LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567เช็ก 48 สาขาวิชาเอก ใช้รับสมัครสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

แฉส่วยย้ายครู-หนุนปฏิรูปศึกษา ริบอำนาจในมือ 9 เสือ อ.ก.ค.ศ.

  • 03 พ.ค. 2559 เวลา 22:18 น.
  • 20,011
แฉส่วยย้ายครู-หนุนปฏิรูปศึกษา ริบอำนาจในมือ 9 เสือ อ.ก.ค.ศ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แฉส่วยย้ายครู-หนุนปฏิรูปศึกษา ริบอำนาจในมือ 9 เสือ อ.ก.ค.ศ.
แฉส่วยย้ายครู-หนุนปฏิรูปศึกษา ริบอำนาจในมือ 9 เสือ อ.ก.ค.ศ. : โดย...ศูนย์ข่าวภาคอีสาน
 
                    การผ่าตัดวงการครูในระดับภูมิภาค ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2559 เรื่อง “การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค” ส่งกระแสฮือฮาให้คนในแวดวงการศึกษาได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในรายละเอียดที่สั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในตําแหน่งต่างๆ ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือให้พ้นจากตําแหน่ง ให้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ขึ้นมาแทน
 
                    คณะกรรมการชุดใหม่นี้ มีคนนอกวงการศึกษาเข้ามาด้วย ทั้งภาครัฐและเอกชน หลากหลายอาชีพ รวม 22 คน มีทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด รวมไปถึง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และประธานหอการค้าจังหวัด    
 
                    เช่นนี้ย่อมหมายถึง อำนาจเต็มในมือ 9 เสือ อ.ก.ค.ศ.ถูกดึงคืนไปจนหมดสิ้น และถ่ายโอนให้แก่ กศจ. 22 คนแทน 
 
 
                    “ยศ เหล่าอัน” ครูนักต่อสู้ อยู่โรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคอีสาน บอกว่า ไม่เคยทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ โดยให้เหตุผลว่าในแวดวงการศึกษาที่ครูมัวห่วงแต่เรื่องของตัวเอง ต้องการมีตำแหน่งขั้นสูงขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาให้แก่นักเรียน เป็นต้นเหตุให้การเรียนการสอนไม่มีคุณภาพ ระบบการศึกษาไทยถอยหลังเข้าคลองไปเรื่อยๆ ยิ่งนานวัน ระบบผูกขาดอำนาจของ อ.ก.ค.ศ.ก็ยิ่งแทรกซึมลงลึก แม้แต่การขอย้ายตามระเบียบที่กำหนดให้การโยกย้ายกลับภูมิลำเนา การย้ายติดตามคู่สมรส หรือการย้ายเพื่อดูแลบุพการี สามารถทำได้ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคมืดของวงการศึกษา ที่อำนาจอยู่ในมือคนไม่กี่คน การขอย้ายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ประเด็นการพิจารณาจึงอยู่ที่ “เงิน” ในการตกลงกันระหว่างครูที่ต้องการย้ายกับผู้มีอำนาจในวงการศึกษาของแต่ละจังหวัด การเรียกรับ “ส่วย” จึงเกิดขึ้น
 
                    “เห็นด้วยกับการเข้ามาปฏิรูปการศึกษาของ คสช. แต่เห็นว่าการทำงานของ คสช.ล่าช้า เพราะปล่อยให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงการศึกษาไทย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา ต้องการเห็นการใช้ยาแรงของ คสช.ในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ เชื่อว่าทำไม่ได้ง่ายนัก เพราะอำนาจของคนกลุ่มนี้ฝังรากลึกมานาน โดยเฉพาะการยุบคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 9 คน ถือเป็นมาเฟียในวงการศึกษา มีอำนาจในการตัดสินการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนวิทยฐานะ การสอบบรรจุครูผู้ช่วย ทำให้วงการศึกษามีช่องว่างให้เกิดการเรียกรับผลประโยชน์จากครูผู้น้อย”
 
                    ครูยศ กล่าวว่า ระบบการสอบบรรจุแต่งตั้งในสมัยก่อน มีความศักดิ์สิทธิ์เพราะไม่มีการซื้อ ทำให้ครูในสมัยก่อนมีคุณภาพ กระทั่งมี อ.ก.ค.ศ.เข้ามาทำให้ระบบการบริหารเปลี่ยน มีการเรียกรับทรัพย์เกิดขึ้น ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ในการสอบบรรจุครูอ่อนด้อยไม่มีเหลือแล้ว ทำให้บรรดาครูที่สอบเข้ามาทำงานไม่มีคุณภาพ เพราะครูเองต้องเข้ามาทำงานหาเงินใช้หนี้ ทำให้ความภูมิใจ ความยินดีในวิชาชีพไม่มี
 
