LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

จากใจ“ครูอนุบาล” ปมเรียนออนไลน์ ไม่เวิร์ก-สงสารใจเด็ก

  • 15 พ.ค. 2564 เวลา 15:22 น.
  • 8,448
จากใจ“ครูอนุบาล” ปมเรียนออนไลน์ ไม่เวิร์ก-สงสารใจเด็ก

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จากใจ“ครูอนุบาล” ปมเรียนออนไลน์ ไม่เวิร์ก-สงสารใจเด็ก
ครูสาวเล่าใจจากหัวใจ ปมเรียนออนไลน์ “เด็กอนุบาล” ชี้ทำแบบนี้ไม่ได้ เพราะมันไม่เวิร์ก เปรียบเหมือนเอารองเท้าของผู้ใหญ่ไปใส่ให้ มันจะล้ม ลั่นเด็กทั่วประเทศไม่เหมือนกันนะ

เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บนโลกออนไลน์มีเกิดการแชร์เรื่องราวจากสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณครูสอนเด็กอนุบาล ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า “อยากเล่าในฐานะครูอนุบาล ไม่ใช่ครูของพี่ประถม มัธยม นิสิตนักศึกษา ครูประจำการ  แต่เป็นครู-อนุบาล ที่อยู่กับมนุษย์ตัวจิ๋ว สูงไม่ถึง 130 ซม. และบางทียังร้องไห้ เวลาหมาเห่าเสียงดัง หรือไอติมละลายเร็วเกินไป เข้าใจตรงกันนะ คือ บางทีก็สงสัยว่า คนที่คิดนโยบายเปิด-ปิด โรงเรียน เขาจะรู้ไหมนะ ว่า….
 
ตอนที่เด็กๆมาโรงเรียน เขาไม่ได้สนิทกับครู สนิทกับของเล่น สนิทกับห้องเรียนทันทีนะ เขาต้องการเวลาเตรียมตัว เตรียมใจ และต้องค่อยๆสานสัมพันธ์กัน ทีนี้พอเปิดๆปิดๆ โดยไม่ได้นึกถึงความจริงข้อนี้ บางทีมันก็ทำให้สายสัมพันธ์ของเด็กกับครูมันต้องเริ่มต้นใหม่บ่อยๆ มันไม่ดีต่อสุขภาพใจของพวกเราเลยนะ



ตอนที่เด็กร้องไห้จ้า คิดถึงพ่อแม่ หากระติกน้ำไม่เจอ เพื่อนแย่งของเล่น แล้วเขาวิ่งมากอดเราไม่ได้ เราก็เข้าไปปลอบเขาใกล้ๆไม่ได้ นี่มันทำใจยากทั้งสำหรับครูและเด็กนะ
 
ตอนที่เด็กเล็กๆร้องไห้เพราะอึดอัดที่ต้องใส่หน้ากากตลอดเวลา เจ็บหู หายใจลำบาก แล้วหันมาถามเราว่า “หนูขอถอดตอนไปวิ่งเล่นข้างนอกได้ไหม” มันก็ทำใจยากมากเช่นกันนะ
 
ตอนที่เด็กกินขนม ของว่าง อาหารกลางวันแล้วอาหารครึ่งหนึ่งตกลงไปในหน้ากากที่ห้อยอยู่เนี่ย มันก็เลอะแบบ เลอะมากจริงๆนะ
 
ตอนที่เด็กๆจะกินขนม ดื่มน้ำ ดื่มนม แล้วพยายามเอาเข้าปากโดยลืมไปว่าใส่หน้ากากอยู่ มันก็เป็นอะไรที่น่าเอ็นดูมากเลยนะ
 
ตอนที่เด็กๆเอาหน้ากากมาลายเหมือนๆกัน ที่ห้อยหน้ากากเหมือนๆกัน ขนาดเท่าๆกัน มันก็ทำให้ครูงงมากจริงๆนะ
 
