LASTEST NEWS

07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ศธ.เร่งสร้างความเข้าใจการจัดซื้อจัดจ้าง

  • 03 ส.ค. 2560 เวลา 11:07 น.
  • 13,003
ศธ.เร่งสร้างความเข้าใจการจัดซื้อจัดจ้าง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ศธ.เร่งสร้างความเข้าใจการจัดซื้อจัดจ้าง


วันที่ 23 ส.ค.60 เป็นต้นไป ต้องจัดหาพัสดุตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ซึ่งวิธีการซื้อจ้างจะเปลี่ยนไป ถามว่าหากจะซื้อกระดาษ เอ 4 จำนวน 10 ริม จะใช้แบบซื้อโดยวิธีใด
ก. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
ข. วิธีคัดเลือก
ค. วิธีเฉพาะเจาะจง
ง. วิธีประกวดแบบ


ศธ.เร่งสร้างความเข้าใจ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่(ข่าว)
- วันที่ 23 ส.ค.60 นี้ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 จะมีผลบังคับใช้ทุกหน่วยงานศึกษารายละเอียดต่างๆของ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ สร้างความเข้าใจกับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายใหม่ได้อย่างถูกต้อง
- เมื่อ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ มีผลบังคับใช้จะเป็นการปฏิรูปใหญ่ของประเทศ แต่ก็จะทำให้เกิดความโปร่งใสเป็นอย่างมากในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะครอบคลุมทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยต่อไปต้องยึด พ.ร.บ.ฉบับนี้ทั้งหมด ซึ่งต่อไปจะดำเนินการอะไรต้องระมัดระวังให้ถูกต้อง
- พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  24 ก.พ.60 และกำหนดบังคับใช้ 180 วันนับแต่วันประกาศ โดยมีข้อกำหนด เช่น เจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดตามข้างต้น
 
ที่มา ; สยามรัฐออนไลน์ 2 สิงหาคม 2560
 
ขยายประเด็นข่าว
สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
1. ภาพรวมหลักเกณฑ์วิธีการจัดซื้อจัดจ้างใหม่
   1.1) จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
   1.2) คัดเลือกจากคุณภาพโดยไม่จ าเป็นต้องใช้ราคาต่ำสุด
   1.3) ผู้ขายหรือผู้รับจ้างขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
   1.4) รวมซื้อรวมจ้างหลายหน่วยงาน
   1.5) เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง
   1.6) มีเกณฑ์ประเมินผลงาน ผู้ไม่ผ่านจะถูกระงับทำสัญญากับหน่วยงานรัฐชั่วคราว
   1.7) กำหนดบทลงโทษผู้เกี่ยวข้อง
2. ขอบเขตการบังคับใช้ (มาตรา 5)
    ราชการส่วนกลาง, ราชการส่วนภูมิภาค, ราชการส่วนท้องถิ่น, รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ, องคก์ารมหาชน, องคก์รอิสระ, องคก์รตามรัฐธรรมนูญ, หน่วยธุรการของศาล, มหาวิทยาลัยในกำของรัฐ, หน่วยงานสังกัดรัฐสภา หรือในกำกับของรัฐสภา, หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. นิยามสำคัญ (มาตรา 4)
    3.1 การจัดซื้อจัดจ้าง หมายถึง  การดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุโดยการซื้อ  จ้าง  เช่า  แลกเปลี่ยน  หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
   3.2 พัสดุ  หมายถึง  สินค้า  งานบริการ  งานก่อสร้าง  งานจ้างที่ปรึกษาและงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้าง  รวมทั้งการดําเนินการอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
        1) สินค้า หมายถึง  วัสดุ  ครุภัณฑ์  ที่ดิน  สิ่งปลูกสร้าง  และทรัพย์สินอื่นใด  รวมทั้ง งานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย  แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของสินค้านั้น
        2) งานบริการ หมายถึง  งานจ้างบริการ  งานจ้างเหมาบริการ  งานจ้างทําของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล  แต่ไม่หมายความรวมถึงการจ้าง ลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ  การรับขนในการเดินทางไปราชการหรือไปปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ  งานจ้างที่ปรึกษา  งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง  และการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์  
        3) งานก่อสร้าง  หมายถึง  งานก่อสร้างอาคาร  งานก่อสร้างสาธารณูปโภค  หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด  และการซ่อมแซม  ต่อเติม  ปรับปรุง  รื้อถอน  หรือการกระทําอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกันต่ออาคาร  สาธารณูปโภค  หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว  รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในงานก่อสร้างนั้นด้วย  แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของงานก่อสร้าง
        4) งานจ้างที่ปรึกษา  หมายถึง  งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อเป็น ผู้ให้คําปรึกษาหรือแนะนําแก่หน่วยงานของรัฐในด้านวิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  ผังเมือง  กฎหมาย  เศรษฐศาสตร์  การเงิน  การคลัง  สิ่งแวดล้อม  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  สาธารณสุข  ศิลปวัฒนธรรม  การศึกษาวิจัย  หรือด้านอื่นที่อยู่ในภารกิจของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ
        5) งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง หมายถึง งานจ้างบริการจากบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลเพื่อออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
   3.3 การบริหารพัสดุ  หมายถึง การเก็บ  การบันทึก  การเบิกจ่าย  การยืม  การตรวจสอบ  การบํารุงรักษา  และการจําหน่ายพัส
 