                    สำหรับในภาคอีสาน อัตราส่วยที่เรียกรับมีหลายรูปแบบ หากต้องการโยกย้าย โดยรวมราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 2 แสนบาท จากนั้นคิดตามระยะทาง หรือที่รู้กันภายในว่า ราคาคิดตามหลักกิโลเมตร หากเป็นการเลื่อนวิทยฐานะ ต้องจ่ายที่เริ่มต้น 1.5 แสนบาท ส่วนการวิ่งเต้นขอความดีความชอบ 2 ขั้นหรือ 3 ขั้น ราคาอยู่ที่ 4-5 หมื่นบาท การสอบบรรจุครูอัตราจ้าง อย่างต่ำราคาอยู่ที่ 7 แสนบาท
 
                    ส่วยครูเริ่มทันทีที่มีการสอบเป็นครู มีการเรียกรับเงินตั้งแต่สอบครูผู้ช่วย ส่วนครูอัตราจ้าง ครูจ้างสอน พอครบ 3 ปีก็จะได้สิทธิ์สอบบรรจุ ขั้นตอนนี้ต้องจ่ายอีกไม่ต่ำกว่า 7 แสน ในการโยกย้ายแต่ละปี แต่ละเขต ก็มีการเรียกรับเงิน แค่สับเปลี่ยนโรงเรียนห่างกัน 4-5 กิโลเมตร ก็ต้องจ่าย 4-5 หมื่นบาท นี่คือความเหลวแหลกของวงการครูตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง เมื่อเริ่มต้นก็ใช้เงินเข้ามาแล้ว คนที่เข้ามาก็ด้อยคุณภาพ การที่ต้องใช้เงินซื้อ ทำให้ครูมีหนี้สินท่วมหัว เพราะจ่ายครั้งเดียวไม่จบ การจะมีใจสอนหนังสือหรือให้บริการชุมชนก็น้อยลง ความผูกพันระหว่างครูกับชาวบ้านและผู้ปกครองก็ไม่มี ปัจจุบันมีแต่ครูปิกอัพ ครูรถเก๋ง เช้ามาเย็นกลับ ต่างคนต่างอยู่ 
 
                    ดังนั้นการปฏิรูปและผ่าตัดวงการศึกษาครั้งใหญ่จึงควรเกิดขึ้น ต้องยกเลิกการทำผลงานแบบกระดาษมาสู่การทุ่มเทการทำแบบการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กๆ ได้รับประโยชน์จากการศึกษาอย่างแท้จริง หากไม่มีระบบส่วย ครูชนบทในวิถีเศรษฐกิจพอเพียงจะกลับคืนมา ไม่ใช่คำว่าครูมีความหมายเท่ากับว่าเป็นหนี้” ครูนักต่อสู้ กล่าว
 
 
----------------------
 
เสียงสะท้อน “ส่วยครู”
 
 
เครียด ร้องไห้ เอาที่ดินผืนสุดท้ายกู้ 5 แสน ให้ลูกสาว-ลูกเขยย้ายกลับภูมิลำเนา

 
 
                    เมื่อถึงฤดูกาลโยกย้ายข้าราชการครู มักจะได้ยินข่าวการวิ่งเต้นของครู อาจารย์ที่ต้องเตรียมเงินไว้จ่ายให้แก่กลุ่มคนใหญ่คนโตที่มีอำนาจตัดสินใจ ถือเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ข้าราชการครูหลายคนต่างต้องวิ่งเต้น เพื่อขอความช่วยเหลือให้ได้ย้ายกลับถิ่นฐาน 
 
                    การโยกย้ายกลับถิ่นฐานของข้าราชการครู มี 3 เหตุผลหลัก คือ ย้ายกลับภูมิลำเนา ย้ายติดตามคู่สมรส และย้ายกลับถิ่นฐานเพื่อดูแลพ่อแม่ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็ล้วนต้องจ่ายค่าผ่านทางทั้งสิ้น
 
                    ดังเช่น ครูสามีภรรยาคู่หนึ่ง ทำงานในโรงเรียนภาคกลางมาครบ 10 ปี ต้องการย้ายกลับมาดูแลแม่และลูกอีก 2 คนซึ่งฝากให้แม่เลี้ยง จึงทำเรื่องขอย้ายจากต้นสังกัด ซึ่งผ่านพ้นไปด้วยดี แต่พอจะลงในโรงเรียนใกล้บ้านที่ภาคอีสานกลับต้องจ่ายค่าดำเนินการสองคนรวม 5 แสนบาท โดยมีข้อตกลงว่า ทั้งคู่จะได้ย้ายกลับมาสอนที่โรงเรียนเดียวกันห่างจากบ้านไม่เกิน 10 กิโลเมตร แต่เมื่อได้ย้ายกลับไม่เป็นตามที่ตกลง ทั้งคู่ได้สอนคนละแห่ง ห่างจากบ้านประมาณ 30 กิโลเมตร แต่แม้จะไม่เป็นไปตามข้อตกลง ก็ต้องยอม เพราะดีกว่าอยู่ไกลบ้าน
 