ตอนที่เด็กๆไม่กล้าเล่นอะไรเลย ไม่กล้าให้มือเลอะอะไรที่เราเตรียมไว้ให้เขาเล่นเลย เพราะกลัวเชื้อโรคติดมือ มันก็ทำให้เราต้องหาวิธีอธิบายเรื่องความสะอาดร้อยแปดเหมือนกันนะ

ตอนที่เด็กน้อยยิ้มแก้มตุ่ย ตาโต แล้ววิ่งมาบอกเราว่า “ครูขา หนูมีความลับจะบอก” พร้อมป้องปากกระซิบข้างหูทั้งๆที่ใส่หน้ากากอยู่  ถึงเราจะต้องพยักหน้าเออ ตาโตดีใจที่เขาไว้ใจเรามาก แต่บางทีมันก็แทบไม่ได้ยินอะไรเลยจริงๆนะ



ตอนที่เด็กๆ หน้าจ๋อยเพราะอยากเดินไปกอดเพื่อนรัก แต่เราต้องจับเขาแยก มันก็จะทำให้เรารู้สึกจ๋อยๆไปด้วยเหมือนกันนะ
 
ที่สำคัญ ตอนสอนโดยที่ใส่หน้ากากทั้งวัน แถมต้องวิ่งตามเจ้าตัวเล็กเรื่อยๆ ในอากาศเมืองไทยเนี่ย บางทีครูก็เกือบจะเป็นลมเหมือนกันนะ
 
อันนี้พีกมาก ตอนที่เด็กๆ ไอ - จาม - ดูซึมๆ ไม่อยากเล่นกับเพื่อน - ทานข้าวน้อย - แมลงกัดแขนเป็นตุ่ม แล้วเขาบอกไม่ได้เหมือนคนโตๆ ว่าตกลงแล้วร่างกายเขาเป็นอะไร มัน “เครียดและลุ้น” มากเลยนะ ว่าตกลงแล้วเด็กๆของเราเป็นอะไร ติดหรือยังนะ เด็กคนอื่นจะติดไหมนะ พี่เลี้ยงของเด็กๆเขาไปสถานที่เสี่ยงมาไหมนะ ถ้าเขามีปู่ย่าตายายที่บ้านแล้วดันเอาไปติดกันต่อ จะทำยังไงดีนะ แล้วครูเนี่ย นั่งภาวนาทุกวัน อย่าให้ตัวเองเป็นคนเอาไปติดเด็กเชียวนะ!!
 
อ้อ แล้วอีกข้อ ตอนที่บอกว่าจะให้เด็กจิ๋วๆ เรียนออนไลน์ให้ครบตามแผนของโรงเรียนโดยไม่ดูความพร้อมของเด็กและครอบครัวเลยเนี่ย มันก็อยากจะชวนให้คนวางนโยบายมานั่งเรียนด้วยกันจริงๆ เลยนะ
 
ที่พยายามจะบอกก็คือ เด็กจิ๋วๆเขาไม่เหมือนพี่นักเรียนตัวโตๆนะ ไม่ต้องใช้นโยบาย หลักเกณฑ์ กฎเกณฑ์ในการดูแลเขาเหมือนที่ใช้กับพี่โตๆก็ได้ เพราะมันไม่เวิร์ก เอารองเท้าของผู้ใหญ่ ไปให้เด็กอนุบาลใส่ เด็กๆเขาเดินไม่ถนัดหรอก จะพาเขาล้มเอาเปล่าๆ
 
ถ้าเด็กเขาไม่พร้อม ครอบครัวเขาไม่พร้อม เราอาจจะต้องปรับตัว ปรับใจ ปรับแนวทางกันใหม่กันดูบ้างไหม ไม่ต้องทำให้เหมือนกันทั่วประเทศก็ได้นะ เพราะบริบทโรงเรียน บุคลากร ครอบครัว และเด็กทั่วประเทศไม่ได้เหมือนกันหรอก และเราคิดว่าหลายๆคนพร้อมจะเข้าใจ ที่สำคัญ มันอาจจะมีความสุขขึ้นสำหรับเด็กและครอบครัวนะ

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือิพมพ์เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.48 น.
  • 15 พ.ค. 2564 เวลา 15:22 น.
  • 8,448

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^