LASTEST NEWS

19 มี.ค. 2567“สุรินทร์” ผู้ช่วยเลขาธิการกพฐ.ป้ายแดง เผยการเลื่อนสอบบรรจุครู ว16 ว17 และ ว14 ไม่กระทบการเรียนการสอนของเด็ก ยืนยันบรรจุครูทันเปิดเทอมแน่นอน 17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ 

“สมศ.” สะกิดครูยุคใหม่ต้องเป็น “ไลฟ์โค้ช”

  • 17 ม.ค. 2563 เวลา 14:58 น.
  • 4,309
“สมศ.” สะกิดครูยุคใหม่ต้องเป็น “ไลฟ์โค้ช”

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“สมศ.” สะกิดครูยุคใหม่ต้องเป็น “ไลฟ์โค้ช”

เผยทักษะ 4 ด้านที่ต้องเติมให้เด็ก “ใช้เทคโนโลยีสอน – กระตุ้นระบบความคิด – สร้างทักษะชีวิต - เปลี่ยนครูเป็นผู้ชี้แนวทาง”


น.ส.ขนิษฐา ตั้งวรสิทธิชัย รักษาการผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวว่า ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การค้นคว้าข้อมูลทำได้อย่างกว้างขวางไม่จำกัดแค่ในหนังสือเรียนเหมือนที่ผ่านมา เพราะเด็กสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารค้นคว้าสิ่งต่างๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้ย่อมส่งผลดีกับเด็กนักเรียนในปัจจุบันมากกว่าในอดีต เพราะทำให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ที่อยู่ภายนอกห้องเรียนได้อย่างอิสระ รวมทั้งสามารถพัฒนาความรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็วตามโลกโชเซียล และยังสืบค้นข้อมูลได้เองบนอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่าการเรียนรู้ไร้พรมแดน

ด้วยเหตุนี้ ครูในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์หรือสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นกัน เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียน ในยุคศตวรรษที่ 21 แล้วยังจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนจากเดิมที่เคยสอนจากหนังสือเรียน หรือการยืนสอนหน้าชั้นเรียนมาเป็นการสอนแบบพี่เลี้ยงด้วยการส่งเสริมทักษะให้เด็กดังนี้

- นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสอน เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับบรรยากาศในชั้นเรียน พร้อมส่งเสริมทักษะที่จำเป็นกับเด็กผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งแบบในห้องเรียนและนอกห้องเรียนด้วย พร้อมสร้างแรงจูงใจให้เด็กเกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สืบค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบเพิ่มเติมด้วยตนเองได้

-กระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าแสดงความเห็นในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สามารถปรับใช้ได้ในชีวิต พร้อมทั้งสร้างกระบวนการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กระตุ้นให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผล การสังเคราะห์สิ่งต่างๆ แล้วสร้างเป็นแนวคิดใหม่ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็กในการเผชิญกับโลกแห่งความเป็นจริง

- เปลี่ยนครูจากผู้สอนให้เป็นผู้ฟัง เนื่องจากเด็กยุคใหม่เริ่มมีความคิดเห็น หรือแนวคิดที่ต่างออกไป ซึ่งครูจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องราว สิ่งที่ชอบทำ ชอบดู หรือประสบการณ์ที่พบเจอนอกห้องเรียน เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ทำให้รู้จักตัวตนของเด็กมากขึ้น รวมทั้งเป็นช่องทางในการรับรู้ความชอบของผู้เรียนแต่ละคนได้อีกด้วย

-สอนให้เด็กมีทักษะชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับสังคม และมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งจากสังคมทั่วไปและสังคมออนไลน์ โดยเชื่อมโยงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าไปในบทเรียนเพื่อให้เด็กได้คิดต่อยอด สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

“ทุกวันนี้ครูหลายๆ ท่าน ยังมุ่งแต่เพียงการสอนในตำราเรียนอย่างเดียว จึงทำให้เด็กส่วนใหญ่วนอยู่กับการท่องจำเนื้อหาหนักๆ ทำการบ้าน ติวเข้ม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด หากแต่ต้องเพิ่มสาระในด้านการใช้ชีวิตเพื่อให้เด็กรู้จักปรับตัวหรือรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงเข้าไปด้วย ในบางวิชาเรียน ครูอาจต้องสอดแทรกเหตุการณ์สมมติที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ เพื่อให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา มากกว่าท่องจำทฤษฎีที่มีอยู่ในแบบเรียน เช่น คิดวิเคราะห์ง่ายๆ จากข่าวสารที่ฟัง หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันสอดแทรกในวิชาสังคม การวิเคราะห์ภาษาระหว่างการใช้ในชีวิตจริงกับการใช้ในโลกออนไลน์ในวิชาภาษาไทย ฯลฯ นอกจากนี้ ครูยังต้องมีทัศนคติเชิงบวกกับเด็กทุกๆ คนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กรู้จักที่จะพัฒนาตนเอง”

น.ส.ขนิษฐากล่าวว่า สมศ.ในฐานะหน่วยงานประเมินคุณภาพการศึกษา ได้กำหนดแนวทางประเมินคุณภาพด้านครู เพื่อสะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องตามแผนให้อย่างเหมาะสม และช่วยให้เด็กมีความรู้ ความสามารถ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยการประเมินคุณภาพภายนอกตลอด 20 ปีที่ผ่านมาพบว่าครูส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาคลาดเคลื่อน ไม่ชัดเจน รวมทั้งยังมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงอยู่หลายประการ

ทั้งนี้ การประเมินคุณภาพครูเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ และมีผลต่อคุณภาพของระบบการศึกษาในภาพรวม โดย สมศ.ยังประสงค์ให้ครูปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด และเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ เกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร ตรงตามความมุ่งหวังของสังคม ดังนั้น ครูทุกคนจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาในการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก ::  หนังสือพิมพ์สยามรัฐออนไลน์  วันที่ 16 มกราคม 2563 เวลา 15:49 น.
  • 17 ม.ค. 2563 เวลา 14:58 น.
  • 4,309

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^