                    “เงิน 5 แสนบาทที่ใช้วิ่งเต้นเรื่องการโยกย้ายกู้จากแหล่งเงิน 2 แห่ง คือ ธ.ก.ส. 3 แสนบาท ใช้ที่ดินในการค้ำประกัน และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 2 แสนบาท มีเพื่อนครูค้ำประกัน เงินเดือนเราทั้งคู่รวมกัน 6 หมื่น ในส่วนนี้แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าเล่าเรียนลูก ค่าเดินทางไปกลับทำงาน และใช้หนี้ที่จะเสียแบบรอบปีซึ่งเราต้องเก็บไว้เพื่อไม่ให้การเงินสะดุด ไม่มีใครอยากเสียเงินไปกับการวิ่งเต้น แต่ถ้าเราไม่จ่ายเงินก็คงไม่ได้ย้ายกลับบ้าน อย่างไรก็ต้องยอมจ่าย” ครูสามีภรรยาคู่นี้เล่าเรื่องราว
 
                    กว่า 6 เดือนแล้วที่ได้ย้ายกลับมาสอนหนังสือที่โรงเรียนในจังหวัดบ้านเกิด บ้านที่เคยเงียบเหงา มีเพียงเด็กและคนแก่ กลายเป็นบ้านหลังใหม่ที่มีชีวิตชีวา ได้อยู่พร้อมหน้าหน้าพร้อมตาลูกหลาน แม้ต้องแบกรับภาระกู้ยืมเอามาใช้เรื่องการโยกย้าย แม้รู้สึกกังวลที่ต้องนำที่ดินไปจำนองกับ ธ.ก.ส. เพื่อกู้ยืมเงินให้ลูก ถือเป็นหนี้ก้อนโตครั้งแรกในชีวิต รู้สึกเสียดายเงินจำนวนมากที่เชื่อว่าทำประโยชน์ให้ลูกหลานได้ กลับต้องมาเสียเปล่า แต่เมื่อไม่มีอำนาจในการต่อรอง การเสียเงิน 5 แสนบาท เพื่อแลกกับความสุขของครอบครัวก็ต้องจำยอม
 
                    “เราเป็นครอบครัวครู สามีเป็นครูมาทั้งชีวิต แต่เมื่อตกมาถึงรุ่นลูก ได้เห็นเลยว่าวงการครูมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อก่อนสามีขอย้ายมาอยู่ที่นี่ ที่กันดารมากๆ เพราะอยากสอนเด็กในชนบทให้มีความรู้ พอรุ่นลูกอยากสอบครูในพื้นที่ เขาก็ไม่เปิดสอบสักที จนต้องไปสอบที่ภาคอื่น แต่กลับพบปัญหาว่าการขอย้ายกลับภูมิลำเนายากกว่าการสอบบรรจุเข้าเสียอีก ตอนเอาโฉนดไปจำนองกับ ธ.ก.ส. รู้สึกเครียด กังวล กลัวว่าลูกจะผ่อนชำระไม่ได้ กลัวที่ดินผืนสุดท้ายจะถูกแบงก์ยึดไป ในชีวิตไม่ชอบเป็นหนี้ ไม่เคยฟุ้งเฟ้ออยากได้อะไร แต่กลับต้องมีหนี้ก้อนใหญ่ เงิน 5 แสนบาท ซื้อรถได้คันนึงเลยนะ ถือเงินสดๆ ไปให้เขา รู้สึกเครียดมาก” แม่ของครอบครัวครู กล่าวถึงความกังวล
 
 
----------------------
 
 
 
 
ส่วยไม่มา ย้ายไม่ได้ จำใจเกษียณก่อนกำหนด เพื่อดูแลพ่อแม่ป่วย
 
 
                    การยอมจำนนเพราะไม่มีทางเลือก ทำให้แม่พิมพ์ของชาติมีภาระหนี้สินแต่ยังมีบางคนที่ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมที่จะเสียเงินให้แก่กลุ่มผู้มีอำนาจต่อรอง กว่า 10 ปี ที่ยื่นเรื่องขอโยกย้ายได้รับการปฏิเสธ ทางเดียวที่จะได้กลับบ้านเพื่อดูแลพ่อแม่ที่ป่วย คือ “ตัดสินใจขอเกษียณก่อนกำหนด” เพราะไม่ต้องการสนับสนุนขบวนการสูบเลือดที่นำการโยกย้ายมาเป็นสินค้าราคาแพง เชื่อว่าระบบเหล่านี้มีส่วนทำให้การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบผลสำเร็จ
 
