LASTEST NEWS

09 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 46 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 35 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

องค์กรประถม-มัธยม จับตากฤษฎีกาเคาะร่าง กม.ศึกษาชาติ ส่อกระทบเงินวิทยฐานะครูฯ

  • 01 เม.ย. 2564 เวลา 19:27 น.
  • 12,632
องค์กรประถม-มัธยม จับตากฤษฎีกาเคาะร่าง กม.ศึกษาชาติ ส่อกระทบเงินวิทยฐานะครูฯ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

นายกฯ ส.บ.ม.ท.เผย ที่ประชุมร่วม ‘กฤษฎีกา-สคคท.’ เคาะ! ร่าง กม.การศึกษาชาติ เปลี่ยนแปลงคำสำคัญ “ผอ.สถานศึกษา” เป็น “หน.สถานศึกษา”, “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบรับรองฯ” ยกเลิกคำ “การเป็นวิชาชีพชั้นสูง” ห่วง!เงินวิทยฐานะ ขรก.ครูฯหาย เหมือนพนักงานสอบสวน ตร.

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ประชุมร่วมกับตัวแทนสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (สคคท.) เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ที่เสนอโดย สคคท. มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการกฤษฎี เป็นประธานในที่ประชุม

ตนทราบมาว่า การประชุมครั้งนี้มีการอภิปรายเรื่องสำคัญและในที่ประชุมได้มีมติให้ใช้คำสำคัญตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังนี้

๑.ไม่ใช้ตำแหน่ง “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” แต่ให้ใช้ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” โดยให้หน่วยงานไปกำหนดชื่อเอง

๒.ไม่ใช้คำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แต่ให้ใช้คำว่า “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” โดยมีเหตุผลว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นการอนุญาตเป็นครั้งๆ ไป มีระยะเวลา มีหมดอายุ ครูต้องเสียเงินมาต่ออายุใบอนุญาตทุก ๕ ปี หรือตามที่กำหนดไว้

แต่หากเป็นใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู ผู้ที่จบการศึกษาด้านครูมีคุณสมบัติครบ ได้ใบรับรองความเป็นครู รับรองแล้วเป็นครูไปตลอด ถ้าไม่ทำความผิด

อย่างไรก็ตาม ตนมีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า ๑.อำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบร่างกฎหมายนั้น น่าจะมีหน้าที่เพียงตรวจสอบภาษาที่ใช้ให้เป็นภาษากฎหมายและตรงตามเจตนารมณ์ของผู้ร่าง และตรวจสอบว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าวมีความขัดแย้งกันเองหรือไปขัดแย้งกับกฎหมายอื่นที่กำลังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา น่าจะไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเปลี่ยนแปลงสาระของร่างกฎหมายที่มีการเสนอ จนเจตนารมณ์ของผู้ร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพยายามที่จะเปลี่ยนคำสำคัญในร่างกฎหมายที่ผู้ร่างเสนอไป โดยที่ไม่ได้มีเหตุผลในเรื่องของภาษากฎหมาย

หรือไม่ได้มีเหตุผลในเรื่องของสาระสำคัญของร่างกฎหมายว่า มีความขัดแย้งกันเอง หรือไปขัดแย้งกับกฎหมายอื่นที่กำลังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่นั้น ก็ไม่น่าจะมีอำนาจหน้าที่ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ และยังทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีเจตนาอะไรแอบแฝง

 
Advertisement



นายก ส.บ.ม.ท.กล่าวต่อว่า ความคิดเห็นของตนประการที่ ๒ คำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” เป็นคำที่สามารถใช้ในร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ เพราะคำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” และคำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ก็เป็นคำเดิมที่เคยมีอยู่ในกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงคำสำคัญว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” และเปลี่ยนแปลงคำสำคัญว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู”

กรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้เหตุผลว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็นการอนุญาตเป็นครั้งๆ ไป มีระยะเวลา มีหมดอายุ ครูต้องเสียเงินมาต่ออายุใบอนุญาตทุก ๕ ปี หรือตามที่กำหนดไว้ แต่หากเป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” ผู้ที่จบการศึกษาด้านครูมีคุณสมบัติครบ ได้ใบรับรองความเป็นครู รับรองแล้วเป็นครูไปตลอด ถ้าไม่ทำความผิดนั้น

ตนเห็นว่า เหตุผลดังกล่าวไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเห็นด้วยกับการเปลี่ยนจากคำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” เพราะหากคณะกรรมการกฤษฎีกามีความปรารถนาดี ก็สามารถกำหนดไว้ในร่างกฎหมายได้ว่า “การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้ชำระเพียงครั้งเดียว” ก็สามารถทำได้

