LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

ลดการบ้าน"สพฐ.สั่ง-ครูทำ" หลายฝ่ายยกมือเห็นด้วย แต่ยังติงต้องชัดเจนภาคปฏิบัติ รู้นัย"การบ้านคืออะไร"

  • 31 ม.ค. 2556 เวลา 07:22 น.
  • 2,717
ลดการบ้าน"สพฐ.สั่ง-ครูทำ" หลายฝ่ายยกมือเห็นด้วย แต่ยังติงต้องชัดเจนภาคปฏิบัติ รู้นัย"การบ้านคืออะไร"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ.ไม่แคร์เสียงวิพากวิจารณ์ สั่งลดการบ้านเด็กไร้ระบบ ยันทำตามนโยบายของ รมว.ศธ. ส่วนแนวทางปฏิบัติให้โรงเรียนไปพิจารณาบริหารจัดการกันเอง ส่วนกลางเพียงให้นโยบายเท่านั้น "ชินภัทร" โวเปิดเทอมใหม่เด็กต้องมีความสุขมากขึ้นแน่ ด้านนักวิชาการเห็นด้วย แต่ติงควรลดแบบมีแบบแผน ทำความเข้าใจกับครูว่าลดการบ้านเท่ากับลดจำนวนชิ้นงาน แต่ทักษะความรู้ต้องเพิ่มขึ้น ไม่อย่างนั้นกลายเป็นทำร้ายเด็กทางอ้อม "พงศ์เทพ" ระบุ ม.ปลายห้ามลด แต่ประถมลดได้ สอน สพฐ.ต้องชัดเจนว่าการบ้านคืออะไร 
 
    คำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ให้โรงเรียนในสังกัดปรับลดการให้การบ้านเด็กนักเรียน อีกทั้งลดการสอบวัดผลนักเรียนให้เหลือเท่าที่จำเป็น โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษาแรกของปี 2556 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อลดความเครียดเด็ก ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายทั้งครูและผู้ปกครอง โดยเฉพาะความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ ซึ่งแม้ว่าในเบื้องต้นทาง สพฐ.จะมอบให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาไปจัดทำคู่มือบูรณาการหลักสูตรครบวงจรให้แล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย.56 จากนั้นจะจัดอบรมครูเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไปก็ตาม 
 
    นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ชี้แจงอีกครั้งว่า การสั่งปรับลดให้การบ้านนักเรียนสอดคล้องกับการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา เป็นไปตามนโยบายของนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ ที่เคยกล่าวไว้ว่าเด็กไทยเรียนมาก แต่รู้น้อย ทาง สพฐ.จึงได้นำแนวความคิดเชิงนโยบายมาวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใดบ้าง สมมติฐานว่าทั้งเนื้อหาวิชาและเวลาเรียนต่อวันเรามีมาก ยิ่งหากมาดูในห้องเรียน เรื่องการสั่งการบ้านที่ครูแต่ละวิชาให้แต่ละวัน รวมถึงการประเมินผลต่างๆ ทั้งจากระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ ซึ่งเป็นความหวังดีของผู้ใหญ่ แต่สุดท้ายกลับเป็นภาระเด็ก
 
    เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ดังนั้นเราจึงคิดว่าหากไม่ให้เกิดสภาวะเรียนมาก แต่รู้น้อย แสดงว่าการเรียนควรเรียนเท่าที่จำเป็น แต่ได้ผลมากกว่า ซึ่งเราก็เทียบเคียงกับการประเมินนักเรียนนานาชาติ หรือพิซา ที่เป็นการทดสอบนักเรียนอายุ 15 ปีทั่วโลก เพื่อดูว่าเด็กประเทศไหนมีคุณภาพและมีความพร้อมมากกว่ากัน ขณะที่พิซาก็ทดสอบสมรรถนะเด็ก 3 ด้าน คือ การอ่านภาษา การคิดคำนวณ และด้านวิทยาศาสตร์ ก็แสดงว่าการวัดผลเรื่องดังกล่าวเป็นการวัดผลหลักที่สำคัญ ขณะที่เราก็นำแนวทางดังกล่าวมาประกอบกัน ได้แนวทางว่าจากนี้ไปจะมีการบูรณาการมากขึ้น ทั้งการจัดการเรียนการสอนที่ครูในกลุ่มสาระต่างๆ จะสอนบูรณาการกันได้ รวมไปถึงการให้การบ้าน อย่างกรณีที่ผ่านมา ครูทั้ง 8 กลุ่มสาระให้การบ้านพร้อมกันหมด เด็กก็จะมีการบ้านมากมายมหาศาล แต่หากครูมีการพูดคุยกันก่อนว่า ภาคการศึกษานี้จะสอนเรื่องอะไรบ้าง รวมถึงการบ้านที่ให้นักเรียนไปค้นคว้าจะมีกี่เรื่อง ก็ทำให้ครูแต่ละกลุ่มสาระสามารถประเมินนักเรียนได้อย่างเพียงพอ อย่างการบ้านที่จะให้จาก 8 ส่วน ต่อไปก็อาจลดเหลือ 3 ส่วน หรือ 4 ส่วน
 
