LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7

ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ผลดีก็มี..อย่ามองแต่ในแง่ร้าย

  • 17 ก.ย. 2561 เวลา 08:10 น.
  • 3,958
ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ผลดีก็มี..อย่ามองแต่ในแง่ร้าย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ผลดีก็มี..อย่ามองแต่ในแง่ร้าย

“ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” เป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย เพราะแม้กฎหมายไทยจะกำหนดให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี (ป.1-ม.6) เป็นสิทธิที่เด็กทุกคนต้องเข้าถึง แต่ความจริงคือ “คุณภาพของสถาบันการศึกษานั้นแตกต่างกันมากเกินไป” ทั้งระหว่างโรงเรียนชายขอบรอบนอกกับโรงเรียนในเขตเมืองตามตัวอำเภอ-ตัวจังหวัด และระหว่างโรงเรียนทั่วไปกับโรงเรียนชั้นนำไม่กี่แห่งที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ

ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขปัญหานี้โดยแนวทางหนึ่งคือ “การยุบเพื่อควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก” โดยพูดกันมาตั้งแต่ปี 2554 ครั้งนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นผู้ชงเรื่องขึ้นมาในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มี ชินวรณ์ บุณยเกียรติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นอีก 2 ปีถัดมา ในปี 2556 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย พงศ์เทพ เทพกาญจนา ก็ได้พูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคการเมืองใด หากมีแนวคิดยุบรวมโรงเรียน“ข้อถกเถียง” เป็นวงกว้างจะตามมาเสมอ

ทั้ง “ฝ่ายหนุน” ที่เห็นว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนทุกชั้นรวมกันไม่ถึง 120 คน โรงเรียนแบบนี้ครูก็มีไม่ครบชั้นไม่ครบทุกวิชา อย่ากระนั้นเลยสู้ยุบรวมกับโรงเรียนที่อยู่ใกล้กันจะดีกว่าแล้วให้ภาครัฐสนับสนุนบริการรถรับ-ส่ง นักเรียนจะได้เรียนอย่างมีคุณภาพกับครูที่สอนตรงตามวิชาซึ่งย้ายมารวมกันในโรงเรียนเดียว กับ “ฝ่ายค้าน” ที่กังวลว่าเด็กในครอบครัวยากจนอาจลำบากในการเดินทาง รวมถึงโรงเรียนหลายแห่งสร้างมาด้วยเงินลงขันของคนในชุมชนจึงมีคุณค่าทางจิตใจ และมองว่าที่โรงเรียนเล็กๆ มีปัญหาเพราะส่วนกลางไม่ยอมกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเต็มที่

แน่นอนไม่เว้นแต่ยุคปัจจุบันภายใต้รัฐบาลทหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคือ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เมื่อช่วงต้นปี 2561 ประเด็นการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งและทำให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยรู้สึกกังวลใจ ซึ่ง พะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงว่า โรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั้งหมด 30,000 แห่ง ราว 15,000 แห่ง หรือ
ครึ่งหนึ่งมีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน และในจำนวนนี้ 1,000 แห่ง มีนักเรียนน้อยกว่า 40 คน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการมีมาตรการหลากหลาย โดยการควบรวมโรงเรียนจะทำในกรณีมีโรงเรียนที่มีความพร้อมอยู่ไม่ห่างไกลกันมากนัก “ปัจจุบันการคมนาคมสะดวกแล้ว ดังนั้นหากเด็กสามารถเดินทางข้ามจากหย่อมบ้านเล็กไปหย่อมบ้านใหญ่ เดินทางไกลอีกเล็กน้อย โดย สพฐ.จัดปัจจัยพื้นฐานให้เด็กเพื่อเป็นค่าเดินทางไปเรียนในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม เด็กมีเพื่อนใหม่ มีครูครบชั้น มีสื่อการเรียนครบ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี” เว้นแต่บางพื้นที่ถ้าจำเป็นก็จะไม่ยุบ เช่นโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล โดยจะเน้นหาปัจจัยมาพัฒนาคุณภาพโรงเรียนนั้นแทน

เรื่องยุบหรือไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้ก็ “น่าเห็นใจ” คนในกระทรวงศึกษาธิการอยู่ไม่น้อย เพราะหากเลือกยุบก็จะกลายเป็นถูกมองในแง่ลบจากประชาชนฝ่ายที่คัดค้าน แต่หากไม่ยุบก็ยากที่จะจัดการศึกษาในโรงเรียนเหล่านั้นให้มีคุณภาพด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณและบุคลากร ซึ่งประเด็นข้อจำกัดนี้ได้รับคำยืนยันโดย ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ ผู้แทนจากธนาคารโลก (World Bank) ประจำประเทศไทย ที่กล่าวในเวทีเสวนา “ปฏิรูปการศึกษา เดินหน้าประเทศไทย” จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า..

