LASTEST NEWS

14 พ.ค. 2567เสมา 1 มั่นใจ เงินเดือนครูขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศไร้ตกเบิก เน้นย้ำนโยบายการทำงาน ศธ. “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” 13 พ.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 เปิดระบบ ให้ตรวจสอบคะแนน สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 2567 13 พ.ค. 2567สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับสมัครพนักงานราชการ 7 อัตรา วุฒิม.6-ปริญญาตรี ตั้งแต่ 20-27 พ.ค. 2567 13 พ.ค. 2567รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ลงนาม แนวทางการปฏิบัติตามนโยนายกระทรวงศึกษาธิการ เน้นย้ำ โครงการกิจกรรมต่าง ๆ เรียบง่าย ประหยัด พอเพียง ไม่ต้องผูกผ้า ไม่ต้องติดป้ายต้อนรับ 13 พ.ค. 2567ศธ.ย้ำเปิดเทอมใหม่สภาพรถรับส่ง นร.ต้องได้มาตรฐาน 13 พ.ค. 2567ศธ.เล็งปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว รร.ขนาดเล็ก 13 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลป่าโมก (วัดโบสถ์สายทอง) รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 7,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 17 พ.ค.2567 12 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านสันทรายมูล รับสมัครครูผู้สอนระดับปฐมวัย เงินเดือน 7,000 บาท  12 พ.ค. 2567ผลตรวจ TCAS67 พบข้อสอบผิดพลาด 6 ข้อ ปรับแก้คะแนนผู้เข้าสอบแล้ว 12 พ.ค. 2567สพฐ.หนุนตั้งศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในรพ. 77 จังหวัด

ส่องทัศนะนักวิชาการ ถึงว่าที่ "รมว.ศึกษาธิการ คนที่ 54"

  • 10 มิ.ย. 2562 เวลา 21:26 น.
  • 2,911
ส่องทัศนะนักวิชาการ ถึงว่าที่ "รมว.ศึกษาธิการ คนที่ 54"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ส่องทัศนะนักวิชาการ ถึงว่าที่ "รมว.ศึกษาธิการ คนที่ 54"

สิ้นสุดกระบวนการแห่งรัฐสภา ในการออกเสียงโหวต 500 เสียงให้ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นนายกรัฐมนตรี การจัดสรรปันเก้าอี้ “รัฐมนตรี” เพื่อฟอร์มทีมคณะรัฐมนตรี ในกระทรวงต่างๆ ยังเป็นที่จับตาศึกชิงเก้าอี้กระทรวงสำคัญ 

ที่น่าตกใจ คือ “กระทรวงศึกษาธิการ” ซึ่งถือเป็นกระทรวงใหญ่ ที่ดูแลการศึกษาของประเทศ แต่ละปีรัฐบาลอัดฉีดงบประมาณมหาศาล ล่าสุดปีงบประมาณ 2562 แม้จะถูกหั่นงบประมาณลง แต่ก็ยังเป็นกระทรวงที่มีงบประมาณสูงมากเป็นอันดับ 1 มากถึง 4.89 แสนล้านบาท แต่ทว่า..กลับไม่มีพรรคใดเสนอตัวเข้าแย่งชิง นั่งเก้าอี้คุมนโยบายกระทรวงนี้ 

ต่างจากภาพในอดีตที่พรรคการเมืองใหญ่ๆ มักจับจองเก้าอี้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากเป็นกระทรวงใหญ่การได้มาครอง นั่นหมายถึงโอกาสเข้าถึงข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากว่า 4 แสนคนกระจายทั่วประเทศ นับเป็นฐานเสียงสำคัญต่อการเลือกตั้งในอนาคต อาจด้วยเงินในกระเป๋าที่ว่ามาก ส่วนใหญ่ต้องใช้จ่ายไปกับเงินเดือนบุคลากร


อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ จากเดิมที่เคยรวมองค์กรหลักไว้มากถึง 5 หน่วยงานก็เหลือเพียง 4 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และสำนักงานปลัด ศธ. เท่านั้น ส่วน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้แยกตัวออกไปรวมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งเป็น “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” เรียบร้อยแล้ว 

แม้จะยังไม่รู้ชัดว่าพรรคใดจะเข้ามารับดูแลกระทรวงครู แต่ในมุมมองนักวิชาการ คนในแวดวงการศึกษาส่วนใหญ่มองตรงกันว่าการเลือกผู้มา “กุมบังเหียน” จำเป็นต้องได้คนที่มีความเข้าใจถึงปัญหาการศึกษาอย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องกล้าเผชิญกับโจทย์ใหม่ๆ กับโลกที่เปลี่ยนแปลงการขับเคลื่อนการศึกษาจากนี้มีเรื่องที่ท้าทายฝีมือรออยู่..


