LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

5 คำถามจาก(ร่าง)พรบ.การศึกษาแห่งชาติ: สัญญาณความถดถอยของการศึกษาไทย?

  • 14 เม.ย. 2564 เวลา 22:16 น.
  • 7,474
5 คำถามจาก(ร่าง)พรบ.การศึกษาแห่งชาติ: สัญญาณความถดถอยของการศึกษาไทย?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

#####๕ คำถามจาก(ร่าง)พรบ.การศึกษาแห่งชาติ: สัญญาณความถดถอยของการศึกษาไทย?
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

๑.จากบทความจาก”ผู้อำนวยการ” สู่ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร? ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริหาร โพสต์เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๔ มีผู้แชร์ ๒๓๕ ครั้ง 

๒.จากบทความ ๕ คำถาม จาก”ใบอนุญาต” สู่ “ใบรับรอง” หรือความหมายจะวิบัติในกฎหมายการศึกษา? ที่ส่งผลกระทบต่อครู โพสต์เมื่อวันที่ “๑๐ เมษายน ๒๕๖๔ มีผู้แชร์ ๒๐๗ ครั้ง

จากจำนวนครั้งของการแชร์สองบทความข้างต้น แสดงว่ามีผู้สนใจ(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษา จำนวนพอสมควร. 

วันนี้ จึงขอเขียนบทความ มาตราที่ส่งผลกระทบต่อสภาวิชาชีพครูคือ”คุรุสภา” และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)
คำถามที่ ๑ การออกกฎหมายละเมิดอำนาจ “พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖” เป็นการกระทำที่สมควรกระทำหรือไม่? เพื่อผลประโยชน์ของบุคคลกลุ่มใด?
ที่มา (ร่าง) มาตรา ๔๐ กำหนด”ให้มีองค์กรของครู เรียกว่า “คุรุสภา” มีหน้าที่และอํานาจในการออก ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครูความเป็นครู การพักใช้ และการเพิกถอนใบรับรองการประกอบวิชาชีพครูความเป็นครู ดูแล ส่งเสริม ช่วยเหลือด้านสวัสดิการ และประโยชน์อื่นใด รวมตลอดทั้ง การพัฒนาครูใหญ่หัวหน้าสถานศึกษา ผู้ช่วยครูใหญ่หัวหน้าสถานศึกษา และครู ให้สอดคล้องกับ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ และหน้าที่อื่นที่จะยังประโยชน์ต่อครู ซึ่งต้องมิใช่หน้าที่และอํานาจในการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ใด เว้นแต่เป็นการต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา ๑๐๐”
##อะไรคือข้อกำหนดที่ ละเมิดกฎหมายและลดศักดิ์ศรีของสภาวิชาชีพครูคือ”คุรุสภา”?

(ร่าง) มาตรา ๑๐๐”วรรคสอง “ครูซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่และยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมาย ว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายดังกล่าว  หรือจะขอใบรับรองการประกอบวิชาชีพครูความเป็นครูตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ 

###กฎหมายมาตรา ๑๐๐ วรรคสองข้างต้น เสมือนกับเป็น”กฎหมายอภัยโทษ” ให้ครูที่ไม่มีคุณสมบัติตาม”พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖”โดย ให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติ เป็นการออกกฎหมายที่ละเมิดกฎหมายอื่น ที่มีศักดิ์เป็น”พระราชบัญญัติ”เท่าเทียมกัน ที่สำคัญคือ”การออกกฎหมายเยี่ยงนี้ สามารถกระทำได้หรือไม่? การออกกฎหมายที่ทำให้คนที่ทำผืดกฎหมายกลายเป็นคนที่ทำถูกกฎหมาย และบุคคลกลุ่มใดได้ผลประโยชน์?
คำถามที่ ๒ ลดศักดิ์ศรี “คุรุสภา” ในการเป็นสภาวิชาชีพทางวิชาการ ทำไม?
(ร่าง) มาตรา ๓๗ ครูซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) (ข) ต้องมีใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู ความเป็นครู เว้นแต่ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาหนึ่งวิชาใดเป็นการเฉพาะตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด

