LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

เสียงสะท้อนครูไทย (1) "ประเมิน"แล้วได้อะไรบ้าง?

  • 15 ม.ค. 2558 เวลา 10:20 น.
  • 2,031
เสียงสะท้อนครูไทย (1) "ประเมิน"แล้วได้อะไรบ้าง?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เสียงสะท้อนครูไทย (1) "ประเมิน"แล้วได้อะไรบ้าง?
 
16 มกรา “วันครู”..คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยตั้งความหวังกับ “ครูบาอาจารย์” ไว้สูงมาก มิใช่ในฐานะเพียงอาชีพหนึ่งที่เข้าทำงานตอนเช้า และเลิกงานกลับบ้านตอนเย็นเท่านั้น แต่หวังว่าคนเป็นครูจะช่วยอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ หรือเด็กและเยาวชนให้เติบโตขึ้นมาสมบูรณ์เพียบพร้อม ทั้งความรู้ทางวิชาการ และบุคลิกภาพอันดีงามพึงประสงค์
 
ดังนั้นหน้าที่ของครูไทยที่คุ้นเคยจากอดีตถึงปัจจุบัน นอกจากภารกิจหลักคือการสอนหนังสือแล้ว ยังมีภารกิจรองที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน เช่น ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อดูสภาพแวดล้อมในครอบครัว และประสานงานกับพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นที่ปรึกษาแนะแนวทางศึกษาต่อของนักเรียน หรือครูบางท่านที่เป็นฝ่ายปกครอง อาจต้องออกลาดตระเวนตรวจตราตามจุดเสี่ยงหรือแหล่งที่เยาวชนนิยมไปมั่วสุม เพื่อป้องกันเหตุร้ายด้วย
 
ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ “สังคมเร่งรีบ-ทุกชีวิตดิ้นรน” พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ครูยิ่งถูกคาดหวังมากขึ้น!!!
 
คำถามคือ..วันนี้คนวิชาชีพครู ได้ทำหน้าที่ “ที่ควรทำ” กันจริงๆ แค่ไหน?
 
“ท่านเชื่อไหมครับ? ใน 1 ปี เรามีเวลาเปิดเทอมประมาณ 200 วัน จะมี 84 วัน หรือร้อยละ 42 คือวันที่ครูต้องเอาเวลาไปใช้กับกิจกรรมอื่นๆ นอกชั้นเรียน และเป็นกิจกรรมที่ครูเขายืนยันว่ากระทบต่อการเรียนการสอนโดยตรง ครูเขาบอกว่า ถ้าจะคืนความสุขให้ครูและนักเรียน ขอ 84 วันนี้คืนมาเถอะ จะได้เอาไปจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น”
 
ดร.ไกรยส ภัทราวาส นักเศรษฐศาสตร์ด้านการศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวในงานแถลงข่าว “คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปีเสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง” เมื่อเดือน ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา พร้อมเปิดเผยผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างครูรวม 427 คนจากทั่วประเทศและจากโรงเรียนทุกขนาด (ใหญ่ กลาง เล็ก) ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-15 ต.ค. 2557 ทั้งหมดเป็นครูอาวุโส วิทยฐานะส่วนใหญ่อยู่ในระดับ คศ.3-คศ.4 อายุงานเฉลี่ย 20-25 ปี รวมทั้งได้รางวัล “ครูสอนดี” จากการเสนอชื่อโดยชุมชนในพื้นที่ตั้งของโรงเรียน
 
เป็นครูที่สังคมให้การรับรองแล้วว่า “ดีจริง-ทุ่มเทจริง”!!!
 
ดร.ไกรยส กล่าวต่อไปว่า ใน 84 วัน (เฉพาะวันธรรมดา) ที่เสียไป อันดับ 1 ไปอยู่ที่การประเมินต่างๆ จากหลายหน่วยงาน ทั้งประเมินคุณภาพโรงเรียน ประเมินครู ประเมินนักเรียน ใช้เวลา 43 วัน และในจำนวนนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ใช้มากที่สุด รวม 9 วัน อันดับ 2 การแข่งขันทางวิชาการ ใช้เวลา 29 วัน สำหรับการฝึกและส่งนักเรียนไปประกวดในกิจกรรมต่างๆ และ อันดับ 3 การอบรมครูที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ ใช้เวลา 10 วัน
 
เมื่อถามต่อไปว่า ในบรรดาสารพัดกิจกรรมที่ครูต้องทำ กิจกรรมใดที่ “ส่งผลเสีย” ต่อการเรียนการสอนมากที่สุด อันดับ 1 ตอบว่า “การประเมินของ สมศ.” ร้อยละ 45.7 ทิ้งห่างอันดับ 2 คือการอบรม ร้อยละ 19.7 และอันดับ 3 การแข่งขันทางวิชาการ ร้อยละ 5.6
 
ในทางตรงข้าม..กิจกรรมใดที่ “ส่งผลดี” ต่อการเรียนการสอนมากที่สุด อันดับ 1 เสียงส่วนใหญ่ตอบว่า “การแข่งขันทางวิชาการ” ร้อยละ 40.3 รองลงมา อันดับ 2 คือการประเมินแบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ร้อยละ 15.2 และ อันดับ 3 การอบรม ร้อยละ 15
 
และสิ่งที่คาใจครูมากที่สุด..เหตุใดเมื่อประเมินแล้ว จึงไม่มี “คำแนะนำ” ถึงโรงเรียนและครูบ้าง?
 