                    “เสียเท่าไร” เป็นคำถามที่อดีตครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ได้ยินทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูโยกย้ายข้าราชการครู โดยเสียงเล่าไม่ได้บอกจำนวนเงินเป็นตัวเลขออกมา แต่ที่ได้ยินมาตลอดคือ โยกย้ายด้วยราคาค่ารถ 1 คัน จึงเป็นคำถามทุกครั้งว่า ทำไมคนที่ต้องการย้ายกลับไปทำงานใกล้บ้านไปทำประโยชน์ให้บ้านเกิด ต้องเสียเงินค่าวิ่งเต้นให้แก่กลุ่มคนที่ทำนาบนหลังคน 
 
                    สำหรับคนที่ปฏิเสธการเสียเงิน แม้มีผลงานการสอนที่สามารถพัฒนานักเรียน แต่ก็ไม่มีผลเพราะผลงานไม่เท่ากับราคาเงิน ดังนั้นในปี 2555 จึงตัดสินใจขอเกษียณก่อนกำหนด ทิ้งหน้าที่การงานที่รักเท่าชีวิตไว้ข้างหลัง ทิ้งเงินเดือน 36,000 บาท มารับเงินบำนาญ 16,000 บาทแทน
 
                    “ระยะทางจากบ้านมาถึงโรงเรียนประมาณ 36 กิโลเมตร แต่เมื่อพ่อกับแม่ป่วย ต้องได้รับการดูแลใกล้ชิด การได้สอนโรงเรียนใกล้บ้านจะทำให้สามารถกลับมาดูแลเรื่องข้าวปลาอาหารได้ในช่วงเที่ยง 10 ปีที่ทำงานสอน คิดว่าตัวเองมีคุณสมบัติโยกย้ายไปทำงานใกล้บ้าน คิดว่าอย่างไรก็ต้องได้ย้าย แต่ผ่านไปกี่ปีก็ไม่ได้ย้าย ทำทุกทางที่จะเข้าสู่การพิจารณา เคยถ่ายเอกสารการรักษาตัวของพ่อแม่ปึกใหญ่แนบไปกับคำร้อง แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ระหว่างตัดสินใจเรารู้ว่าทำงานตามหน้าที่ได้ไม่เต็มร้อยเพราะห่วงพ่อแม่ การยื่นเรื่องขอครั้งสุดท้ายในช่วงที่มีโครงการครูคืนถิ่นก็ยังไม่ได้ย้าย เพื่อนแนะนำให้จ่ายเงินค่าโยกย้าย แต่คิดว่าจะไม่ยอมจ่ายเงินจำนวนนี้ให้เป็นค่าวิ่งเต้น จึงชั่งน้ำหนักระหว่างงานสอนที่ทำมากว่า 20 ปี กับการดูแลพ่อแม่หน้าที่ใดสำคัญมากกว่า สุดท้ายเลือกครอบครัว” อดีตครูผู้นี้เล่าถึงการตัดสินใจ
 
                    ทุกครั้งที่มีโอกาสกลับไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนเก่า อดีตครูผู้นี้ก็ยังได้รับการต้อนรับจากครู ผู้ปกครอง และยังคงเป็นที่รักของนักเรียน เป็นครูในดวงใจ หลายคนนำคำสอนสั่งไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ตลอด 5 ปีหลังเกษียณก่อนกำหนด จึงมีการ์ดทำมืออวยพรในวันสำคัญ ถ้อยคำที่เขียนผ่านข้อความแสดงความเคารพรัก ไม่ใช่เป็นเพียงครูที่ให้ความรู้ แต่เป็นเหมือนพ่อที่คอยอบรมให้เป็นคนดี
 
                    “รู้สึกสงสารเพื่อนครูด้วยกันที่ต้องเสียเงินกับสิ่งที่ไม่ควรเสีย จ่ายเงินไปแล้วก็บอกใคร พูดให้ใครฟังไม่ได้ พอเสียเงินแล้วก็ยังต้องมาทำงานหาเงินไปใช้หนี้อีก คนที่เรียกรับเงินก็รวยอยู่แล้ว แต่ก็ยังเรียกรับแบบไม่อาย ทำให้ระบบการศึกษาไทยล้าหลัง ทำให้ครูไม่มีคุณภาพ”
 
 
----------------------
 
(แฉส่วยย้ายครู-หนุนปฏิรูปศึกษา ริบอำนาจในมือ 9 เสือ อ.ก.ค.ศ. : โดย...ศูนย์ข่าวภาคอีสาน)

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2559
  • 03 พ.ค. 2559 เวลา 22:18 น.
  • 20,011

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^