LASTEST NEWS

01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 01 พ.ค. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 49 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.จันทบุรี เขต 2 01 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด ! สพฐ. มีคำสั่ง ย้ายและแต่งตั้ง ข้าราชการครูฯ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 01 พ.ค. 2567ศธ.รณรงค์ไหว้ครูที่ถูกต้องตามประเพณีที่ดีงาม หลังเสนอ “พิธีไหว้ครู”เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 01 พ.ค. 2567สพม.สระแก้ว ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สระแก้ว 01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

ครูธุรการทั่วประเทศ ขอบรรจุเป็นพนักงานราชการ - คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด

  • 15 มี.ค. 2561 เวลา 22:12 น.
  • 48,750
ครูธุรการทั่วประเทศ ขอบรรจุเป็นพนักงานราชการ - คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการจัดทำข้อเสนออย่างต่อเนื่องจากแกนนำของโรงเรียนและแกนนำครูธุรการอย่างน้อยสองเรื่อง ที่จนป่านนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์ตามข้อเสนอแต่อย่างใด

เรื่องแรก การขอให้มีครูสายสนับสนุนการสอนประจำโรงเรียนแบบถาวร เช่น ครูการเงิน ครูพัสดุ ครูธุรการ ครูทะเบียนและวัดผล เป็นต้น เพื่อที่จะให้ผู้ที่มีทักษะเฉพาะในเรื่องดังกล่าวมาทำหน้าที่ และครูผู้สอนจะได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็มเวลา เต็มหลักสูตรและเต็มความสามารถ


เรื่องที่สอง มาตรการบริหารและพัฒนาคนภาครัฐ พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๑ ของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งสาระของมาตรการนี้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ก็คือ เมื่อข้าราชการครูเกษียณอายุลงก็จะไม่มีการคืนอัตราเกษียณดังกล่าวให้กับโรงเรียน ยกเว้น ๑) โรงเรียนมีนักเรียนไม่น้อยกว่า ๒๕๐ คน ๒)โรงเรียนอยู่ในพื้นที่พิเศษ เสี่ยงภัยทุรกันดาร ชนกลุ่มน้อย เกาะ ภูเขาและพื้นที่ในเขตชายแดน ๓) โรงเรียนศึกษาพิเศษ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนพระราชดำริ นอกจากนั้นยังกำหนดให้มีการยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำเมื่อเกษียณอายุอีกด้วย



ทั้งสองเรื่องนี้ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง 

เรื่องแรก ครูต้องเจียดเวลามาทำการเงิน พัสดุ แนะแนว ทะเบียน ถึงแม้ว่าจะมีครูธุรการมาช่วยก็มีไม่ครบทุกโรงเรียนและเป็นอัตราจ้างรายปี ไม่ค่อยมีขวัญกำลังใจมากนัก เนื่องจากไม่รู้ว่าจะถูกเลิกจ้างเมื่อไร 

เรื่องที่สอง เป็นเจตนารมณ์ที่ดีที่ต้องการให้การบริหารงานบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดหวังว่าใช้มาตรการนี้แล้ว สพฐ.จะมีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อให้แต่ละโรงเรียนมีนักเรียนไม่น้อยกว่า ๒๕๐ คน แต่ตั้งแต่ประกาศใช้มาตรการนี้จนปีนี้เป็นปีสุดท้ายของมาตรการนี้แล้วก็ตาม นอกจากจะรวมโรงเรียนไม่ได้แล้ว โรงเรียนขนาดเล็ก(นักเรียนตั้งแต่ ๑๒๐ คนลงไป)กลับมีมากขึ้นกว่าเดิม และถึงแม้ว่าในบางปีคณะรัฐมนตรีจะมีมติผ่อนปรนหลักเกณฑ์ดังกล่าว เช่น ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ได้อัตราเกษียณคืนมา ๑,๐๘๕ อัตรา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาส ที่มีนักเรียน มากกว่า ๑๒๐ คนขึ้นไป และตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไปจะคืนให้ประมาณ ร้อยละ ๑๐ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โรงเรียนจะขาดครูผู้สอนอีกเป็นจำนวนมากถึงแม้จะมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์แล้วก็ตาม หากประเมินเชิงปริมาณอาจเข้าใจผิดได้ว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากสามารถลดจำนวนบุคลากรลงได้ตามเป้าหมาย แต่ถ้าประเมินเชิงคุณภาพแล้วถือว่ามาตรการนี้ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง โรงเรียนขาดครูผู้สอน ขาดนักการภารโรง ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


เมื่อนำทั้งสองเรื่องนี้ไปคุยทั้งในระดับนโยบาย นักวิชาการศึกษา รวมทั้งกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา(กอปศ.) และ สนช. บางท่าน และในบางครั้งผมก็เคยพาน้องๆธุรการไปยื่นข้อเสนอด้วยตนเอง ซึ่งผู้ใหญ่ทุกท่านที่คุยด้วยต่างก็เห็นความสำคัญ เห็นดีเห็นงามว่าจะต้องมีครูสายสนับสนุนการสอน จะต้องปรับมาตรการบริหารและพัฒนาคนภาครัฐของ คปร. แต่เมื่อถึงระดับปฏิบัติซึ่งต้องเป็นผู้ทำเรื่องเสนอต่อผู้มีอำนาจกลับไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด อ้างว่า “เป็นไปไม่ได้บ้าง” “เจ้านายไม่ได้สั่งบ้าง” แต่ผมกลับคิดว่าเนื่องจากผู้รับผิดชอบเหล่านั้นไม่มีกรอบคิดติดยึดหรือมโนมั่น (mindset)เกี่ยวกับความเดือดร้อนของโรงเรียนและผลเสียต่อคุณภาพนักเรียนแต่อย่างใด ประกอบกับผู้บริหารของ สพฐ.ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง เลยเข้าทำนอง “คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด” เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เรายังจะกล้าถามหาคุณภาพนักเรียนจากโรงเรียนอีกหรือ

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊กดร.รังสรรค์ มณีเล็ก วันที่ 15 มีนาคม 2561
 
  • 15 มี.ค. 2561 เวลา 22:12 น.
  • 48,750

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^