LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

เงื่อนไขใหม่ ประกันบำนาญ RMF และ LTF

  • 02 ต.ค. 2558 เวลา 16:51 น.
  • 5,325
เงื่อนไขใหม่ ประกันบำนาญ RMF และ LTF

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เงื่อนไขใหม่ ประกันบำนาญ RMF และ LTF

โดย สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP

2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวส่งผ่านทาง line, facebook และสื่อ online ต่างๆมากมายว่า “กรมสรรพากรแยกประกันบำนาญลดหย่อนภาษีได้ 200,000 บาทไม่ต้องรวมกับ RMFโดยอ้างอิงประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 261 ) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)” ข่าวนี้ทำให้หลายคนดีใจกันใหญ่โดยเฉพาะพวกตัวแทนประกันชีวิต เพราะสามารถขายประกันบำนาญได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

ซึ่งหากไปอ่านอย่างละเอียดตามประกาศใหม่ที่ออกมาจะสรุปได้ว่าข่าวที่ออกไปเป็นการเข้าใจผิดครับ เบี้ยประกันบำนาญจะลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขเดิม คือ ลำพังตัวประกันบำนาญลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 200,000บาท และต้องนับไปรวมกับเงินลงทุนใน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีเดียวกัน

สิ่งที่ประกาศนี้แก้ไข ก็คือแก้ไขจาก “15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท” เป็น “15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท” ซึ่งเข้าใจว่ากรมสรรพากรต้องการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่สำหรับสิทธิประโยชน์ภาษี RMF และ LTFตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่257, 258 และ 259 ที่ออกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมาเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงหลักๆ ก็คือ จากเดิมทั้ง RMF และ LTF สามารถซื้อเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี เป็น

•สำหรับ LTF จะซื้อได้สูงสุดไม่เกิน15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีนั้น
•สำหรับ RMF จะซื้อได้สูงสุดไม่เกิน15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีนั้นและจะต้องซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปีหรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี

โดยเงินได้ที่ไม่ต้องภาษีที่กฎหมายใหม่ไม่ให้นำมารวมในการคำนวณเป็นฐานเพื่อซื้อประกันบำนาญ RMF หรือ LTF คือ เงินได้ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงที่ 126 ซึ่งเราสามารถหาดูรายละเอียดได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/554.0.html

แต่ก็มีเงินได้ที่ยกเว้นภาษีบางอย่าง อย่างเช่นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกที่ยกเว้นภาษี หรือเงินได  190,000 บาทสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุเกิน 65 ปี หรือเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่เกิน 10,000 บาท เงินได้พวกนี้จะถูกกันไม่ให้เอามาคำนวณเป็นฐานในการซื้อประกันบำนาญ RMF LTF ด้วยหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากเรามีเงินได้พึงประเมิน 2 ล้านบาท ฐานในการคำนวณเพื่อซื้อประกันบำนาญ RMF LTF คือ 2 ล้านบาท หรือ 1.85 ล้านบาท (2 ล้านบาทลบ 150,000 บาท) คำตอบ คือ 2 ล้านบาทครับ

และเงินได้บางอย่างที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว อย่างเช่นดอกเบี้ยเงินฝากที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% หรือเงินปันผลของหุ้นหรือกองทุนรวมที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ผู้มีเงินได้สามารถเลือกได้ว่าจะเอามารวมคำนวณเงินได้ปลายปีเพื่อเสียภาษีหรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่เลือกเอามาคำนวณเงินได้ปลายปีจะสามารถเอามาคำนวณเพื่อเป็นฐานในการซื้อ RMF หรือ LTF ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ดอกเบี้ยและเงินปันผลรวมถึงเงินได้อื่นๆที่มีลักษณะเหมือนกันก็จัดเป็น “เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี” ที่สามารถเอารวมคำนวณเป็นฐานเพื่อซื้อประกันบำนาญ RMF หรือ LTF ได้ครับ ไม่สำคัญว่าเราจะเอามารวมคำนวณเงินได้หรือไม่ ทั้งนี้ทราบมาว่ากรมสรรพากรที่จะประกาศเพิ่มเติมอีกครั้ง

ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเงินได้จากเงินเดือนปีละ 1,000,000 บาทและในปีนั้นได้เงินปันผลจากหุ้นอีก 500,000 บาทกฎหมายเดิมเรา เราสามารถซื้อ RMF หรือ LTF ได้อย่างละไม่เกิน 15% ของเงินได้ คือไม่เกิน 15% ของ 1,500,000 บาท คือ ไม่เกิน 225,000 บาท และสามารถซื้อประกันบำนาญได้ 200,000 บาทครับ (เพราะ 15% ของเงินได้เกินเพดานของประกันบำนาญที่ห้ามเกิน 200,000 บาท) แม้ว่าเราจะไม่เอาเงินปันผลมารวมคำนวณเงินได้ปลายปีครับ

เมื่อพิจารณาแล้วกฎหมายใหม่นี้ก็กระทบเฉพาะคนที่เดิมมีเงินได้ที่ยกเว้นภาษีแล้วเอามารวมคำนวณเป็นฐานเพื่อซื้อ RMF หรือ LTF ต่อไปก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป สรุปก็คือ จะสามารถซื้อ RMF หรือ LTF ได้น้อยลง ส่วนคนที่ไม่ค่อยมีเงินได้ที่ยกเว้นภาษีก็ไม่กระทบอะไรครับ

ท่านที่สนใจบทความทางการเงินที่ผมได้เขียนเองและได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆสำหรับเผยแพร่ให้ท่านผู้สนใจทุกท่าน ขอเชิญไปกด Like ได้ที่ page ใน face book ชื่อ Sathit Bovornsantisuth CFP เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารต่อไปได้ครับ...ขอบคุณครับ
 
ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 02 ตุลาคม 2558 เวลา 09:53 น. 
  • 02 ต.ค. 2558 เวลา 16:51 น.
  • 5,325

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^