LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

แชร์ประสบการณ์การเป็นครูเอกชน ที่ไม่ได้สวยงาม อย่างที่ใจคิด

  • 12 มี.ค. 2562 เวลา 08:44 น.
  • 21,746
แชร์ประสบการณ์การเป็นครูเอกชน ที่ไม่ได้สวยงาม อย่างที่ใจคิด

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แชร์ประสบการณ์การเป็นครูเอกชน ที่ไม่ได้สวยงาม อย่างที่ใจคิด

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม เวลา 22:15 น. สมาชิกหมายเลข 5171593 เว็บไซต์พันทิป ได้แชร์ประสบการณ์การเป็นครูเอกชน ไว้ดังนี้

แชร์ประสบการณ์การเป็นครูเอกชน ที่ไม่ได้สวยงาม อย่างที่ใจคิด

สวัสดีค่ะ กระทู้นี้เป็นกระทู้แรก คิดมานานพอสมควรว่าตนเองจะแชร์เรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับการเป็นครูสอนในโรงเรียนเอกชนที่ตนเองได้พบเจอมา เผื่อว่าใครหลายๆคนที่กำลังสนใจจะเข้ามาในสายนี้ด้วยอุดมการณ์ที่แรงกล้าจะได้เลือกตัดสินใจ

ย้อนไปเมื่อช่วงที่ จขกท.พึ่งจบ ป.ตรีใหม่ๆ ด้วยสายที่จขกท.เรียนจบมาเกี่ยวข้องกับด้านภาษาต่างประเทศ และ ตัวเราเองเป็นคนที่ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นที่ถือว่าดีมากๆ พ่วงท้ายด้วยปริญญาเกียรตินิยม ทำให้ช่วงชีวิตวัยแรกแย้มที่ต้องการเข้ามาสู่ตลาดแรงงาน เปี่ยมล้นไปด้วยอุดมการณ์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคม จขกท. เป็นเด็กต่างจังหวัดและตัดสินใจเข้ามาหาโอกาสการทำงานที่กทม. และ ได้รับโอกาสสัมภาษณ์งานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ณ โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง

ทุกอย่างดูไปได้สวย จนถึงวันที่ไปสัมภาษณ์ ณ โรงเรียนเอกชนแห่งนั้น ผู้อำนวยการโรงเรียนนั่งคุยกับเรานานสองนาน ช่วงแรกก็ยังคุยกับเราเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานของเรา และ ชมเราว่าเก่ง ผลการเรียนดี แต่พอคุยกันได้สักพัก ก็เริ่มนินทาระบบการทำงานภายในโรงเรียนของตนเองว่าแย่แบบไหนบ้าง มีใครที่ไม่ชอบตนเองบ้าง เคยโดนกลั่นแกล้งอะไรบ้าง ให้เราฟังอยู่นานสองนาน ช่วงแรกยอมรับว่างงมาก แต่อาจจะด้วยความอ่อนด้อยประสบการณ์ของจขกท.และตัวเราพึ่งเรียนจบมาใหม่ๆ เลยคิดว่าคงเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่จะต้องมีการนินทากันในที่ทำงาน โลกสวยมากในตอนนั้น

จขกท. ผ่านการสัมภาษณ์และเข้ามาสู่การเป็นครูใน รร.เอกชน สิ่งที่เราวาดฝันไว้คือการทำงานเป็นครูเป็นการทำงานที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี และได้ช่วยแบ่งปันประสบการณ์ให้เด็ก แต่สิ่งที่เรามาค้นพบอย่างหนึ่งในระบบของโรงเรียนนี้คือ นโยบายของโรงเรียนพยายามบีบความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของครูที่นี่ในทุกๆทาง

โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในกทม.ใจกลางเมือง แต่ที่นี่ไม่เคยปรับเงินเดือนให้ครูที่สอนอยู่ในโรงเรียนนี้มานานมากแล้ว ซึ่งในยุคข้าวยากหมากแพง วิกฤตเศรษฐกิจ แต่เงินเดือนของครูเอกชนไม่ได้รับการขึ้นอย่างเหมาะสมบางปีไม่ขึ้นเงินเดือนครูด้วยซ้ำ ถ้าขึ้นก็อย่างมากอยู่ที่หลักร้อย ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำเราอึ้งมาก เมื่อได้รู้

