LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5 18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ

รมว.ศธ. พร้อมผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 11/2565

  • 29 พ.ย. 2565 เวลา 11:09 น.
  • 1,259
รมว.ศธ. พร้อมผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 11/2565

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

รมว.ศธ. พร้อมผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 11/2565

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยนายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 11/2565 โดยมี ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธาน พร้อมทั้งผู้บริหารของ สพฐ. และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

ทั้งนี้ ที่ประชุม กพฐ. ได้เห็นชอบการแยกรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ออกมาเป็น 1 รายวิชาอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะอยู่ในร่างประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน" พร้อมกับพิจารณาแนวทางขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นแนวทางให้ต้นสังกัดของสถานศึกษา และสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. ได้กล่าวภายหลังการประชุมว่า การเรียนการสอนประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เยาวชนเกิดความตระหนักรู้ในเรื่องการรักชาติ และเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ จึงให้แยกประวัติศาสตร์ออกมาเป็นวิชาหนึ่ง โดยสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาคือ นักเรียนจะได้อะไรจากการเรียนประวัติศาสตร์ ดังนั้นในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ การท่องจำจึงไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติของเรา จึงต้องมุ่งเน้นให้เด็กรุ่นใหม่มีความตื่นตัว มีความเข้าใจถึงบรรพบุรุษของเราที่ได้เสียสละ และผ่านวิกฤตในช่วงต่างๆ โดยมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้คุณครูของเรา สามารถทำให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ ไม่ได้เน้นในเรื่องของการท่องจำอย่างเดียว โดยใช้ Active Learning และสื่อต่างๆ เข้ามาร่วมด้วย ให้เด็กเกิดความสนุก ไม่น่าเบื่อ ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ และสามารถนำไปต่อยอดได้ โดยดูว่าในอดีตบรรพบุรุษของเรา ได้ทำอะไรมาบ้าง อะไรที่ผิดพลาดหรืออะไรที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะต่อยอดไปถึงความมั่นคงของชาติในอนาคตได้ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติ จึงได้ให้ที่ประชุม กพฐ. พิจารณาดูแนวทาง ทั้งเรื่องของการพัฒนาครู หรือเรื่องการจัดการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยน่าสนใจ และทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นการออกแบบโครงสร้างการเรียนในรูปแบบใหม่ โดยไม่ได้เพิ่มชั่วโมงเรียนแต่อย่างใด

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจ ประชาสัมพันธ์ สพฐ. วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565
  • 29 พ.ย. 2565 เวลา 11:09 น.
  • 1,259

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^