LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1

10 ข่าวการศึกษาโดน ๆ รอบปี 58

  • 29 ธ.ค. 2558 เวลา 23:34 น.
  • 2,588
10 ข่าวการศึกษาโดน ๆ รอบปี 58

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ถือเป็นข่าวใหญ่ที่สุดในรอบปีสำหรับวงการการศึกษา เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557

ม.44 ปราบทุจริตวงการครู

ถือเป็นข่าวใหญ่ที่สุดในรอบปีสำหรับวงการการศึกษา เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 สั่งล้างบางอำนาจเก่าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) คุรุสภา และองค์การค้าของ สกสค.พร้อมทั้งเดินหน้าปราบปรามการทุจริตซึ่งสั่งสมมานานนับสิบ ๆ ปี รวมถึงการแก้ปัญหาหนี้สินครู การกวาดล้างการทำธุรกิจที่อึมครึมเพื่อเรียกคืนศรัทธาความเป็นสถาบันวิชาชีพ และองค์กรที่ว่าด้วยสวัสดิการและสวัสดิภาพของครู

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

หลังเข้ารับตำแหน่งไม่นาน “บิ๊กหนุ่ย” พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เพื่อให้เด็กมีเวลาทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากขึ้น และมีความสุขในการเรียน โดยปรับเวลาเลิกเรียนในชั้นเรียนเป็น 14.00 น. แต่ยังไม่อนุญาตให้ออกจากโรงเรียน เพราะต้องการให้เด็กได้ใช้เวลาหลังจาก 14.00 น. ทำกิจกรรมไปจนถึงเวลาเลิกเรียนปกติ คือ 16.00 น. ทั้งนี้โครงการได้เริ่มนำร่องภาคเรียนที่ 2/2558 ในโรงเรียนประมาณ 4,100 โรง ถึงวันนี้ผ่านมาแล้ว 2 เดือน คงยังไม่สามารถสรุปอะไรได้มาก แต่ก็มีข้อห่วงใยจากผู้ปกครองว่า ความรู้ด้านวิชาการของเด็กอาจจะหย่อนยานลง คงต้องรอดูกันไปก่อน

ปรับโครงสร้าง ศธ.ยังไม่ชัด

เป็นประเด็นฮอตสุด ๆ สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ กระแสข่าวการปรับโครงสร้างกระทรวง ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะการลดขนาดหรือสลายองค์กรหลักของกระทรวงที่มีอยู่ 5 แท่ง ลงเพื่อให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นพี่ใหญ่ที่มีอำนาจ สั่งการ “Single Command” เหมือนเช่นในอดีตและกระทรวงอื่น ๆ เพราะพิสูจน์มาแล้วว่า การปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการจาก 14 องค์ชายมาเป็น 5 จักรพรรดิในช่วงเวลา 10 ปีมานี้ ไม่ได้ช่วย ให้วงการศึกษาดีขึ้น คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยก็แทบจะไม่ต่างจากเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว แต่กลับจะถดถอยลงไปเสียอีก และถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนในโครงสร้างใหม่ที่จะเกิดขึ้น ทุกคนยังคงตั้งตารอ

ยึดทรัพย์คนค้างหนี้กยศ.

ร้อน ๆ หนาว ๆ กันเป็นแถว เมื่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ผุดมาตรการใหม่ที่เข้มข้นขึ้น หวังให้ผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้รีบมาจ่ายเงินคืน ปีนี้จึงเป็นปีแรกที่ กยศ. ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ผู้กู้ที่ค้างชำระหนี้ โดยประเดิมยึดทรัพย์ลอตแรกรุ่นปีการศึกษา 2547 ไปแล้ว 786 ราย และเตรียมดำเนินการอีก 4,175 ราย แถมในปี 2561 จะนำรายชื่อผู้ค้างชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบันเข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตบูโร อีกทั้งตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป ผู้กู้ยืมทั้งเก่าและใหม่ถ้าผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.00 จะหมดสิทธิกู้ยืม

ลดสอบโอเน็ตเหลือ5วิชา

เรียกเสียงเฮจากนักเรียนได้ไม่น้อย หลังกระทรวงศึกษาธิการ ออกประกาศกระทรวงปรับลดจำนวนวิชาในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ลงจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เหลือ 5 กลุ่มสาระฯ คือคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการปรับลดครั้งนี้ส่งผลให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ปรับลดองค์ประกอบของโอเน็ตที่จะใช้พิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชั่น ตามไปด้วย จากเดิม 8 กลุ่มสาระฯ เหลือ 5 กลุ่มสาระฯ และเพิ่มสัดส่วนคะแนนจากกลุ่มสาระฯ ละ 5% เป็น 6%.