“45 เปอร์เซ็นต์ เลยนะครับ แทบจะเป็นมติเอกฉันท์ บอกว่าประเมิน สมศ. เป็นการประเมินที่ส่งผลเสียต่อการเรียนการสอนมาก ครูมองว่าใช้เวลาประเมินไปแล้วไม่ได้สิ่งที่สะท้อนกลับมา ว่าโรงเรียนควรจะปรับตัวอย่างไร การเรียนการสอนควรจะปรับอย่างไร เราเอาเวลาไปให้ สมศ. ขนาดนี้แล้ว ทำไม สมศ. ไม่บอกเราบ้างว่าเราควรจะปรับตัว พัฒนาการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เวลาที่สูญเสียไปมันไปสูญเปล่า” นักเศรษฐศาสตร์ด้านการศึกษา สสค. กล่าว
 
ด้าน นายอาคม สมพามา ครูโรงเรียนสายธรรมจันทร์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในฐานะตัวแทนครูที่ได้รับผลกระทบจากสารพัดการประเมิน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ภารกิจของครูไม่ใช่แค่ 200 วันเปิดภาคเรียนเท่านั้น แม้กระทั่งช่วงปิดภาคเรียน ภารกิจก็หนักหนาสาหัสไม่ต่างกัน
 
และส่วนใหญ่ไม่ใช่งานที่เกี่ยวกับการสอน แต่เป็นการเตรียมเอกสารประเมิน ตามแต่หน่วยงานระดับบนๆ ขึ้นไปจะสั่งการ และไม่ได้มีเพียงหน่วยงานเดียว เช่น หากวันนี้เป็นการประเมินของ สมศ. วันต่อไปก็จะเป็นการประเมินของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นต้น

 
ย้ำเสมอว่า “ด่วนที่สุด” ทุกครั้ง และทุกงาน!!!
 
“สมัยก่อนผมเป็นเด็กๆ จำได้ว่าปิดเทอมเราได้อยู่บ้าน ครูเขาก็ปิดเทอมอยู่กับครอบครัวเขา แต่เดี๋ยวนี้ปิดเทอมแทบไม่มีเลยครับ เราต้องทำงานทั้งๆ ที่ไม่ได้มีชั่วโมงสอน เราต้องเตรียมงานเตรียมเอกสารสารพัด หน่วยเหนือเขาสั่ง แล้วพอเปิดเทอม เราก็ต้องรอเขาสั่ง เดี๋ยววันนี้ สมศ. เข้าครับ เดี๋ยววันนี้ สมศ. ไม่เข้า ก็ต้องประเมินตนเองครับ รายงานให้ สพฐ. ทราบ ให้ต้นสังกัดทราบ แล้วด่วนด้วยนะครับ ด่วนครับ ด่วนมากครับ ด่วนที่สุดครับ ด่วนสารพัดด่วนประทับตรามา
 
เราก็ยอมเพราะต้องทำตามผู้บังคับบัญชา แต่พอทำแล้วมันก็เบียดบังความสุขของเด็ก เพราะเราต้องทิ้งหน้าที่ความเป็นครูของเรา ผมถามเพื่อนๆ ครู ทุกคนก็เหมือนกัน แล้วผมชื่นชมนะครับ ครูมีความอดทนสูง เราไม่ได้ทิ้งเด็กนะครับ ผมกลับไปก็ต้องมีงานเพิ่ม เช่นไปสอนชดเชย ไปตรวจการบ้าน แทนที่จะได้สอนในห้อง คุยกับเด็ก แต่ต้องไปทำงานโน่นงานนี่ที่มีการประเมิน เราไม่ได้ชอบแต่เราต้องทำ เพราะมันเป็นกฏหมาย” ครูรายนี้ ระบุ
 
 ในตอนแรกนี้ เราได้ฟังเรื่องเล่าทั้งจากครูโดยตรง และจากผลสำรวจไปแล้ว ว่าชีวิตครูต้องเจออุปสรรคใดบ้างที่ทำให้ไม่อาจสอนหนังสือได้เต็มที่ ในตอนต่อไป เราจะพาไปฟังข้อเสนอ ทั้งจากครูและจากนักวิชาการด้านที่ทำงานด้านการศึกษามายาวนาน ว่าระบบประเมิน รวมทั้งการสอบต่างๆ มากมายในขณะนี้ ควรแก้ไขอย่างไรบ้าง
 
SCOOP@NAEWNA.COM
 
 
  • 15 ม.ค. 2558 เวลา 10:20 น.
  • 2,031

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เสียงสะท้อนครูไทย (1) "ประเมิน"แล้วได้อะไรบ้าง?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^