LASTEST NEWS

17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ  16 มี.ค. 2567ครูจบใหม่เฮ! ขึ้นเงินเดือนครู ครูผู้ช่วยรับ 18,000 บาท เช็กฐานเงินเดือนครู

"สมคิด" จวกศธ.ไม่มีระบบข้อมูลนั่งฝันออกนโยบาย เตือนมหา'ลัยปรับตัวหาที่ยืน ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ป้อน"อีอีซี"

  • 18 พ.ค. 2562 เวลา 11:21 น.
  • 5,536
"สมคิด" จวกศธ.ไม่มีระบบข้อมูลนั่งฝันออกนโยบาย เตือนมหา'ลัยปรับตัวหาที่ยืน ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ป้อน"อีอีซี"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"สมคิด" จวกศธ.ไม่มีระบบข้อมูลนั่งฝันออกนโยบาย เตือนมหา'ลัยปรับตัวหาที่ยืน ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ป้อน"อีอีซี"

“สมคิด” มอบนโยบายการผลิตกำลังคนป้อนอีอีซี   ชู มรภ. เน้นเรื่องการเกษตร การท่องเที่ยวและบริการ ช่วยยกระดับชาวบ้านให้เป็นนักธุรกิจ  จวก ศธ. ไม่เคยทำระบบข้อมูล ทำให้นั่งจินตนาการออกนโยบาย เตือนมหาวิทยาลัย ต้องผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อย่าหวังพึ่งงบฯประมาณจากรัฐอย่างเดียว มีเพียงมหาวิทยาลัยยากจนเท่านั้นที่หวังเงินจากรัฐ  แต่ต้องร่วมมือกับภาคเอกชน ผลิตกำลังคนสนองความต้องการประเทศ  

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)กล่าวว่า ตนได้มอบนโยบายการผลิตกำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้กับอธิการบดีจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนผลิตบุคลากรรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต ว่าจะต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องหลักสูตร งบประมาณและแนวทางการทำงานร่วมระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและเอกชน เพราะหากเราต้องการที่จะให้ประเทศสามารถผลิตบุคลากรที่มีพร้อมรองรับอนาคตแล้ว หลายหลักสูตรต้องเกิดขึ้นใหม่  วิธีการผลิตบุคลากรก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกัน หลักสูตรเดิมเราก็จะรักษาไว้ในสิ่งที่ดี เพียงแต่กระบวนการให้งบประมาณ ทางสำนักงบประมาณก็จะสนับสนุนหนักไปในสาขาที่ต้องการสร้างอนาคต แต่ตนก็ได้ย้ำชัดเจนว่าจะต้องมีทั้งวิทย์และสายศิลป์ เพียงขณะนี้เราจะต้องเน้นเรื่องการเตรียมบุคลากรในระยะ 5 หรือ 10 ปี ข้างหน้าให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งยังได้เน้นเรื่องสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศให้มหาวิทยาลัยทำความร่วมมือเพื่อผลิตบุคลากร สร้างวิจัยและผู้ประกอบการใหม่ๆ


นายสมคิด กล่าวต่อว่า เรื่องการผลิตคนสำคัญที่สุด และ 4.0 เกิดขึ้นมาเพราะเราเห็นปัญหาของประเทศ ทำไมผลผลิตมวลรวมของประเทศ หรือ GDP จึงโตได้เพียง ร้อยละ 3-4 ทำไมประเทศยิ่งพัฒนาแต่คนจนยิ่งเยอะ เพราะสินค้าเราราคาถูก ความสามารถในการแข่งขันลดลง และคนในชนบทเข้าไม่ถึงระบบสาธาณูปโภค ดังนั้น 4.0 จะช่วยให้ประชาชน  มีข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาตัวเอง สามารถสอนหมู่บ้านให้สร้างเว็บไซต์เพื่อใช้สำหรับค้าขายได้ได้ สิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยใช้ 4.0 แก้ปัญหารากเหง้าของไทย ยกระดับตัวเองให้ขึ้นมาได้ โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ).จะต้องทำเรื่องการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 1 ยกระดับคุณภาพ ทำให้มีมูลค่า เพื่อให้สามารถนำสินค้าทางการเกษตรมาขายได้ ซึ่งมาคู่กับการท่องเที่ยว 


