LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

ส่อง"3 พ่อเมือง"ร่วมปฏิรูปการศึกษาไทย

  • 09 พ.ค. 2559 เวลา 07:40 น.
  • 4,755
ส่อง"3 พ่อเมือง"ร่วมปฏิรูปการศึกษาไทย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ส่อง"3 พ่อเมือง"ร่วมปฏิรูปการศึกษาไทย
ส่อง"3 พ่อเมือง"ร่วมปฏิรูปการศึกษาไทย : วัฒนา ค้ำชู สำนักข่าวเนชั่น

             ทุกก้าวย่างการศึกษาสู่ยุค มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน “คสช.” คลอด 2 คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง “การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค” และคำสั่ง คสช.ที่ 11/2559 เรื่อง “การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค” ไม่ใช่แค่แวดวงการศึกษา แต่หลายฝ่ายได้ให้ความสนใจติดตาม

             โฟกัสทิศทาง “พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” รมว.ศึกษาธิการ ในยุคที่เข้ามานั่งเก้าอี้ “เสมา 1” จุดพลุยกเหตุผล กระทรวงศึกษาธิการทำนโยบายในหลายเรื่อง อาทิ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ คืนครูสู่ห้องเรียน การผลิตและพัฒนาครู การจัดการเรียนการสอนสะเต็ม (STEM) ในสถานศึกษา ยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ทวิภาคีหรือทวิศึกษา อาชีวศึกษาเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยอุดมศึกษาพี่เลี้ยง โครงการประชารัฐ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารในสถานศึกษา การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้อำนวยการสถานศึกษา เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำบนพื้นฐานเชื่อว่าในการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมีความรวดเร็วมากขึ้น

             “เสมา 1” ระบุการใช้แนวทางการบริหารรูปแบบใหม่ยุคเขียวเข้ม เป็นแนวทางนี้ในช่วงของรัฐบาลปัจจุบันไปก่อน แล้วคงตอบไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า จะใช้ไปนานเท่าไร แต่เป็นช่วงเร่งด่วนที่ต้องปฏิรูป ทำให้ต้องดำเนินการแบบเร่งด่วนไปก่อน จึงต้องใช้มาตรา 44 ไม่เช่นนั้นจะไม่ทันเวลา อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวไม่ง่าย เนื่องจากต้องอธิบายหารือถึงเหตุผลในการปรับโครงสร้าง เพราะใน 2 คำสั่งได้ยุบเลิกอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ในรูปแบบเก่าให้โอนอำนาจหน้าที่ไปเป็นอำนาจของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ กศจ. ถือเป็นถ่ายโอนไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนั่งประธานดูแลแทนในครานี้

             มุมมองของ “รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ” อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการที่คลุกคลีงานด้านการศึกษามานาน ได้แสดงทัศนะว่า ประเด็นสำคัญการใช้อำนาจยุบ อ.ก.ค.ศ.ที่มีปัญหาการบริหารงานไม่โปร่งใส ใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบ มีปัญหาการวิ่งเต้นเลื่อนตำแหน่งจนทำให้เกิดข้อกังขาในวงข้าราชการครู แล้วใช้อำนาจในการตั้งกศจ.แทนเป็นการดำเนินการตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานทางวิชาการ แล้วเรื่องนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยไว้แล้วกว่า 15 จังหวัด เช่น เชียงใหม่ สุรินทร์ นครราชสีมา ตราด และภูเก็ต เป็นต้น จึงมองการออกมาตรการเรื่องนี้ เป็นการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค จึงจำเป็นต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เน้นให้มีการทำงานอย่างบูรณาการ ดังนั้นผู้ว่าฯต้องมองภาพรวมความต้องการของจังหวัดตนเองให้ออก

             "เชื่อว่า หาก กศจ.ทำงานอย่างโปร่งใสสามารถอุดช่องโหว่ของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต จะทำให้การปฏิรูปทางการศึกษาเป็นไปได้อย่างดีเยี่ยม” นักวิชาการผู้นี้ระบุ อย่างไรก็ตามเขาบอกว่า องค์ประกอบของ กศจ.มีจุดอ่อนเช่นกัน เนื่องจากคณะกรรมการที่มีเหล่าข้าราชการประจำมากเกินไป ขณะที่กลุ่มตัวแทนในพื้นที่เป็นผู้ที่รู้ปัญหายังมีน้อย หากมีการวางองค์กรให้ดีเพื่อแก้ไขจุดอ่อน