อดีตรมช.ศึกษาธิการ “ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร” นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตร สะท้อนมุมมองว่า ส่วนตัวมองว่าพรรคการเมืองแต่ละพรรค มีผู้มีความสามารถและรู้เรื่องการศึกษามากพอสมควร ก็ขึ้นอยู่เพียงว่าพรรคการเมืองที่มาดูแลกระทรวงศึกษาธิการ จะเลือกคนที่เหมาะสมคนใดมาทำหน้าที่ รมว.ศึกษาธิการ ของรัฐบาลชุดนี้ แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องมองคือ โจทย์ในการพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันนี้ต่างหากที่จะต้องมองใหม่ คือ พัฒนาคนตั้งแต่เกิดจนตาย มีความเข้าใจโลกดิจิทัลและคนต้องมีทักษะที่พัฒนามาจากการใช้ชีวิต (Soft Skill) การศึกษานับจากนี้จะไม่ใช่แค่เพียงคนในวัยเรียนกว่า 10 ล้านคน (อายุระหว่าง 6-22 ปี) ที่แนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ เท่านั้น แต่จะต้องพัฒนากลุ่มคนวัยทำงานอายุระหว่าง 15 -60 ปี ราว 45 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มสำคัญที่เรียกว่าช่วยปั๊มแบงก์ให้แก่ประเทศซึ่งถูกทิ้งมานาน ให้เขาได้รับการพัฒนาทักษะ ฝึกฝนเสียใหม่ 

“เราอาจจะใช้เงิน 5 แสนล้านเพื่อการพัฒนากลุ่มคนวัยเรียน แต่เราอาจจะใช้เงิน 100 ล้านบาท เพื่อพัฒนากลุ่มคนวัยแรงงานนี้เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศ เพราะประเทศจะรวยได้หรือไม่อีก 4-5 ปีข้าง คนกลุ่มนี้เป็นกลไกสำคัญ ซึ่งต้องวางแผนจัดการศึกษาที่เหมาะสม เพราะการเรียนแบบเดิมๆ ไม่ตอบโจทย์ ยังมีกลุ่มภาคเกษตรกรรม ที่ไม่ได้เก่ง หรือมีทักษะทางวิชาการ ทางเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีประสบการณ์ จะทำอย่างไรเพื่อสร้างโอกาสการศึกษา เรียนรู้เท่าทัน และกลุ่มผู้สูงอายุ อีกราว 15 ล้านคนที่มีศักยภาพทำงานต่อได้ ก็จำเป็นต้องนำมาพัฒนาใหม่ โดยสามารถศึกษาจากประเทศต่างๆ เพราะฉะนั้น การศึกษาไม่ใช่เรื่องที่จำกัดอยู่แค่ในกระทรวงศึกษาธิการ เท่านั้น จำเป็นต้องมองให้กว้างและสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ มากขึ้น”ดร.กฤษณพงษ์ กล่าว


ดร.กฤษณพงศ์ บอกด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้กำหนดทิศทางของประเทศ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทิศทางข้างหนา การศึกษาเป็นอีกส่วนหนึ่งในแผนดังกล่าว มีกรอบการพัฒนาในแต่ละช่วง 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี เป็นกรอบกำหนดทิศทาง แต่ในแง่ของพรรคการเมืองที่จะเข้ามาทำงาน แม้จะมีการกำหนดนโยบายรายปีทำเป็นโครงการก็เชื่อว่าไม่กระทบกับแผนใหญ่ ตนไม่ติดใจนักการเมืองต้องมีผลงาน เป็นอีกหนึ่งสีสันจะเห็นได้ว่า ในหลายโครงการก็รูปแบบเดียวกันเพียงแต่เปลี่ยนชื่อเท่านั้น แต่ฝากว่าสิ่งที่ต้องคำนึง คือ ต้องมองเห็นปัญหาในระยะยาวและตัดทอนให้สั้นเพื่อแก้ไข อย่ามองปัญหาสั้นๆปีต่อปีแก้ไขจะต่อไม่ติด 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีหลายเรื่องในงานการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ และมองว่าควรทำต่อเนื่องโดยเฉพาะมาตรการดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ตนไม่ได้หมายถึงการยุบรวม แต่เป็นการทำงานในรูปแบบคลัสเตอร์จับกลุ่มโรงเรียน ขยับครูไปสอน ขยันเด็กมาเรียนและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนจัดการศึกษา ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าครูจะเกษียณอายุราชการ 20-25% จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรลดลง ก็สามารถมาเพิ่มเรื่องดังกล่าว รวมถึงการผลิตพัฒนาครู เพราะเรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการทำงาน แม้จะไม่เห็นผลตอนนี้ก็ต้องทำอย่างน้อยอีก 4-5 ปีจะเห็นผล