ภายใต้บังคับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ การกําหนดมาตรฐานความเป็นครู การออก การพักใช้ และการเพิกถอนใบรับรองการประกอบวิชาชีพครูความเป็นครู และการปฏิบัติตาม มาตรฐานและจรรยาบรรณของความเป็นครูให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่คุรุสภาต้องนําผล การศึกษาวิจัยตามมาตรา ๓๖ มาเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งในการออกใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู ความเป็นครู

#ผลการศึกษาวิจัยตามมาตรา ๓๖ มาจากไหน?
(ร่าง) มาตรา ๓๖ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและสํานักงานกองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกันจัดให้มีการศึกษาและวิจัยหาต้นแบบ กระบวนการ และวิธีการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนในการผลิตครู ที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) รวมตลอดทั้งวิธีการในการพัฒนาศักยภาพครูให้สูงขึ้นและทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ ได้

ความในวรรคหนึ่งไม่เป็นการตัดอํานาจหรือสิทธิของสถาบันอุดมศึกษาในการศึกษา และวิจัยตามหน้าที่ของตน

###ทำไมจึงเป็นการ”ลดศักดิ์ศรีคุรุสภา”หรือทำให้”คุรุสภาไร้ศักดิ์ศรี”? 
เนื่องจากคุรุสภาเป็นสภาของวิชาชีพครู ควรที่จะต้องพัฒนาองค์กรวิชาชีพครูให้เข้มแข็งด้วยตนเอง โดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาด้วยงานวิจัย ที่สามารถจะใช้พลังของครูที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่น้อยกว่าแปดแสนคน ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กร และศักยภาพครูให้เข้มแข็งได้ แต่(ร่าง)กฎหมายฉบับนี้กลับกำหนดให้ต้องพึ่งพาคณะกรรมการนโยบายและสํานักงานกองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งโดยนัยยะคือ “การวิจัยทางการศึกษาจะต้องเป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการฯ”รวมทั้งงบประมาณด้วย
คำถามที่ ๓.(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..........” ยึดอำนาจอะไรบ้างจากคุรุสภา?
#เปรียบเทียบ “(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..........” กับ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒”
##๑.(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.........
มาตรา ๔๐ ให้มีองค์กรของครู เรียกว่า “คุรุสภา” มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
      (๑) ออกใบรับรองการประกอบวิชาชีพครูความเป็นครู 
      (๒) การพักใช้ และการเพิกถอนใบรับรองการประกอบวิชาชีพครูความเป็นครู 
      (๓) ดูแล ส่งเสริม ช่วยเหลือด้านสวัสดิการ และประโยชน์อื่นใด 
      (๔) รวมตลอดทั้ง การพัฒนาครูใหญ่หัวหน้าสถานศึกษา ผู้ช่วยครูใหญ่หัวหน้าสถานศึกษา และครู ให้สอดคล้องกับ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ และ
      (๕) หน้าที่อื่นที่จะยังประโยชน์ต่อครู

##๒.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒”
มาตรา ๕๓ ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา
      (๑) มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง 
      (๒) มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ 
      (๓) ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 
      (๔) กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ 
      (๕) รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
      (๖) ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด
      (๗) การจัดให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น 
      (๘) คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

###สรุป .(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.........ยึดอำนาจและหน้าที่ของคุรุสภาไปจากกฎหมายฉบับเดิม คือ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒” ดังต่อไปนี้
      (๑) คุรุสภาไม่มีฐานะเป็นองค์กรอิสระอีกต่อไป
      (๒) คุรุสภาไม่มีอำนาจและหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ อีกต่อไป
      (๓) คุรุสภาไม่มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ อีกต่อไป
      (๔) คุรุสภาไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการพัฒนาวิชาชีพ อีกต่อไป
      (๕) คุรุสภาไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ อีกต่อไป และ
      (๖) คุรุสภาไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น อีกต่อไป
 
