LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567เช็ก 48 สาขาวิชาเอก ใช้รับสมัครสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

มีสะดุ้งผู้ตรวจการแผ่นดินชงลดบังคับเรียนแค่ป.6

  • 27 เม.ย. 2559 เวลา 07:53 น.
  • 11,609
มีสะดุ้งผู้ตรวจการแผ่นดินชงลดบังคับเรียนแค่ป.6

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

มีสะดุ้งผู้ตรวจการแผ่นดินชงลดบังคับเรียนแค่ป.6
"ดาว์พงษ์" ขอดูข้อเสนอผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้แค่ร่างรัฐธรรมนูญจะอุดหนุนเรียนถึง ม.3 สังคมยังสะดุ้ง ถ้าลดการศึกษาภาคบังคับเหลือแค่ป.6 ก็ต้องถามสังคมก่อน ด้าน "ชัยพฤกษ์" ชี้ควรขยายการศึกษาภาคบังคับถึงปฐมวัยไม่ใช่ตัด ม.ต้น ทิ้ง ส่วนการขีดเส้นเด็กเกรดไม่ถึง 2.5 ต้องจ่ายค่าเรียนม.1 เองเด็กยากจนเดือดร้อนแน่

วันนี้( 26 เม.ย.) ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดทำข้อเสนอในการแก้ปัญหานโยบายการศึกษา ปัญหาโครงสร้างการศึกษา ระบบจัดการศึกษา รวมถึงปัญหาคุณภาพผู้เรียน โดยขอให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการแก้กฎหมายการศึกษา 15 ฉบับ  โดยไม่ต้องผ่านที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เช่น ให้จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ตั้งแต่ปฐมวัยถึง ป.6 แยกสายสามัญและสายอาชีวะตั้งแต่ชั้น ม.1 และ เสนอให้ตั้งสถาบันครูศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตครูที่มีศักยภาพสูง พร้อมทั้งการันตีเงินเดือนครูต้องไม่ต่ำกว่าแพทย์  รวมถึงยังมีแนวคิดให้เด็กที่จบ ป.6 แต่ได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 เมื่อเข้าเรียน ม.1 จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด หากไม่มีก็จะต้องกู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)เพื่อให้เด็กตั้งใจเรียน ทำคะแนนให้ดีนั้น  พล.อ.ดาวพงษ์  รัตนสุวรรณ  รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนเห็นข้อเสนอดังกล่าวแล้ว ผ่านทางสื่อต่าง ๆ ซึ่งตนก็อยากคุยรายละเอียดกับทางผู้ตรวจการแผ่นดินเหมือนกัน ว่า คิดอย่างไร และมีข้อมูล ใดประกอบแนวคิด ตอนนี้คงไม่สามารถตอบได้ว่า เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย

พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามในส่วนข้อเสนอให้เปลี่ยนการศึกษาภาคบังคับจาก ป.1 ถึง ม.3 เป็นปฐมวัยถึง ป.6 นั้น โดยส่วนตัวตนเห็นว่า ขณะนี้แค่ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับประชามติ)  มาตรา 54 ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อน วัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ขณะที่ปัจจุบันการศึกษาภาคบังคับถึงชั้น ม.3 นั้น ก็ทำให้สังคมสะดุ้งกันแล้ว เพราะกลัวเด็กจะหลุดออกนอกระบบ ดังนั้นหากบังคับแค่ ป.6 ก็มีโอกาสที่เด็กจะออกนอกระบบการศึกษามากขึ้น ส่วนที่ให้เสนอให้เด็กที่จบ ป.6 แต่เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 เมื่อเข้าเรียน ม.1 ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนเองนั้น ต้องไปถามสังคมเองว่า เห็นด้วยหรือไม่ ผมคงไม่สามารถตอบได้ 

ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์  เสรีรักษ์  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ข้อเสนอหลายข้อเป็นประโยชน์ แต่มีบางประเด็นที่ตนไม่เห็นด้วย เช่น กำหนดการศึกษาภาคบังคับถึง ป.6  ควรจะบังคับเรียนถึง ม.3 เช่นเดิม แต่หากจะให้ความสำคัญกับปฐมวัย ก็ควรก็ขยายบังคับเรียนเพิ่มในระดับอนุบาล 3 ปี ไม่ใช่ตัด ม.ต้นทิ้ง รวมถึงแนวคิดให้เด็กจบ ป.6 แต่เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 ต้องจ่ายค่าเทอมเองนั้น จะกระทบต่อเด็กยากจน เพราะเด็กยากจนส่วนใหญ่จะเรียนไม่ดี เนื่องจากผลการเรียนมีตัวแปรหลายเรื่อง ทั้งฐานะทางเศรษฐกิจ  สังคม และสภาพแวดล้อม  หากเอาผลการเรียนมาตัดสิน โดยไม่มีการไปดูแลช่วยเหลือ ให้สวัสดิการก่อน ก็จะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากขึ้น อีกทั้งมาตรฐานการในวัดประเมินผลของครูแต่ละโรงเรียนก็มีความหลากหลาย  ดังนั้นการจะนำเกรดเฉลี่ยซึ่งมีมาตรฐานที่หลากหลายมาใช้ตัดสินเด็ก จึงไม่น่าจะเหมาะสม และการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับสากล จะดูที่จำนวนปีเฉลี่ยในการจัดศึกษาของประชากรในประเทศเป็นสำคัญ  อีกทั้งยังจะส่งผลให้ตัวเลขเด็กออกกลางคันเพิ่มขึ้นด้วย

เลขาธิการ กอศ.กล่าวด้วยว่า ส่วนการให้แยกเรียนสายสามัญ กับสายอาชีพ ตั้งแต่ ชั้น ม.1 นั้น ปรัชญาของการจัดการศึกษาชั้น ม.ต้น มีเป้าหมายให้เด็กได้สำรวจความถนัดของตนเองว่า มีความถนัด สนใจ อาชีพประเภทไหน ดังนั้น เราควรปรับการเรียนการสอนให้เด็กชั้น ม.ต้น ได้เรียนรู้และสัมผัสอาชีพ หลายๆอาชีพ เพื่อตรวจสอบความถนัด ความสนใจของตัวเอง และให้แยกสายการเรียนใน ชั้น ม.ปลายจะเหมาะสมกว่า ทั้งนี้ การใช้มาตรา 44 ควรต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ หากเห็นว่าเรื่องไหนที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้การปฏิรูปการศึกษาการขับเคลื่อนและทำให้นโยบายของรัฐบาลประสบความสำเร็จในช่วง 2 ปีนี้ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่เร่งด่วนก็ควรรอให้มีการพิจารณาผ่านตามขั้นตอนตามปกติ โดยเฉพาะในข้อเสนอที่เป็นประเด็นกระทบกับคนวงกว้าง

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 26 เมษายน 2559 เวลา 16:42 น.
 
  • 27 เม.ย. 2559 เวลา 07:53 น.
  • 11,609

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^