เลื่อนประเมิน สมศ.รอบสี่

มีเสียงคัดค้านจากผู้ถูกประเมินมาโดยตลอด สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่มองว่าเกณฑ์และตัวบ่งชี้ในการประเมินยังไม่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และไม่สะท้อนคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง ทำให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือ ซูเปอร์บอร์ดด้านการศึกษา ต้องมีมติให้ปฏิรูประบบประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้แล้วเสร็จก่อนที่จะประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ผลจากมติดังกล่าวทำให้ต้องเลื่อนการประเมินรอบสี่ออกไปก่อนอย่างน้อย 1 ปี จากที่กำหนดให้เริ่มในเดือนตุลาคม 2558

เด็กเอแบคเกือบอดรับปริญญา

เป็นเรื่องวุ่นวายหนักมาก จากความขัดแย้งในสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบค ส่งผลให้นักศึกษาที่เรียนจบในปีการศึกษา 2557 กว่า 3,000 คน เกือบไม่ได้รับปริญญา และหากได้รับปริญญาบัตรนั้นก็อาจเป็นโมฆะ เพราะคนลงนามในปริญญาบัตรไม่ถูกกฎหมาย ร้อนถึง เสมา 1 ต้องลงมายุติปัญหา สุดท้ายนักศึกษาก็ได้เข้ารับปริญญาตามกำหนดการ ส่วนปัญหาภายในมหาวิทยาลัยก็ได้สั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และในเดือนมกราคม 2559 นี้จะเชิญคู่กรณีมาประชุมร่วมกัน

ข้อสอบคัดผอ.รร.คลาดเคลื่อน

ถือเป็นเรื่องที่สั่นสะเทือนวงการวัดและประเมินผลก็ว่าได้ สำหรับการเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อสอบคัดเลือกรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ออกโดยสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ซึ่งส่งผลถึงความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานการจัดสอบของสถาบัน และยังส่งผลกระทบต่อลำดับการขึ้นบัญชีผู้สอบได้และการเรียกบรรจุ ซึ่งหมายถึงความก้าวหน้าในวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา แต่สุดท้ายก็มีการคิดคะแนนกันใหม่และมีคนที่ได้ขึ้นบัญชีเพิ่มขึ้น

เรื่องฉาว ๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย

ข่าวฉาวในรั้วมหาวิทยาลัย ที่ขึ้นหน้า 1 เป็นเดือน ทั้งกรณีที่อาจารย์ยื่นข้อเสนอให้ลูกศิษย์เอาตัวเข้าแลกเพื่อให้มีสิทธิได้กู้ยืมเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และอีกกรณีเพื่อให้ได้ผลการเรียน หรือ เกรดดี ๆ ถือเป็น 2 ข่าวคาวที่ช็อกวงการอุดมศึกษาในรอบปี แต่สุดท้ายอาจารย์ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวก็ถูกไล่ออก ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องตื่นขึ้นมาคุมเข้มคุณธรรม จริยธรรม ของคนที่จะมาเป็นอาจารย์ให้มากขึ้น ขณะเดียวกันต้องปลูกฝังจิตสำนึกของเด็กด้วย เพราะเรื่องแบบนี้ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง

ฟื้นซ้ำชั้นต้องคิดให้เยอะ

ปิดท้ายปีแพะ 2558 ด้วยนโยบายฟื้นการเรียนซ้ำชั้น พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบการบ้านให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ของการเรียนซ้ำชั้น เพราะมีเสียงสะท้อนว่าคุณภาพของนักเรียนยังไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน มีปัญหาในการเรียนต่อระดับที่สูงขึ้น แต่ก็มีเสียงคัดค้านสวนขึ้นมาทันทีว่า อาจเป็นการทำร้ายเด็กให้ท้อแท้ได้ เรื่องนี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องคิดให้เยอะเพราะคืออนาคตของชาติ.

ทีมการศึกษา

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 29 ธันวาคม 2558 เวลา 4:41 น.
  • 29 ธ.ค. 2558 เวลา 23:34 น.
  • 2,588

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^