คำถามที่ ๔ (ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ........ยึดอำนาจและหน้าที่ไปจากคุรุสภาด้วยกฎหมายมาตราใดบ้าง?
กฎหมายที่ยึดอำนาจไปจากคุรุสภา มีดังต่อไปนี้
      (๑) มาตรา ๓๗ วรรคสาม “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู ความเป็นครูให้ใช้ได้ตลอดไป แต่ครูต้องเข้ารับการ พัฒนาตามระยะเวลาที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น
สรุป ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูใช้ได้ตลอดชีพ ไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขการต่ออายุใบอนุญาตอีกต่อไป 
หมายเหตุ ประเด็นนี้ครูอาจจะชอบ 

มาตรา ๓๘ วรรคสอง ครูใหญ่หัวหน้าสถานศึกษานอกจากต้องเคยทําหน้าที่ครูมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปีและ ผู้ช่วยครูใหญ่หัวหน้าสถานศึกษามาแล้ว ต้องมีความรู้ด้านการบริหารศึกษา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของครู “แต่จะกําหนดเงื่อนไขให้ต้องได้รับใบอนุญาตมิได้”

สรุป หัวหน้าสถานศึกษา(ผู้บริหารสถานศึกษา) ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้บริหารการศึกษา(ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา)ก็ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาด้วย
หมายเหตุ ประเด็นนี้ผู้เกี่ยวข้องอาจจะชอบ 

มาตรา ๖๘ วรรคห้า ศึกษานิเทศก์ต้องแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเคยเป็นครูใหญ่หัวหน้าสถานศึกษา ผู้ช่วยครูใหญ่ หัวหน้าสถานศึกษา หรือครูมาแล้วตามระยะเวลา และตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่จะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องได้รับใบอนุญาตมิได้
สรุป ศึกษานิเทศก์ก็ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ด้วย
หมายเหตุ ประเด็นนี้ศึกษานิเทศก์อาจจะชอบ

หมายเหตุ นอกจากยึดอำนาจจากคุรุสภาแล้ว(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..........” ฉบับนี้ ยังมีเจตนายุบเลิกการมี”องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู  คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)


โดยการไม่กำหนดให้มีหน่วยงานเช่นเดียวกับ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒”ที่กำหนดในมาตรา  ๕๔  “ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูโดยยึดหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด”



สิ่งที่(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.......ควรกำหนดคือการสร้างความเข้มแข็งโดยออกกฎหมายให้ คุรุสภา”เป็นสภาวิชาชีพครูโดยแท้จริง” มิใช่เป็น”เป็นสภาของผู้ประกอบวิชาชีพครู” และยกระดับให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)เป็นหน่วยงานหลัก แยกออกมาจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
 
คำถามที่ ๕ เหตุใด(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..........จึงมีเจตนายึดอำนาจคุรุสภา ซึ่งเป็นสภาวิชาชีพครู และและยุบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)?
คำตอบคำถามนี้ คงต้องอนุมานจากบทบาทของทั้งสองหน่วยงาน ที่ควบคุมกำกับและมีอำนาจหน้าที่ ในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและการเข้าสู่ตำแหน่งของครู  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวนไม่น้อยกว่าแปดแสนคนทั่วประเทศ

#####ถ้าลดบทบาททั้งสองหน่วยงานลง การเข้าไปกำกับแทรกแซงก็ทำได้ง่ายขึ้น ผลประโยชน์ในด้านอำนาจบารมีและผลประโยชน์อื่นก็จะมีมากขึ้นด้วย

โดยสรุป(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..........ฉบับนี้ มีจุดเด่นสามประการ คือ 
#หนึ่ง ลดความเข้มแข็งในการจัดการศึกษาของภาครัฐ
##สอง เอื้อประโยชน์ในการจัดการศึกษาของภาคเอกชน
###สาม สร้างเงื่อนไขในการบริหารจัดการการศึกษาของรัฐ โดยศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง


###รออ่านการวิเคราะห์(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ......... มาตราอื่นๆครับ ถ้าสนใจ
 

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา


รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
 
ขอบคุณเนื้่อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊ก รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก วันอังคารที่ 13 เมษายน 2564
 
  • 14 เม.ย. 2564 เวลา 22:16 น.
  • 7,474

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^