รักษาการ รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการ  ถือเป็นกระทรวงใหญ่แต่กลับไม่มีการเก็บข้อมูลเฉพาะตัวของนักเรียน ครู และโรงเรียน และเคยมีการเก็บข้อมูลหรือไม่ว่าการออกนโยบายด้านการศึกษาแบบไหนจะมีผลอย่างไร เพราะในประเทศที่เจริญได้เขามีการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้ ไม่มีการนั่งจินตนาการและออกนโยบาย แต่ของประเทศไทยเป็นการจินตนาการทั้งสิ้น เพราะว่าเราไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลแต่ไม่เคยนำมาทำให้สามารถใช้เป็นประโยชน์เชิงนโยบายได้ และสมัยนี้ที่เป็นยุคของเทคโนโลยีทุกวงการมีผลกระทบหมด ไม่ว่าจะเป็นวงการธุรกิจ วงการโลจิสติกส์ หรือวงการศึกษา เพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่เหมือนเด็กรุ่นเก่า เฉพาะอนาคตจะสอนเด็กอย่างไร ครู อาจารย์จะต้องตามให้ทัน ตนคิดว่าคนที่จะเข้ามาเป็นครู หรืออาจารย์ในอนาคตไม่ใช่เรื่องง่าย และโลกในอนาคตไม่ได้ต้องการปริญญา แต่ต้องการผู้ที่ทำงานได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป


นายสมคิด กล่าวตอ่ว่า นอกจากนี้สิ่งที่เราจะต้องมาช่วยกัน คือ 1.สำนักงบประมาณได้รับนโยบายในการสนับสนุนมหาวิทยาลัย ว่า จะต้องดูสาขาความต้องการในผลิตกำลังคนของประเทศ แต่ไม่ใช่จะตัดในสาขาด้านสังคมศาสตร์ออกไป ดังนั้น  มหาวิทยาลัยควรปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการประเทศและจะต้องมีพื้นฐานของสายศิลป์ควบคู่ด้วย และงานวิจัยจะต้องเป็นในไปแนวทางการพัฒนาประเทศ 2.สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ต้องหามาตรการที่ช่วยจูงใจให้มหาวิทยาลัยสร้างคนที่ตรงความต้องการ 3.ความร่วมมือกับต่างประเทศ ให้เข้ามาช่วยในการผลิตและพัฒนามหาวิทยาลัยให้มากขึ้น เพราะอนาคตข้างหน้า มหาวิทยาลัยต้องสร้างรายได้ให้กับตนเอง อย่าหวังเรื่องงบประมาณ เพราะงบประมาณแผ่นดินควรจะมีไว้สำหรับการช่วยเหลือ และควรใช้กับมหาวิทยาลัยที่ยากจนถึงจะถูกต้อง ดังนั้น โมเดลใหม่ตอนนี้คือ เรื่องของทักษะ ภาคเอกชนสำคัญมาก เรามอบนโยบายให้เอกชนตั้งสถาบันขึ้นมาสอนและฝึกหัดได้ เพราะไม่มีใครที่จะรู้ว่าเรื่องความต้องการด้านทักษะมากกว่าบริษัท และรัฐจะคอยช่วยเหลือ  ซึ่งหากเกิดขึ้นการผลิตบัณฑิตจะเปลี่ยนไป จะไม่ใช่การผลิตในระบบเดิมๆ ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรร่วมมือกับเอกชน และรัฐบาลให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่แค่ให้มหาวิทยาลัยทำ และสิ่งที่ตนจะขอ คือสถาบันวิจัยต่างๆ ต้องเอาเข้ามาร่วม และโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) จะเป็นส่วนสำคัญให้เราไปสู่อนาคตข้างหน้า มหาวิทยาลัยใดยังไม่มีที่ยื่น พยายามไปสร้างสาขาย่อยที่นั้น ไม่เช่นนั้นจะเสียเปรียบคนอื่นๆ จะสู้มหาวิทยาลัยต่างประเทศไม่ได้

“ผมมาในฐานะของรักษาการ รมว.ศธ.) และยังดำรงตำแหน่งรักษาการ รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.)ด้วย ก็ยินดีและจะใช้เวลาเท่าที่มี ทำให้สิ่งที่ผมต้องการที่จะทำโดยเฉพาะเรื่องการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อพัฒนากำลังคน ในอีอีซี ซึ่งป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และผมเองก็เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย  กรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงรู้ปัญหาของมหาวิทยาลัย ปัญหาของการวิจัย  แต่เราจะมองว่าจะทำสิ่งไหนให้งานสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างลุล่วง ไม่เช่นนั้นงานก็จะเดินต่อไปไม่ได้ ดังนั้นในส่วนของงานทั่วไปที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ขอให้เป็นงานของปลัด อว.  เพราะผมเวลามีน้อย จึงขอให้เสนอเรื่องที่เป็นชิ้นเป็นอันที่ไม่สามารถตกลงใจได้ ก็ให้เสนอมาที่ผมเพื่อให้งานเดินหน้าไปได้”รองนายกฯ กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 14:42 น.    
  • 18 พ.ค. 2562 เวลา 11:21 น.
  • 5,536

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^