ฟาก ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) มองว่า สิ่งที่อยากให้พรรคการเมืองให้ความสำคัญ ในการคัดเลือกผู้มาทำหน้าที่ รมว.ศึกษาธิการ นั้นไม่ใช่แค่ผู้ที่รู้เรื่องแต่ไม่เคยสัมผัสปัญหา แต่ควรจะเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์เคยสัมผัสงาน เข้าใจปัญหารู้ถึงบริบทการศึกษาอย่างแท้จริง รู้ลึกถึงระดับปฏิบัติ ปัญหาที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเราพบว่า ถ้าคนมาทำงานไม่ศึกษามาก่อน เข้ามาก็กำหนดนโยบายต่างๆ กำหนดนโยบายตนเอง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็ทำให้งานขาดความต่อเนื่อง แต่ที่ถูกคือ ควรต้องมาผลักดันเรื่องที่ทำไว้อยู่ ถ้าเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้วให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น เพราะการศึกษาระดับพื้นฐาน อาชีวศึกษา จะต่างไปจากระดับอุดมศึกษา 

“ที่ผ่านมาการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นฐานหลัก แต่ปัญหาคือ รมว.ไม่ได้เข้าใจปัญหาแท้จริง การเข้ามา คนที่มาไม่ได้มาศึกษาก่อนจะกำหนดนโยบายต่างๆ แล้วก็เปลี่ยนบ่อย และก็พยายามมีนโนบายของตนเอง ผมมองว่า รมว.ศึกษาธิการ ไม่ต้องมีนโยบายตนเองก็ได้ แต่ต้องรู้อะไรที่ดีต้องจัดการก่อน ทำจริงจัง รู้ลึกปัญหาที่เป็นแก่นแท้ ไม่ใช่มากำหนดแบบทำนั้นแบบนี้แล้วก็ไป เช่น เรื่องคูปองครู ทำในสมัยนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรมว.ศึกษาธิการ ตอนนี้ไม่รู้จะเดินหน้าต่ออย่างไร เป็นต้น ซึ่งทุกพรรคการเมืองต่างบอกว่าการศึกษาคือ พื้นฐานการสร้างประเทศ บางเรื่องต้องอาศัยข้อมูลงานวิจัย และใช้เวลากว่าจะเกิดผลแต่ถ้าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สุดท้ายก็วนเวียนแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ผมก็แปลกใจอยู่ว่าทำไมครั้งนี้ไม่มีใครแย่งชิงจะมา ศธ.เหมือนจะเกี่ยงกันไปมาทั้งที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการสร้างคนของประเทศ”ผศ.ดร.รัฐกรณ์ กล่าว

ส่วนที่อยากฝากถึงคือ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ตนมองว่าผู้จะมาเป็น รมว.อว.ต้องเป็นผู้เข้าใจความเป็นอุดมศึกษาและเรื่องการวิจัย เวลานี้มองว่าหลายฝ่ายมองภาพอุดมศึกษา ต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาประเทศและมองในเชิงธุรกิจซึ่งไม่ใช่ แต่บทบาทของมหาวิทยาลัยเป็นการศึกษาวิจัย มีบริบทที่หลากหลาย

สุดท้ายเก้าอี้ รมว.ศึกษาธิการ คนที่ 54 ของกระทรวงครู จะตกไปอยู่ในโควตาของพรรคการเมืองใด อีกไม่นานความชัดเจนจะปรากฎ


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 10 มิถุนายน 2562 เวลา 15:33 น.
 
  • 10 มิ.ย. 2562 เวลา 21:26 น.
  • 2,911

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^