ส่วนการให้ยกเลิกคำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” และให้ใช้คำว่า “หัวหน้าสถานศึกษา” โดยให้มีกฎหมายลำดับรองไปกำหนดตำแหน่งใหม่ตามความเหมาะสมต่อไปนั้น กรณีนี้ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลง และเป็นที่น่าสงสัยว่า การใช้คำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” ทำให้เกิดความเสียหายหรือขัดกฎหมายอะไร ที่สำคัญคำว่า “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” ใช้มาแล้วในกฎหมายการศึกษาแห่งชาติปัจจุบัน และไม่ได้สร้างความเสียหายใดๆ

นายรัชชัยย์เปิดเผยด้วยว่า นอกจากนี้ ทราบว่ายังมีการยกเลิกคำสำคัญที่เคยมีบัญญัติไว้ในมาตรา ๕๒ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ว่า ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานที่เหมาะสมกับ การเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยไม่มีเหตุผลว่า จะยกเลิกไปทำไม

“คำสำคัญที่หายไปหรือเปลี่ยนแปลงไปในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นคำว่าผู้อำนวยการสถานศึกษา, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ที่ได้รับเงินวิทยฐานะ จำนวน ๕,๖๐๐ บาท และได้รับเงินประจำตำแหน่งอีก จำนวน ๕,๖๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๑,๒๐๐ บาท”

ดังนั้น หากคำสำคัญดังกล่าวคำใดคำหนึ่งหายไปหรือเปลี่ยนแปลงไปในกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ อาจจะส่งผลให้ข้าราชการครูฯต้องถูกตัดเงินวิทยฐานะดังกล่าวออกไปหรือไม่ จะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ หรือไม่

นายรัชชัยย์กล่าวว่า ก่อนปี พ.ศ.๒๕๕๙ ข้าราชการตำรวจตำแหน่งพนักงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๙ คสช.ได้ปฏิรูปตำรวจ โดยให้ยกเลิกคำสำคัญว่า “พนักงานสอบสวน” ส่งผลให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งพนักงานสอบสวนไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง เนื่องจากคำสำคัญคือ “พนักงานสอบสวน” ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการได้รับเงินประจำตำแหน่ง ถูกยกเลิกไป

ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกากับตัวแทนสมัชชา สคคท.ในวันดังกล่าว เล่าให้ตนฟังว่า “ท่านถามหาว่าเงินของกระทรวงศึกษาธิการไปไหนหมด และท่านก็ตอบว่าเอาไปจ่ายค่าวิทยฐานะครู ค่าตอบแทนและเงินเดือนหมด จึงเป็นที่มาในเรื่องการอยากลดเงินครู”  

จากบทสนทนาดังกล่าว ถ้าเป็นเรื่องจริง และส่งผลกระทบทำให้ครูและผู้บริหารโรงเรียนทั้งประเทศต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่พึงได้จริง ก็อาจจะเกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงคำสำคัญในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติดังกล่าวหรือไม่ ก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

“ถ้าคำสำคัญที่หายไปหรือเปลี่ยนแปลงไปในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นคำว่าผู้อำนวยการสถานศึกษา, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง แล้วส่งผลกระทบทำให้ครูและผู้บริหารโรงเรียนต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่พึงได้จริง ส.บ.ม.ท. ในฐานะเป็นตัวแทนชาวมัธยมศึกษาทั้งประเทศ และ สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (สคท) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ จะร่วมกันคัดค้านให้ถึงที่สุด” นายรัชชัยย์ กล่าว

อนึ่ง ผู้สื่อข่าว สำนักข่าว EdunewsSiam เปิดเผยถึงจำนวนเงินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน ต้องใช้งบประมาณเดือนละราว 4 พันล้านบาท หรือใช้งบฯปีละเกือบ 5 หมื่นล้านบาท

โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยฐานะชำนาญการ จะได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ 3,500 บาท, วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ จำนวน 5,600 บาท และได้รับเงินประจำตำแหน่งอีก 5,600 บาท รวมเป็นเดือนละ 11,200 บาท

วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ จำนวน 9,900 บาท และได้รับเงินประจำตำแหน่งอีก 9,900 บาท รวมเป็นเดือนละ 19,800 บาท และ วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ จำนวน 12,000 บาท และได้รับเงินประจำตำแหน่งอีก 12,000 บาท รวมเป็นเดือนละ 24,000 บาท

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: สำนักข่าว EDUNEWSSIAM ONLINE วันที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 18:39 น.
  • 01 เม.ย. 2564 เวลา 19:27 น.
  • 12,632

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^