LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยโสธร เขต 2 26 เม.ย. 2567สพม.อุทัยธานี ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.อุทัยธานี ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 26 เม.ย. 2567สพม.นนทบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นนทบุรี 26 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 26 เม.ย. 2567สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2

4รูปแบบกิจกรรมลดเวลาเรียน

  • 03 ก.ย. 2558 เวลา 05:54 น.
  • 10,329
4รูปแบบกิจกรรมลดเวลาเรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เลขาฯ กพฐ.ชี้ปรับลดวิชาการ ยันมาเรียน-กลับบ้านเวลาเดิม กำหนดกิจกรรมเบื้องต้น 4 รูปแบบ เตรียมเปิดเว็บไซต์สอบถาม นร. พร้อมจัดทำคู่มือให้ครูนำไปประยุกต์ใช้

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบาย การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งจะปรับลดเวลาเรียนวิชาการในชั้นเรียนถึงเวลาประมาณ 14.00 น. โดยช่วงเวลาต่อจากนั้น จะให้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้เหมาะสมตามวัย เพื่อให้เด็กได้เรียนอย่างมีความสุข ซึ่งจะนำร่องในโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 3,500 โรงเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ 225 เขต จะเปิดรับสมัครโรงเรียนที่มีความพร้อม และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ

ดร.กมล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในช่วงเช้านักเรียนจะได้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนช่วงบ่ายภายหลังเวลา 14.00 น.เป็นต้นไป จะเป็นกิจกรรมที่เน้นปฏิบัติและบูรณาการ เบื้องต้น สพฐ.ได้กำหนดกิจกรรมให้โรงเรียนเลือกนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของ พื้นที่ทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ที่เน้นให้เด็กทำกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยกิจกรรมจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ในช่วงเช้า เพื่อให้เด็กมีทักษะและลงมือปฏิบัติจริง อาทิ การทำโครงงาน การวาดรูป เล่นละครประวัติศาสตร์ เป็นต้น

2. กิจกรรมเสรี ให้โรงเรียนจัดตามความเหมาะสม และความพร้อม อาทิ ชมรมจิตอาสา ชมรมกีฬา ฯลฯ

3. กิจกรรมสอนอาชีพ ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.กว่าหมื่นโรงมีความต้องการเรื่องดังกล่าว โดยโรงเรียนอาจชักชวนผู้ปกครอง หรือภูมิปัญญาชาวบ้านเข้ามาร่วมให้ความรู้และสอนอาชีพแก่นักเรียน รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะชีวิตด้วย


4. กิจกรรมสอนเสริมวิชาการ ซึ่งไม่ใช่การติวเด็ก แต่เป็นการดูแลเด็กที่มีปัญหาเรียนอ่อน หรือสอนการบ้าน เป็นต้น

"สพฐ.มีแนวทางชัดเจนว่า การจัดกิจกรรมใดก็ตาม ต้องไม่เก็บเงินจากผู้ปกครองแม้แต่บาทเดียว โรงเรียนจะต้องมีความพร้อมในการจัด และ สพฐ.จะสนับสนุนตามความเหมาะสม และทุกกิจกรรมจะออกแบบให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ไม่ได้ปล่อยให้เด็กมีอิสระโดยมีครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ยืนยันว่า เด็กนักเรียนทุกคนยังคงมาเรียนและกลับบ้านเวลาเดิม" เลขาธิการ กพฐ. กล่าวและว่า เชื่อว่าแนวทางนี้จะเป็นการพลิกโฉมการศึกษาอย่างชัดเจน แต่คุณภาพการศึกษายังคงอยู่ ขณะที่นักเรียนและผู้ปกครองมีความสุข ส่วนครูอาจจะต้องเหนื่อยในช่วงแรก

ดร.กมล กล่าวต่อว่า ส่วนแผนการดำเนินงานต่อจากนี้จะหารือกับ รมว.ศึกษาธิการ ในการกำหนดแผนขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดย สพฐ.ได้ตั้งคณะทำงานพร้อมจัดทำคู่มือการบริหารจัดการเรื่องการลดเวลาเรียน ให้แก่สถานศึกษาได้นำไปเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ รวมถึงตารางกิจกรรมการเรียนการสอนให้ครูได้นำไปประยุกต์ใช้ ขณะเดียวกันจะเปิดเว็บไซต์รับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนด้วยว่า อยากได้กิจกรรมรูปแบบไหน อย่างไรก็ตาม ตนจะเรียกประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต และโรงเรียนประถมศึกษาที่นำร่องในเรื่องดังกล่าวมารับฟังแนวปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จในอนาคต

ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) องค์การมหาชน กล่าวว่า แต่ละนโยบายมีข้อดีข้อเสีย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ แต่ขอให้ดำเนินการต่อเนื่อง กรณีนโยบายลดชั่วโมงเรียนวิชาหลักลง และเพิ่มกิจกรรม เพื่อทำให้เด็กได้เปลี่ยนบรรยากาศจากเรียนในห้อง ควรมีการเพิ่มวิชาทั้งวิชาชีพ และวิชาที่เด็กชอบ โดยส่วนกลางต้องออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ที่มีความ แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม โรงเรียนสังกัด สพฐ.กว่า 38,000 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็กถึง 20,000 กว่าแห่ง และมีครูไม่ครบชั้น โรงเรียนหนึ่งมีครูต่ำกว่า 6 คน และส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. โดยโรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่รัฐควรเข้ามาดูแลและพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องของการอบรมพัฒนาครู ซึ่งที่ผ่านมา โรงเรียนนี้แก้ปัญหาโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน และจัดกิจกรรม หรือจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น ทำให้ส่วนใหญ่ค่อยๆ พัฒนา และผ่านการประเมินจาก สมศ.แล้ว

ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า บริบทแต่ละประเทศแตกต่างกัน เวลาดูการจัดการสอนของแต่ละแห่ง จะไม่เหมือนกัน อย่างประเทศฟินแลนด์ เด็กเรียนวิชาการน้อย แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่าเด็กไทยที่เรียนวิชาการเยอะ แต่ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่า ฟินแลนด์มีขนาดพื้นที่เล็ก และมีจำนวนเด็กและโรงเรียนน้อยกว่ามาก ดังนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกับของประเทศไทยไม่ได้ อีกทั้งวัฒนธรรมของไทย ต้องกำกับดูแล เด็กต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนอะไรจึงต้องค่อยๆ ผ่อนคลาย ไม่ใช่เข้มงวดอยู่แล้วปล่อยอิสระทันที จะทำให้เด็กเสีย โดยเริ่มจากจุดคิดก่อน ไม่ใช่สอนให้เด็กเรียนแบบไม่เครียด แต่ควรสอนให้เด็กรู้จักรับมือกับความเครียด และฝึกบริหารความคิดให้ได้ ไม่ใช่ทำเหมือนพ่อแม่สมัยนี้ ที่ปกป้องลูกจนเปราะบาง รับมือกับปัญหาต่างๆ ในอนาคตไม่ได้

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันอังคารที่ 1 กันยายน 2558

  • 03 ก.ย. 2558 เวลา 05:54 น.
  • 10,329

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^