LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

เข้าใจลูกแบบไม่ต้องเลี้ยง

  • 12 มี.ค. 2562 เวลา 08:34 น.
  • 1,716
เข้าใจลูกแบบไม่ต้องเลี้ยง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เข้าใจลูกแบบไม่ต้องเลี้ยง

ตัวดิฉันเองไม่ใช่นักวิชาการในการเลี้ยงลูก แต่ได้รับประสบการณ์ ได้เห็น ได้สอน ได้พูดคุย เห็นปัญหาของเด็ก ๆ ที่มาจากครอบครัวที่หลากหลาย บางบ้านก็มีรูปแบบการเลี้ยงที่เป็นแบบแผนตายตัว บางบ้านก็ยืดหยุ่นมากจนถึงขั้นละเลย บางรายว่าจะไม่งง แต่ก็มาสับสนตอนจบ

The checklisted child คือ เด็กที่มีตารางชีวิต ที่กำหนดว่าต้องตื่นกี่โมง เรียนอะไร เรียนเสริมที่ไหน ครูคนไหน คบเพื่อนกลุ่มไหน ซึ่งกำหนดตายตัวมาแล้ว จากความรักของพ่อแม่ บางราย checklist นี้ถูกกำหนดด้วยความฝันของพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ก็ได้รับแรงบันดาลใจอีกทีมาจากการคุยกับเพื่อน จากวัยเด็ก จากทฤษฎี หรือจากงานวิจัยที่ไปอ่านไปเรียนมา 

"เด็กเกรดเฉลี่ยสูง ๆ ในโรงเรียนหลายคนเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่ไขว่คว้าหาสูตรลัด"
"เด็กสอบที่โรงเรียนได้เกรดดี แต่ทำไมสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้"
"เด็กเรียนเก่งเกรดสูง หลายคน ไม่เห็นความสำคัญครู ไม่รักเพื่อน ที่ไม่มีผลประโยชน์"
"เด็กเรียนเก่งหลายคน เลือกเรียนคณะที่ไม่ตรงกับธรรมชาติตัวเอง"

หลายครั้งในความเป็นห่วง ครอบครัวปัจจุบัน มักกลัวลูกโตมาขาดการดูแล พ่อแม่จึงเข้าไปดูแลเองอย่างใกล้ชิด ทำตาราง จัดการเวลา เรียน กิน เที่ยว หาหมอ ตลอดจนถึงการตรวจสอบว่าลูกเรียนกับโรงเรียนมีชื่อเสียงพอมั้ย ครูเก่งแค่ไหน สอนอะไร เอกสารเป็นแบบไหน บางรายคุยไลน์ส่วนตัวกับครู ควบคุมวางแผนการสอนแทนครูอีกต่างหาก

โดยเราลืมไปถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น หากเราเข้าไปในชีวิตของลูกมากเกินไป นั่นคือ เด็กจะกลายเป็นคนไม่มีทักษะการแก้ปัญหา ขาดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการใช้ชีวิต ตลอดจนเป็นคนไม่มีความรักในสิ่งที่เป็นตัวเองอย่างแท้จริง โดยเพราะตารางและความคาดหวังที่พ่อแม่ให้มา อาจไม่ตรงกับธรรมชาติเด็กสักนิดเดียว

แต่ที่พ่อแม่ทำทุกอย่าง ยอมไปสู้รบปรบมือกับครู ส่งไปเรียนติวเพิ่มเกรด หาที่เรียนดีๆ และจัดการชีวิตลูก เพียงเพื่ออยากให้ลูกมี "ความสุข"

ทีนี้เราลองมาดูอีกด้านหนึ่งบ้างนะคะ

จากงานวิจัยเชิงจิตวิทยาของ Harvard ในปี 2018 พบว่า ความสุข ของคนเรา มาจาก ความรัก 

ความรักในมนุษย์ จะทำให้เด็กรักครอบครัว เห็นใจพ่อแม่ ครู และเพื่อนที่สมควรได้รับ ไม่เห็นผิดเป็นชอบ รวมถึงมีความรักในตัวเอง อย่างแท้จริง จึงไม่ทำสิ่งที่เสียศักดิ์ศรี เช่น ลอกข้อสอบ เกเร และเด็กที่รักตัวเองอย่างแท้จริง (Self Love) จะเป็นคนที่เข้าใจ ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข และไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว 

ดังนั้นแทนที่เราจะเลี้ยงลูกเหมือนปลูกต้นบอนไซ ที่เอาแต่ ตัดแต่งกิ่งให้สวยงาม ทัดเทียมต้นไม้สวย ๆ ต้นอื่นๆ

เราเปลี่ยนมาเป็นสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และมองลูกเป็นดอกไม้ป่า (Wildflower) ที่มีหลายพันธุ์ เราไม่มีทางทราบว่าดอกไม้นั้น มันจะโต และงดงามได้สักเพียงใด และเราไม่สามารถเข้าไปแทรกการเติบโตของพันธุ์ไม้ได้สิ่งที่ทำได้ คือสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีงามให้ดอกไม้ป่านั้นได้เติบโตเต็มที่ เช่น ในครอบครัว คนเป็นพ่อแม่ควรเริ่มจากการควบคุมอารมณ์ และความคิด พฤติกรรมของตนให้เหมาะสมตามอายุ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างเสียสติ และบนโต๊ะอาหาร คือช่วงเวลาที่จะได้คุยกันเรื่องชีวิตการเรียนลูก ประสบการณ์ชีวิตแต่ละวันที่ได้เรียนรู้จากคุณครู ไม่ใช่เพียงแค่ถามเรื่องเกรดเฉลี่ย

เด็กควรใช้ชีวิตให้เข้าใจตัวเอง และผู้อื่น มีความรักในมนุษย์ และโลกที่เค้าอยู่ และแน่นอนเค้าจะมีอนาคต ซึ่งเป็นอนาคต ที่ตัวเค้าเองนั่นแหละที่จะต้องอยู่ในวันไม่มีพวกเราแล้ว 

ขอให้มีความเข้าใจกับการเลี้ยงลูกในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปมากมายนะคะ

ครูฮ้วง

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 09.30 น.
  • 12 มี.ค. 2562 เวลา 08:34 น.
  • 1,716

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^