    “เปิดภาคการศึกษาที่ 1/2556 ในเดือน พ.ค.56 เด็กจะมีความสุขมากขึ้น ในแง่ทำการบ้านเท่าที่จำเป็น ไม่ซ้ำซ้อน ขณะที่ครูวิชาต่างๆ ต้องมาคุยและวางแผนกันก่อนในการให้การบ้าน ดังนั้นต่อไปนี้จะเป็นการบูรณาการครบวงจรทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม จุดสมดุลของการให้การบ้านอยู่ที่โรงเรียนเป็นผู้กำหนดรายละเอียด เพราะ สพฐ.ไม่ได้บอกว่าให้ลดเท่านั้นเท่านี้ เพียงจะบอกแนวทางเพื่อเป็นนโยบายไว้ก่อน” นายชินภัทรกล่าว
    ขณะที่ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เพราะจากข้อมูลจาก สสส.พบว่านักเรียนในปัจจุบันมีความเครียดที่เกิดจากหลายสาเหตุ อย่างภาระการบ้านมหาศาลก็เป็นหนึ่งในปัจจัย ดังนั้นหากสามารถปรับลดการบ้านลงได้ ก็สามารถลดความเครียดของนักเรียนได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คิดว่าการให้การบ้านควรปรับให้สมดุลและเหมาะสม คือการบ้านสามารถลดลงได้ แต่ไม่ควรหายไปทั้งหมด เพราะยังมีความสำคัญ
 
    ด้าน ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการลดการบ้านให้นักเรียน เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่านักเรียนมีการบ้านจำนวนมาก เนื่องจากครูในแต่ละวิชาต่างก็ให้การบ้านในวิชาของตนเอง และไม่ใช่ให้เพียงชิ้นเดียว แต่ให้หลายชิ้น ทำให้นักเรียนต้องทำการบ้านมาก ไม่มีเวลาทำกิจกรรมและอ่านหนังสือ ฉะนั้นคำสั่งดังกล่าวจะช่วยให้นักเรียนมีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น แต่ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติต้องชัดเจนด้วยว่า เมื่อลดการบ้านแล้ว ทักษะองค์ความรู้ของเด็กก็ต้องไม่ถูกลดด้วย ไม่เช่นนั้นครูอาจมองว่าการลดการบ้าน ลดชิ้นงาน อาจรวมไปถึงลดทักษะความรู้นักเรียนด้วย 
 
    “สพฐ.จะต้องทำความเข้าใจกับครูว่า การลดการบ้านคือการลดจำนวนชิ้นงาน แต่ทักษะความรู้ต้องเพิ่มขึ้น โดยครูในแต่ละสาขาวิชาต้องมาพูดคุยทำความเข้าใจ และบูรณาการความรู้ในแต่ละวิชาร่วมกัน ซึ่งหากทำได้จะเป็นการช่วยให้เด็กได้คิดวิเคราะห์แบบบูรณาการได้ อย่างไรก็ตาม การบ้านถือเป็นการฝึกปฏิบัติให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ มีเหตุมีผล และเข้าใจในแต่ละวิชามากขึ้น ดังนั้น สพฐ.ต้องดูให้ละเอียดรอบคอบด้วยว่าการลดการบ้านจะไม่ส่งผลต่อการลดทักษะเด็ก เพราะหากครูไม่เข้าใจ ต่างคนยังต่างให้การบ้าน ลดเพียงจำนวนชิ้นงาน และทักษะความรู้เด็กลดไปด้วย การลดการบ้านจะกลายเป็นการทำร้ายเด็กทางอ้อม” ศ.ดร.ศิริชัยกล่าว
 
    นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมองภาพรวม อย่าพูดเป็นจุดๆ เพราะนักเรียนแต่ละวัย แต่ละระดับชั้นไม่เหมือนกัน เช่น นักเรียนระดับประถมศึกษาไม่ควรจะต้องมีการเรียนอะไรมาก และไม่ควรมีการบ้านเยอะ แต่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่จะต้องทุ่มเทเพื่อการสอบเข้าเรียนต่อ จะมีความแตกต่างจากระดับอื่น เป็นต้น ดังนั้นจะมาลดการบ้านเหมือนกันทั้งหมดไม่ได้ นอกจากนี้ คำว่าการบ้านควรจะต้องมากำหนดว่าเป็นการบ้านอะไร เพราะการบ้านบางอย่างทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าเป็นการบ้าน อย่างครูให้นักเรียนอ่านหนังสือสัปดาห์ละสองเล่ม แบบนี้จะถือว่าเป็นการบ้านหรือไม่ ดังนั้นตนอยากให้มีการแยกแยะเรื่องนี้ให้ชัดเจน.
 
 
 
  • 31 ม.ค. 2556 เวลา 07:22 น.
  • 2,717

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ลดการบ้าน"สพฐ.สั่ง-ครูทำ" หลายฝ่ายยกมือเห็นด้วย แต่ยังติงต้องชัดเจนภาคปฏิบัติ รู้นัย"การบ้านคืออะไร"

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^