“ทางธนาคารโลกสร้าง Teacher Demand Model อธิบายคร่าวๆ คือสมมติชั้นประถมต้องเรียนแต่ละวิชาเท่าไร? กี่ชั่วโมง? เราก็จะดูว่าถ้าภาระการสอนของครูต้องไม่เกิน 22 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ เขาจะต้องใช้ครูอังกฤษเท่าไร? ครูเลขหรือครูวิทยาศาสตร์กี่คนต่อห้องเรียน? เราก็มาจัดขนาดห้องเรียนให้ตรงกับทาง สพฐ. ถ้าโรงเรียนยังมี 3 หมื่นกว่าโรง เราต้องใช้ครูเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 25,000 คน เพื่อจะให้โรงเรียนมีครูเพียงพอ ฉะนั้นงบประมาณก็ต้องเพิ่มอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เรามีห้องเรียนประถม ป.1-ป.6 รวมกันอยู่ 32,000 ห้อง มีนักเรียนอยู่ที่ห้องละ 14-15 คน เล็กมาก

ถ้าเราทำการนำโรงเรียนมาเป็นเครือข่าย จะเห็นว่าจำนวนห้องเรียนหายไปเยอะ จาก 3 หมื่นกว่าเหลือ 19,000-20,000 ห้องเท่านั้นเอง จำนวนนักเรียนต่อห้องก็จะขึ้นมาอยู่ที่ 24-25 คน ฉะนั้นครูที่มีอยู่ตอนนี้เพียงพอหรือเหลือเฟือ โดยที่เด็กไม่ต้องเดินทางเกินครึ่งชั่วโมง ซึ่งโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลก็ยังมีอยู่ ตรงนี้ก็ต้องทำใจไว้เลยว่ามันต้องแพง แต่เราก็จะให้แรงจูงใจครูในการย้ายไปอยู่ที่ห่างไกลเพื่อให้มีครูเพียงพอในโรงเรียนพวกนี้ จาก Teacher Demand Model ข้างต้นเราต้องใช้ครู 475,000 คน แต่ถ้า Merge (รวม) โรงเรียน เราต้องการครูแค่ 370,000 กว่าคน”

ผู้แทนธนาคารโลกประจำประเทศไทย ยังกล่าวด้วยว่า เรื่องการตั้ง “เครือข่ายโรงเรียน” ที่จัดกลุ่มจากระยะห่างระหว่างโรงเรียนโดย “ต้องใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาทีจากโรงเรียนเครือข่ายไปยังโรงเรียนศูนย์กลาง” ซึ่งเคยมีการสำรวจด้วยวิธีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วัดระยะตามเส้นทางถนนที่ใช้สัญจรจริงจากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียนหนึ่ง พบว่าส่วนใหญ่มีระยะทางเฉลี่ยเพียงไม่เกิน 10 กิโลเมตร ทั้งนี้ “ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมีโรงเรียนขนาดเล็กๆ กระจายไปทั่วอีกแล้ว” เพราะถนนหนทางในประเทศไทยดีขึ้นกว่าเมื่อ 30-40 ปีก่อนมาก

การจัดกลุ่มโรงเรียนลักษณะข้างต้นพอมีตัวอย่างอยู่บ้างคือที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งธนาคารโลกทำร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยมีการเปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2560 “ฟื้นเศรษฐกิจ ปฏิรูปรัฐ ด้วยปฏิวัติข้อมูล” จัดโดย TDRI (“ตรงจุด” ไม่เปลือง“คน-เงิน” ใช้ “เทคโนโลยี” แก้สังคมเหลื่อมล้ำ : นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 25 เม.ย. 2560) พบว่า จากโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมด 210 แห่งในจังหวัด หากจัดกลุ่มโรงเรียนโดยยึดเกณฑ์ระยะห่างระหว่างกันไม่เกิน 10 กิโลเมตร จะเหลือโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลจริงๆ เพียง 10 แห่งเท่านั้น

ด้วยวิธีแบบนี้จะทำให้ครูในพื้นที่จำนวน 1,300 คน จากที่ต้องดูแลห้องเรียนราว 1,500 ห้องจนเกิดปัญหาครูไม่ครบชั้นไม่ครบวิชาจะหมดไปเพราะครูจำนวนเท่าเดิมจะดูแลห้องเรียนเพียงประมาณ 500 ห้องเศษๆ เท่านั้น อีกทั้งยังไม่สร้างผลกระทบด้านภาระการเดินทางกับนักเรียนมากนัก ดังนั้นแล้ว..

การควบรวมโรงเรียนในพื้นที่ที่เหมาะสมจึงไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป!!!

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.
  • 17 ก.ย. 2561 เวลา 08:10 น.
  • 3,958

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^