             ด้านพ่อเมืองภาคอีสาน “สมศักดิ์ จังตระกุล” ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี บอกเล่า ในฐานะที่เป็นผู้รับมอบหน้าที่ไปปฏิบัตินั้น การทำงานของเราไม่มีปัญหาอะไรเลย ค่อนข้างราบรื่นเรียบร้อย แล้วเบื้องต้นได้ใช้เงินของผู้ว่าฯซีอีโอไปต่อยอดดูแลในช่วงของรอยต่อ และให้ไปจัดวางแผนยุทธศาสตร์เรื่องการศึกษาเสร็จแล้วทางจังหวัดก็นำมาร่วมเป็นแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด ซึ่งเหมาะเจาะกับตอนนี้จังหวัดเองก็กำลังปรับแผนยุทธศาสตร์เรื่องนี้ จึงให้โรงเรียนต่างๆ เขียนความต้องการเบื้องต้นแล้วส่งเข้ามา หากเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น ถนนในโรงเรียนหรือสภาพโรงเรียนไม่ดีก็เริ่มทันทีเลย โดยไม่ต้องรอจากส่วนกลางสั่งมา

             ส่วนวางแผนการศึกษาในภาพรวม ตอนนี้จำนวนเด็กเรียนลดน้อยลงก็ได้ให้ไปสำรวจร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูว่า โรงเรียนไหนที่เด็กน้อยลงก็ให้ควบรวม ซึ่งเหล่านี้ถือว่าเดินหน้าไปมากพอสมควร ในส่วนการบริหารงานและแต่งตั้งโยกย้ายบุคคลากร งบประมาณที่ผ่านมาประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควรก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเพื่อที่ภาคส่วนอื่นๆ จะได้เข้ามาช่วยทำงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คณะครูในเรื่องความโปร่งใส โดยจะแต่งตั้ง 3 อนุกรรมการ มีคณะอนุกรรมการบรรจุแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการวินัย คณะอนุกรรมการวิทยฐานะ โดยใช้คนมีคุณภาพลงไปช่วย เช่น คณะอนุกรรมการวิทยฐานะ บุคคลที่จะมีอำนาจอนุมัติก็ให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเข้ามาดูแลทำงานตรงนี้ ส่วนในคณะอนุกรรมการบรรจุแต่งตั้งก็พยายามให้มีส่วนราชการอื่นเข้าไปร่วมทำให้เป็นธรรมแก่ครู

             พ่อเมืองภาคเหนือ “สุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ” ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า การปฏิรูปมีการแบ่งเขตเป็น 18 เขต อุตรดิตถ์มีกลุ่มจังหวัดร่วมกันจำนวน 5 จังหวัด พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ โดยกลุ่มเหล่านี้อาจจะมีรองปลัดศึกษาธิการหรือผู้ตรวจฯ เข้ามาดูแลความเชื่อมโยงกันในภาพรวม ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ที่เข้ามาดูแลตรงนี้ด้วย

             “เขาได้มอบอำนาจมาให้เราไปดูแล ส่วนใหญ่เป็นการหารือเรื่องเก่าที่ค้างคามา ในส่วนของผู้อำนวยการเขตการศึกษาความจริงไม่มีการยุบ เพียงแต่คำสั่ง คสช. เอาอำนาจของ อ.ก.ค.ศ.ไปให้ กศจ. ขณะเดียวกัน ผอ.เขตการศึกษา 1 และ 2 ก็ยังอยู่ โดยผอ.เขต 1 ได้เข้ามานั่งเป็นศึกษาธิการจังหวัดแล้วมาช่วยประเมินการทำงานของเหล่าครู" สุรศักดิ์ กล่าว และว่า ในเรื่องยุทธศาสตร์การศึกษาได้บอกศึกษาธิการจังหวัดไปแล้ว การศึกษาในระดับประถม มัธยม เตรียมอุดมศึกษา ต้องเชื่อมโยงต่อกันให้ได้ แล้วต้องตอบโจทย์ความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลของจังหวัด โดยในส่วนอุตรดิตถ์ทางศึกษาธิการจังหวัดที่เป็นฝ่ายเลขาฯ กำลังเริ่มยกร่างอยู่เกี่ยวกับการเกษตรเป็นหลัก