4.หลักการการจัดซื้อจัดจ้าง (มาตรา 8)
   เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มค่า โปร่งใส ประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรวจสอบได้
 
5. การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง (มาตรา11)
   เมื่อทราบยอดเงินให้หน่วยงานงานของรัฐจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ใน ระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ

6.การเปิดเผยขอ้มลูการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเลคทรอนิกส์ (มาตรา 11, 62-63)
   เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง , การประกาศเชิญชวน, ราคากลาง, เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเสนอ, การประกาศผลผู้ชนะ,  การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง, การทำสัญญา และการ บริหารสญัญา (เดิม เผยแพร่ TOR  ประกาศสอบราคาประกวดราคา (e-auction) ในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงาน)
 
7.ราคากลาง (ราคาอ้างอิง) (มาตรา 4 )
     1) เป็นราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด                                             
     2) เป็นราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ
     3) เป็นราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด
     4) เป็นราคาที่มาจาการสืบราคาจากท้องตลาด  
     5) เป็นราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลงัสุดภายในระยะเวลาสองปีงบประมาณ
     6) เป็นราคาอื่นใดตามหลักเกณฑ์
        (เดิมให้ใช้ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการหรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ หรือราคาที่สืบได้ จากท้องตลาด)


 
8. การมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา (มาตรา 13)
    ในการจัดซื้อ จัดจ้าง ผู้มีหน้าที่ดำเนินการ เช่น เจ้าหน้าที่พสัดุ คณะกรรมการต่าง ๆ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในงานนั้น (เดิมไม่กำหนด)
 
9.วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง (ม.55)
     1) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (เทียบได้กับวิธีสอบราคา ปรกวดราคา วิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเลก็ทรอนิกส์ (e-Auction) วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามระเบียบหรือประกาศเดิม)
     2) วิธีคัดเลือก (เทียบได้กับวิธีพิเศษ   ตามระเบียบเดิม)
     3) วิธีเฉพาะเจาะจง (เทียบได้กับวิธีตกลงราคา วิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ ตามระเบียบเดิม)
 
10. งานจ้างที่ปรึกษา (มาตรา 69)  มี 3 วิธี ได้แก่ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป  วิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง                                  
 
11. งานจ้างออกแบบและควบคุมงาน (มาตรา 79) มี 4 วิธี ได้แก่ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป  วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะเจาะจง และวิธีประกวดแบบ
 
12. เกณฑก์ารพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ (มาตรา 65)
       การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้ พิจารณาประโยชน์และวัตถุประสงค์ ของการใช้งานเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงเกณฑ์ราคา และเกณฑ์อื่นประกอบดว้ย   (เดิมใช้เกณฑ์ราคา (Price) หรือ ใช้หลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance)
 
13. การพัฒนาบุคคลากรด้านการพัสดุภาครัฐ (มาตรา 49)                                  
    ให้กรมบัญชีกลางงมีหน้าที่ในการกำหนดและจัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพสัดุภาครัฐตามหลักวิชาชีพ และตามพระราชบัญญัตินี้ โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารพัสดุ มีสิทธิไดร้บเงินเพิ่มหรือเงินอื่น (เดิมไม่กำหนด)                                  
 
14. บทกำหนดโทษ (มาตรา 120-121)
    ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ หรือผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารพัสดุ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้รวมถึงผู้ใช้และผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดด้วย                                                     
 
ที่มา ; พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.  ๒๕๖๐
ตั้งข้อสอบ
คำถาม ; การตกลงราคาเทียบได้กับการจัดหาพัสดุวิธีใดตามกฎหมายใหม่
             ก. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
             ข. วิธีคัดเลือก                                    
             ค. วิธีเฉพาะเจาะจง                                  
             ง. วิธีประกวดแบบ
เฉลย ; ค. วิธีเฉพาะเจาะจง                                    
เหตุผล ; วิธีการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา 55 พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มี 3 วิธี คือ 1)วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (เทียบได้กับวิธีสอบราคา ปรกวดราคา วิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเลก็ทรอนิกส์ (e-Auction) วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามระเบียบหรือประกาศเดิม) 2) วิธีคัดเลือก (เทียบได้กับวิธีพิเศษ   ตามระเบียบเดิม) และ 3) วิธีเฉพาะเจาะจง (เทียบได้กับวิธีตกลงราคา วิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ ตามระเบียบเดิม)

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เว็บไซต์บ้านสอบครูดอทคอม วันที่ 3 สิงหาคม 2560
 
  • 03 ส.ค. 2560 เวลา 11:07 น.
  • 13,003

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^