ด้วยภาพนักเรียนดี กิจกรรมเด่น เน้นวิชาการที่สวยหรู ตามปณิธานที่ผู้อำนวยการโรงเรียนพยายามบอกกล่าวกับครูในการประชุมทุกครั้ง แต่ตัดมาความเป็นจริงคือ แม้กระทั่งครูต้องการถ่ายเอกสารชีสเรียนที่ห้องพัสดุเพื่อต้องการทำเป็นสื่อการเรียนการสอนให้นักเรียน ยังกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบากและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับโรงเรียนเพราะโรงเรียนกลัวเปลืองงบประมาณ และถ้าต้องการจะถ่ายเอกสารแต่ละครั้งจะต้องเข้าไปหารอง ผอ. เพื่อขอลายเซ็นต์รับรอง ซึ่งเรามองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตลกมากๆ

หรือแม้กระทั่งความพยายามคอนโทรลควบคุมไม่ให้ครูเล่นมือถือ และถ้าพบเห็นการเล่นมือถือของครูที่โรงเรียน ครูจะโดนหักเงิน แม้ว่าบางครั้งการที่ครูหยิบมือถือขึ้นมาดูเค้าอาจจะกำลังหาข้อมูลใหม่ๆมาเป็นสื่อการเรียนการสอนอยู่ก็เป็นได้ หรือ แม้กระทั่งการลาป่วยกระทันหัน ครูก็โดนหักเงินด้วยเช่นกัน ซึ่งเอาจริงๆเงินเดือนที่ทางโรงเรียนOfferมาให้กับทางครูก็แสนจะน้อยนิด ถ้าหักเข้าไปอีกก็แทบจะไม่เหลือเงินไว้กินข้าวหรือใช้ชีวิตทั่วไปเลยด้วยซ้ำ

และที่น่าเหลือเชื่อมากๆคือ ที่นี่ขอสลิปเงินเดือนเพื่อจะไปทำธุรกรรมทางการเงินยากมากๆ (ที่นี่จ่ายเงินเดือนเป็นสด บางครั้งก็โอนเข้าบัญชีแต่ไม่มีสลิปเงินเดือนให้) และต้องโดนถามจากธุรการว่าจะขอไปทำไม ซึ่งเป็นคำถามที่ทำเอาประสาทเสียมากๆ เพราะก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าขอสลิปเงินเดือนไปก็เพื่อไปทำธุรกรรมการเงินไง ถามได้ แต่ที่นี่นับว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมระบบถึงเป็นแบบนี้

เอาจริงๆเรายอมรับนับถือใจของครูที่นี่หลายๆคนที่ทำงานที่นี่มาอย่างยาวนานและมีอุดมการณ์ที่ดี แต่ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้ระบบของโรงเรียนเอารัดเอาเปรียบครูผู้ซึ่งขึ้นชื่อว่าแม่พิมพ์ของชาติได้อย่างน่าเสียดาย

เราเริ่มอยู่โรงเรียนนี้มาสักพัก เริ่มรู้ระบบอันแสนห่วยต่างๆของที่นี่ ภายนอกเบื้องหน้าที่ฉาบไปด้วยความสวยงามของเด็กนักเรียน ครูผู้ปกครองคาดหวังการที่บุตรหลานเข้าโรงเรียนเอกชนต้องเก่งกว่าเด็กโรงเรียนรัฐบาลแหงๆ เพราะเราจ่ายเงินเพื่อซื้ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้าให้ลูก

แต่ใครจะไปรู้เบื้องหลังอันหฤโหดของชีวิตครูที่นี่ที่อาศัยด้วยอัตราเงินเดือนอันน้อยนิด แถมห้ามป่วยกระทันหัน ห้ามเล่นมือถือ ห้ามทำอะไรผิดนะจ๊ะ ไม่งั้นเงินเดือนอันน้อยนิดจะต้องโดนหักไปอีกแน่ๆ

แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นใหญ่ที่ดิฉันกำลังกล่าวถึงเพียงเท่านั้น ในสิ่งที่ตามมาคือระบบที่นี่บังคับให้ครูซื้อทุกอย่างตั้งแต่ Uniform ของครูที่โรงเรียน ยันเสื้อยืดที่พยายามสร้างภาพเป็น Unity สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีคำว่าฟรี ถ้าโรงเรียนทำนโยบายแบบนี้มา ครูก็ต้องปฏิบัติตามและต้องซื้อนะ ถ้าไม่ซื้อชีวิตครูคนนั้นคงจะอยู่ยากในโรงเรียนแน่ๆ

การร่วมด้วยช่วยกันประหยัดพลังงานของโรงเรียนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การนำโน๊ตบุ๊คมาใช้ที่ห้องพักครูถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะที่นี่ต้องการให้ครูช่วยโรงเรียนประหยัดไฟ ซึ่งมันตลกมาก เพราะในยุคที่ข้อมูลการศึกษาอยู่บนอินเตอร์เน็ต และ สมาร์ทโฟน แต่โรงเรียนเอกชนแห่งนี้กลับพยายามไม่ให้ครูใช้โน๊ตบุ๊คเพียงเพราะกลัวเรื่องเปลืองไฟ เอาจริงๆโรงเรียนหลังเขากลางทุ่งนาบางที่ ที่ๆซึ่งไม่มีนโยบายตลกๆแบบนี้อาจจะมีคุณภาพการศึกษาที่ดีกว่า รร.เอกชน ที่เน้นคำคมโรงเรียนหรูๆ ยูนิฟอร์มน่ารักๆ แต่ไม่พยายามให้ครูผลักดันและหาสื่อแนวการเรียนการสอนใหม่ๆก็เป็นได้

เราเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่นี่มาสักพัก และเราทำหน้าที่ของครูอย่างดี และได้รับคมชื่นชมจากครูหลายๆคนในโรงเรียน แต่ไม่วายโดนแขวะเรื่องที่ไม่ได้เรียนจบด้านศึกษาศาสตร์มาจากครูสายชั้นอื่น ตอนแรกก็ยอมรับว่าตกใจ แต่ก็ไม่ได้ตอบโต้อะไร แถมคิดว่า เอาจริงๆครูในโรงเรียนนี้หลายๆคนก็ไม่ได้จบสายศึกษาศาสตร์มา ที่ตลกร้ายมากกว่านั้นคือบางคนจบแค่ ปวส. หรือไม่มีวุฒิ ป.ตรีด้วยซ้ำยังมาสอนหนังสือที่นี่เลย แล้วคุณภาพการศึกษาที่นี่มันอยู่ตรงไหน และ อะไรคือตัวชี้วัดคุณภาพ เมื่อได้สติแล้วสักพัก เราก็ตั้งปฏิญาณจะทำหน้าที่การสอนที่ดีรักษาคุณภาพและคำชื่นชมต่อไป ไม่แคร์คำคน

การพูดคุยระหว่างครูชั้นผู้น้อย(หมายถึงครูที่สอนตามห้องเรียนธรรมดา) และครูชั้นผู้ใหญ่(หมายถึงครูที่อยู่สายบริหาร เช่น ผอ. รองผอ.) ก็อาจจะไม่เหมือนหรือพบเจอได้ทั่วไปในสายงานอื่นๆบนโลกใบนี้ ใครจะไปเชื่อว่าแม่พิมพ์ของชาติเมื่อเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นครูชั้นผู้น้อย การได้ยินคำด่าหรือน้ำเสียงที่แรงๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมมุติว่าเราลืมเซ็นต์ชื่อในสมุดเข้างาน ก็อาจจะโดนรอง ผอ. ด่าแรงๆได้ว่า “วันหลังชั้นจะเขียนว่าขาดและไม่ให้เซ็นต์อีกแล้วนะยะ” รวมถึงการตะคอก และ การขึ้นเสียงด้วยคำด่าแรงๆ กลายเป็นเรื่องปกติของที่นี่

เราทนเป็นครูนี่ๆได้สักพัก ก่อนที่จะตัดสินใจลาออกแบบไม่บอกใคร(ซึ่งจริงๆเรารู้ว่าไม่ดี) เพราะเรากดดันกับระบบที่เอารัดเอาเปรียบแบบนี้ไม่ไหว จนปัจจุบันเราทำงานในบริษัทที่มั่นคงและฐานเงินเดือนอยู่ระดับที่ดีในการดำรงชีวิตสบายๆใน กทม.

หลังจากที่ได้รับประสบการณ์การทำงานที่นี่ เราตั้งปณิธานอย่างหนึ่งว่าจะไม่ส่งลูกเราไปเรียนในโรงเรียนเอกชนเด็ดขาด แม้ว่าภาพลักษณ์ขององค์กรนั้นจะดีอย่างไร เพราะอาจจะด้วยส่วนหนึ่งเราได้สำผัสเข้าไปในระบบและเห็นความเน่าเฟะพอสมควร แต่บางคนอาจจะบอกว่าโรงเรียนเอกชนดีๆก็มีเยอะนะ จขกท.อาจจะซวยเอง อันนี้เราไม่ว่าอะไรค่ะ

สุดท้ายนี้อยากจะฝากน้องๆทุกคนที่ฝันอยากเข้ามาเป็นครูเอกชน พี่อยากบอกว่า สามารถเป็นได้นะคะ แต่เราต้องมีภูมิคุ้มกันที่กับตัวเราเอง

บางทีอุดมการณ์ที่ดีอาจจะเป็นตัวที่ทำให้เราโดนเอาเปรียบจากองค์กรก็เป็นได้ สุดท้ายนี้ขอบคุณทุกคนที่อ่านนะคะ ขอบคุณค่ะ

อ่านต่อได้ที่ :: https://pantip.com/topic/38634587
  • 12 มี.ค. 2562 เวลา 08:44 น.
  • 21,746

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^