LASTEST NEWS

18 ก.ย. 2567ศธ.ย้ำ 20 ก.ย.นี้รู้ผลสอบ "ครูเบญ" ชี้อย่าตัดสินคนแค่เพราะนามสกุลดัง 18 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 18 ก.ย. 2567โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย​ รับสมัครครูช่วยสอน 6 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 25 กันยายน 2567 18 ก.ย. 2567โรงเรียนซำสูงพิทยาคม รับสมัครครูช่วยสอน 5 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 26 กันยายน 2567 17 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 16 ก.ย. 2567มาแล้ว!! ด่วนที่สุด! การจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567 ให้ดำเนินการแข่งขันโดยสิ้นสุดที่ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 16 ก.ย. 2567สพฐ. เร่งสอบข้อเท็จจริง ครูสาวสอบได้ที่ 1 ชื่อหาย ย้ำต้องโปร่งใส ตรงไปตรงมา 16 ก.ย. 2567ยันไม่มีมวยล้มต้มคนดู! ‘ครูเบญ’ บุกศธ.ทวงความเป็นธรรมสอบครูได้ที่ 1 ชื่อล่องหน 15 ก.ย. 2567กรมท่าอากาศยาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 24 อัตรา วุฒิปวส./ป.ตรี/ป.ตรีทุกสาขา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 3 ตุลาคม 2567 15 ก.ย. 2567สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งนายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ รับสมัคร 17-23 ก.ย.2567

“ดร.กนก”แนะ ศธ. ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ทำลาย“โอกาส”เด็ก

  • 08 ก.ย. 2562 เวลา 13:34 น.
  • 3,227
“ดร.กนก”แนะ ศธ. ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ทำลาย“โอกาส”เด็ก

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“ดร.กนก”แนะ ศธ. ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ทำลาย“โอกาส”เด็ก

ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่า การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่ายังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความใส่ใจ ในเรื่องของการยกระดับคุณภาพการศึกษา จนอาจทำให้เป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆ ในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่เป็นจำนวนกว่า 15,000 – 16,000 โรงเรียน อันจะไปสร้างความเหลื่อมล้ำทางด้านคุณภาพทางการศึกษาให้ยิ่งมากขึ้น

“ประเด็นสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการใช้ เป็นการคิดขึ้นมาจากมิติในเรื่องของความคุ้มค่า คือมีงบประมาณอยู่เท่านี้ มีนักเรียนอยู่เท่านี้ มีครูอยู่เท่านี้ แล้วเอามาคำนวณว่า คุ้มค่าหรือเป็นภาระ ดังนั้น จึงต้องควบรวมเพื่อจะสามารถใช้งบประมาณได้น้อยลง อยู่ในระดับที่คุ้มค่า ซึ่งมันเป็นการมองแค่ในมิติเดียว ผมคิดว่า เรื่องการศึกษามันไม่ใช่เรื่องของความคุ้มค่าทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองเรื่องของความเป็นธรรม และความเท่าเทียม ทั่วถึง ประกอบกันไปด้วย”

อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีท่านนี้ (2552-2554) ยังได้เป็นห่วงในเรื่องการรักษาโอกาสของนักเรียนที่ได้รับผลกระทบต่อกรณีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงให้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของนโยบายว่า ไม่ควรออกมาเป็นชุดเดียวแล้วบังคับใช้ในทุกพื้นที่ เพราะแต่ละโรงเรียนมีบริบท และสภาพของพื้นที่ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงนักเรียนแต่ละคนก็มีข้อจำกัดต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน ตรงนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการต้องตระหนักในมาก ต้องให้ความสำคัญ

จากนั้น อ.กนก ก็ได้ให้ข้อแนะนำแก่ ศธ. ในการรักษาโรงเรียนขนาดเล็กเอาไว้ว่า “ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในเรื่องของการเดินทาง หรือจะเป็นเรื่องของเด็กพิเศษ เด็กพิการ เด็กสมาธิสั้น ที่การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กอาจจะไม่ใช่คำตอบ ดังนั้น ผมคิดว่า เราจะต้องมีระบบการศึกษาคู่ขนานอีกแบบหนึ่งเข้ามาช่วยจัดการ เมื่อก่อนเราอาจเรียกว่า การศึกษาทางไกล แต่ตอนนี้มันคือการสอนออนไลน์ ศธ. ต้องเอาระบบอินเตอร์เน็ตเข้าไปยังโรงเรียนให้ได้ สัญญาณต้องมีเสถียรภาพ และทำงานได้ดี จากนั้นก็บริหารจัดการระบบการสอนใหม่ ในแบบออนไลน์ ที่ไม่ใช่เอาแต่ดูโทรทัศน์แบบเมื่อก่อนนี้ แต่ต้องมีคำถามได้ โต้ตอบกันได้ สร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียนให้เกิดขึ้นได้ ที่สำคัญ ครูที่อยู่ในโรงเรียนนั้นต้องได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับการสอนในรูปแบบใหม่ที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประกอบการสอน รวมไปถึงการจัดหาตำราเรียนที่สามารถเชื่อมโยงกับรูปแบบการสอนใหม่ๆ ในการช่วยเพิ่มเติมในเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าเป็นเช่นนี้ โรงเรียนขนาดเล็ก แม้จะมีนักเรียน 50 คน 80 คน เราก็สามารถสอนให้มีคุณภาพเท่าเทียมกับโรงเรียนอื่นๆ ได้ โดยที่ค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายเลย”
ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการศึกษา จากพรรคประชาธิปัตย์ ยังได้หยิบยกกรณี ‘การสอนคละชั้น’ ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กมาวิพากษ์ว่า กระทรวงศึกษาธิการจะต้องมาคิดวิธีการสอนแบบคละชั้นใหม่ เพราะการสอนสลับกันไปในแต่ละช่วงปีการศึกษาของเด็กที่อัดลงไปในแต่ละคาบเรียนไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของคุณภาพทางการศึกษาที่เด็กควรจะได้รับ ดังนั้น เราต้องมาคิดกันใหม่ เพราะเป็นเรื่องใหญ่

