่อ 14 ปีที่แล้ว
 
          โรงเรียนฮ่องแฮพยอมหนองม่วง อ.ปทุมรัตต์  จ.ร้อยเอ็ด เป็นตัวอย่างหนึ่งของโรงเรียนที่พยายามทำให้ตัวเองรอดจากการ ถูกยุบ "เสน่ห์ เสาวพันธ์" ผู้อำนวยการโรงเรียน ในฐานะผู้ประสานงานโรงเรียนขนาดเล็กภาคอีสาน บอกว่า โรงเรียนต้องช่วยเหลือตัวเอง โดยได้ร่วมกับทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจุบัน รวมถึง ชาวบ้านในชุมชนจัดวันคืนสู่เหย้า "74 ปี  ฮ่องแฮพยอมหนองม่วงคืนสู่เหย้า" ได้เงินบริจาคกว่า  1 ล้านบาท ซึ่งไม่มากแต่ก็เพียงพอสำหรับนำมาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาการศึกษา
 
          เงินบางส่วนนำมาจัดจ้างครู จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่โดยโรงเรียน ส่วนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเรื่อง พื้นฐานชีวิต มีผู้ปกครองอาสา  ครูภูมิปัญญา สอนเรื่องหมอลำ  การทอผ้า  การย้อมสีธรรมชาติ เป็นการต่อลมหายของโรงเรียนขนาดเล็กโดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐ
 
          "รัฐต้องมองใหม่ว่าโรงเรียนขนาดเล็กไม่ใช่ปัญหาในการพัฒนาการศึกษา   แต่ปัญหาที่แท้จริงเกิดจากนโยบายของกระทรวงที่เน้นให้การศึกษาเป็นเรื่องของการแข่งขัน  มีโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล หรือโครงการโรงเรียนดีประจำอำเภอ เป็นการแบ่งเกรดให้กับโรงเรียน เกิดการเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนด้วยกัน   รัฐไม่มีมิติในด้านอื่นๆ ทั้งความสัมพันธ์ของชุมชน  เด็กกับโรงเรียน การหล่อหลอมที่เกิดขึ้นในชุมชน  เมื่อเด็กต้องย้ายไปเรียนที่อื่นจิตสำนึกที่มีต่อชุมชนก็จะหายไปด้วย"ผู้อำนวยการโรงเรียน แห่งนี้กล่าว
 
          'รู้สึกใจหายที่เห็นโรงเรียนในชุมชนถูกยุบ โรงเรียนถูกยุบก็เหมือนบ้านไม่มีคนอยู่ นับวันก็ทรุดโทรมไปตามเวลา'
          หลอด คำอ้อ
 
 
  • 22 พ.ค. 2556 เวลา 14:21 น.
  • 2,609

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^