             “ลูกหลานที่จบมาก็อยากไปทำงานโรงงานกันหมด เวลาไปเรียนก็มุ่งจะมีใบปริญญาตรี เมื่อจบมาแล้วจะต้องทำประกอบอาชีพอะไร ครั้นจะมาสมัครรับราชการ เป็นลูกจ้างก็สมัครไม่ได้ ทำให้ต้องตกงานเป็นระยะเวลา 1-2 ปี ความรู้ที่มีก็หายไปหมด ทำให้เกิดปัญหาไม่มีงานทำ ขณะเดียวกันงานที่มีในบ้านที่เป็นการเกษตรก็ไม่ยอมทำ เพราะถือว่าจบปริญญาตรี เรื่องนี้ต้องมีการวางยุทธศาสตร์ไปแก้ไข” พ่อเมืองอุตรดิตถ์ กล่าว

             ขณะที่พ่อเมืองภาคกลาง “นิสิต จันทร์สมวงศ์” ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า ได้ตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้นมาร่วมทำงาน ในระยะแรกเป็นการสะสางงานประจำที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ เช่น บรรจุข้าราชการให้ครบบัญชีแทนบุคคลที่จะเกษียณราชการ ในส่วนของงานระยะกลางจะเป็นการแต่งตั้งย้ายข้าราชการ การประเมินวิทยฐานะข้าราชการและวินัยข้าราชการ ขณะนี้นนทบุรีได้วางระบบตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาทำหน้าที่กรรมการชุดเดิม สรรหาบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญจากภายนอกเข้ามาร่วมพัฒนาทำงานด้านการย้าย ประเมินวิทยฐานะให้มีธรรมาภิบาล

             “ส่วนระยะยาวคือการที่เราต้องมีการวางแผนการศึกษาของจังหวัด ให้สอดคล้องวิสัยทัศน์จุดยืนในการพัฒนาจังหวัด โดยมอบนโยบายไปว่า ในเรื่องมาตรฐานการศึกษาคุณภาพ เราเป็นเด็กที่เก่ง สอบคะแนนโอเน็ต เอเน็ต เราท็อปในอันดับต้นๆ ของประเทศ โรงเรียนที่อยู่นนทบุรี ไม่ว่าสวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ หอวัง สตรีนนทบุรี เขมาภิรตาราม ถือเป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานไม่ด้อยกว่า กทม.เลย” พ่อเมืองนนทบุรี กล่าว และว่า นอกจากนี้มีนโยบายให้โรงเรียนในพื้นที่เป็น “โรงเรียนคุณธรรม” ตรงนี้ได้ไปเอาแบบโรงเรียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทำแผนการศึกษา ขณะเดียวกันเมืองนนทบุรีจะเน้นไปด้านพาณิชยกรรม บริหารธุรกิจ แล้วต้องใช้อาชีวะ ตรงนี้ก็จะมีการเข้าไปส่งเสริม อาทิ ช่างแอร์ ช่างไฟ ช่างประปา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ขาดแคลนมาก เนื่องจากนนทบุรีเป็นเมืองบ้านจัดสรรที่ต้องใช้วิชาชีพตรงนี้ไปดูแล เรื่องเหล่านี้เป็นแนวทางการศึกษาที่ต้องสอดคล้องกับภูมิสังคมของ จ.นนทบุรี

             ดังนั้นการขับเคลื่อนปฏิรูปศึกษาจะเป็นมหากาพย์ที่สะท้อน “อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต” และจะเปรียบเหมือน “เหล้าเก่าในขวดใหม่” แนวโน้มนโยบายที่วางกรอบปูทางเอาไว้ ทั้งการยุบปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กระจายอำนาจ รวมถึงเสียงสะท้อน จะเป็นแว่นขยายส่องถึงผลได้ในอนาคตของการศึกษาไทย

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2559
  • 09 พ.ค. 2559 เวลา 07:40 น.
  • 4,755

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^