“ถ้ามาพูดกันจริงๆ หลักสูตรแบบนี้มันเป็นหลักสูตรช่วงชั้นปี เช่น ป.1 - ป.3 หรือ ป.4 - ป.6 เรียกว่าประถมต้น ประถมปลาย ฉะนั้น เราก็มาดูกันว่า สมมติ ป.1 - ป.3 ถ้ามาดูหลักสูตร ในตอนนี้ ผมเชื่อว่า เกือบครึ่งหนึ่งตัดทิ้งไปได้เลย ที่ตัดทิ้งไปได้เพราะเราสอนเกินจำเป็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมเราไม่เอาแต่เนื้อหาสาระที่จำเป็นจริงๆ สำหรับเด็กในแต่ละช่วงชั้นปีมาสอนเท่านั้นล่ะ อาทิ ศณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคม เป็นต้น แล้วคัดออกมาตรงหัวใจของวิชาต่างๆ ผ่านการสอนออนไลน์ ผ่านครูที่ได้รับการอบรมการสอนในรูปแบบใหม่ การสอนที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประกอบ ผ่านตำราเรียนที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่ชัดเจนและครอบคลุมจริงๆ ถ้าเป็นแบบนี้ ผมคิดว่า เด็ก ป.1 กับเด็ก ป. 3 เรียนร่วมกันได้ในวิชาเดียวกัน และมีคุณภาพทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ด้วย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งเราสามารถจะบริหารจัดการได้ แต่ กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้ทำเรื่องนี้เท่าที่ควร”

ท้ายที่สุด ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงศ์ตระหง่าน ได้ตั้งคำถามกลับไปที่ ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า “กระทรวงศึกษาธิการ คุณคิดอย่างไร คุณมองเด็กเหล่านี้อย่างไร คุณเห็นคุณค่า และให้คุณค่าทางการศึกษาที่มีคุณภาพ กับเด็กที่เสียเปรียบ ที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กแค่ไหน ถ้าคุณคิดง่ายๆ ก็แค่ควบรวม จบครับ ไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้าคุณคิดว่า เด็กไทยอีกเป็นล้านๆ คนที่อยู่ในพื้นที่ที่เสียเปรียบ อยู่ในกลุ่มโรงเรียนเล็ก คนเหล่านี้มีคุณค่าต่ออนาคต พวกเขาจะกลายเป็นพลเมืองหลักของประเทศเรา นักเรียนเหล่านี้มีคุณค่ากับเรา แต่อยู่ในบริบทที่เสียเปรียบ ถ้าคุณคิดแบบนี้ คุณรู้สึกแบบนี้ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้บริหารการศึกษาจะต้องต่อสู้เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้ได้รับโอกาสที่จะมีการศึกษาที่มีคุณภาพ เมื่อคุณเริ่มต้นคิดแบบนี้ มันก็จะนำมาสู่คำตอบหรือทางออกในการแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ ว่าควรจะออกมาในรูปแบบไหน อย่างไรบ้าง โดยมีคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนในทุกคนทุกระดับเป็นตัวตั้ง”

และอีกคำถามหนึ่งที่สำคัญ “คุณรู้ปัญหาจริงแค่ไหน ครั้งสุดท้ายที่คุณไปโรงเรียนมันกี่ปีมาแล้ว คุณเดินไปโรงเรียนร่วมกับเด็กๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ คุณลืมไปหมดแล้ว สภาพของโรงเรียน คุณมองไม่เห็นนักเรียนแล้ว คุณเห็นแต่รัฐมนตรี คุณเห็นแต่ปลัดกระทรวง คุณเห็นแต่เลขาธิการ คุณเห็นแต่นายกรัฐมนตรี แต่คุณไม่เห็นลูกหลานชาวบ้านที่อยู่ทั่วประเทศ ที่เขามีปัญหา ดังนั้น ความคิดและทัศนคติ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ต่อปัญหาการศึกษาไทย และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การเข้าใจปัญหานั้นๆ อย่างแท้จริง”      

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 14.06 น.
  • 08 ก.ย. 2562 เวลา 13:34 น.
  • 3,227

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^