LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครปฐม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครปฐม 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.นราธิวาส เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 2 26 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 26 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยโสธร เขต 2 26 เม.ย. 2567สพม.อุทัยธานี ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.อุทัยธานี ชัยนาท 26 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 26 เม.ย. 2567สพม.นนทบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นนทบุรี 26 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 5

ต้องอ่าน!!! ถาม-ตอบ ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคติดเชื้ออีโบลา

  • 14 ส.ค. 2557 เวลา 14:07 น.
  • 1,750
ต้องอ่าน!!! ถาม-ตอบ ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคติดเชื้ออีโบลา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ถาม-ตอบ ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคติดเชื้ออีโบลา : โดย...โต๊ะการศึกษา / สาธารณสุข
 
-อีโบลาคืออะไร
 
  >>ตอบ : เป็นเชื้อไวรัสก่อโรครุนแรงในคนและลิง แหล่งรังโรคธรรมชาติคือค้างคาวกินผลไม้ แต่อาจมีสัตว์ชนิดอื่นอีก ซึ่งมีที่อยู่อาศัยหลักในป่าดิบชื้นในทวีปแอฟริกา ไม่พบแหล่งรังโรคที่ติดเชื้อในประเทศไทย โรคนี้ระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ครั้ง ในทวีปแอฟริกา ขณะนี้มีการระบาดใหญ่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ในประเทศไลบีเรีย กินี เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย ผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบลามีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 50 
 
 
-โรคนี้ติดต่อได้อย่างไร
 
  >>ตอบ : ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด น้ำเหลือง สารคัดหลั่งของคนและสัตว์ที่เป็นโรค เชื้อจะเข้าทางผิวหนังหรือเยื่อเมือกที่มีแผลหรือรอยถลอก รวมถึงการโดนวัตถุมีคมที่มีเชื้อตำ การติดต่อส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหรือศพผู้เสียชีวิตโดยไม่ได้ป้องกัน การสัมผัสผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก เชื้ออีโบลาไม่ติดต่อทางอากาศ อาหาร น้ำดื่ม การพูดคุยกันและการถูกยุงกัด 
 
 
-ติดเชื้อแล้วมีอาการอย่างไร
 
  >>ตอบ : หลังได้รับเชื้อภายใน 21 วัน (ส่วนใหญ่ 1-2 สัปดาห์) จะมีไข้สูง ปวดหัว ปวดตามตัว อ่อนเพลียคล้ายไข้หวัด หรือไข้เลือดออก อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง ท้องเสีย มีผื่นตามตัว ต่อมาจะมีเลือดออกตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆ ระบบต่างๆ ของร่างกายล้มเหลว ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายใน 1-2 สัปดาห์หลังมีอาการ
 
 
-ถ้ามีอาการและสงสัยว่าติดเชื้อ จะยืนยันอย่างไร
 
  >>ตอบ : การวินิจฉัยโรคอาศัยการตรวจในห้องปฏิบัติการที่มีมาตรการความปลอดภัยสูงสุด (ระดับ 4) โดยตรวจหาเชื้อหรือภูมิต้านทานต่อเชื้อ
 
 
-ถ้าติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อควรทำอย่างไร?
 
  >>ตอบ : ถ้ามีประวัติเดินทางมาจากถิ่นที่มีการระบาด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยไม่เกิน 21 วันก่อนมีอาการข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์
 
 
-โรคนี้รักษาได้หรือไม่?
 
  >>ตอบ : ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ แต่แพทย์จะให้การดูแลรักษาโดยการให้สารน้ำ ดูแลเรื่องการหายใจ และให้การรักษาประคับประคองอื่นๆ อย่างใกล้ชิด
 
 
-จะป้องกันการติดเชื้ออย่างไร?
 
  >>ตอบ : ใช้หลักการรักษาสุขอนามัย ได้แก่ การล้างมือและรักษาความสะอาดทั่วไป
 
                         ถ้ามีผู้ป่วย/ผู้ที่อาจติดเชื้อ แพทย์จะแยกตัวผู้ป่วยทันทีและควบคุมการสัมผัสขั้นสูงสุด
 
                         เครื่องใช้วัสดุที่สัมผัสกับผู้ป่วย ใช้วิธีการทำลายเชื้ออย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ ต้มเดือด 5 นาที ใช้ความร้อน 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที, อบด้วยรังสีแกมมา/ยูวี หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์
 
                         ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ คาดว่าจะมีการศึกษาทดลองวัคซีนในปี 2558
 
 
-ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคติดเชื้ออีโบลาในประเทศไทยหรือไม่?
 
  >>ตอบ : ปัจจุบันยังไม่มีรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย โอกาสที่จะพบผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทยมีน้อยมาก
 
 
-โรคนี้ติดต่อได้ง่ายในประชาชนทั่วไปหรือไม่?
 
  >>ตอบ : จากการศึกษาทางระบาดวิทยา โรคติดเชื้ออีโบลาเมื่อเทียบกับโรคติดต่ออื่นๆ มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อในประชาชนทั่วไปต่ำ โดยพบว่าความสามารถในการแพร่เชื้อในชุมชนต่ำกว่าโรคหัดประมาณ 10 เท่า ต่ำกว่าโรคซาร์สและไข้หวัดใหญ่ประมาณ 2-3 เท่า
 
 
-ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโรคนี้คือกลุ่มใด?
 
  >>ตอบ : คนที่ใกล้ชิดและสัมผัสผู้ป่วย เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ญาติผู้ป่วยและคนทำศพที่ติดเชื้อ
 
 
-ช่วงนี้ถ้าใครมีไข้สูง ปวดเมื่อย ปวดหัว มีผื่นตามตัว คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเดิน แสดงว่าน่าจะติดเชื้ออีโบลาใช่หรือไม่?
 
  >>ตอบ : ไม่ใช่ อาการดังกล่าวสามารถเกิดจากโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่พบได้บ่อยกว่าในประเทศไทย เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกจากยุงลาย ไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ โรคฉี่หนู อาหารเป็นพิษ เป็นต้น ควรสงสัยว่าติดเชื้ออีโบลาก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือเดินทางไปในถิ่นระบาดของโรคนี้ภายใน 21 วันก่อนมีอาการ
 
 
-ควรงดการเดินทางไปต่างประเทศในช่วงนี้หรือไม่?
 
  >>ตอบ : องค์การอนามัยโลกยังไม่มีข้อห้ามในการเดินทางไปในถิ่นระบาดในทวีปแอฟริกา แต่ควรหลีกเลี่ยงหากไม่จำเป็น ส่วนการเดินทางไปประเทศที่ไม่ได้เป็นถิ่นระบาดไม่จำเป็นต้องงด
 
 
-มีโอกาสที่จะติดเชื้ออีโบลาจากการเดินทางโดยเครื่องบินร่วมกับผู้ป่วยที่เดินทางมาจากถิ่นระบาดบนเครื่องหรือระหว่างรอขึ้นเครื่องที่สนามบินหรือไม่
 
  >>ตอบ : การเดินทางโดยเครื่องบินร่วมกับผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก เนื่องจากปัจจุบันผู้ป่วยที่มีอาการจะถูกคัดกรองโดยสายการบินและท่าอากาศยานไม่อนุญาตให้เดินทางโดยเครื่องบิน ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการจะมีปริมาณเชื้อในเลือดไม่มาก นอกจากนี้ เนื่องจากการติดต่อจะเกิดได้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง โอกาสแพร่เชื้อจึงน้อยมาก
 
 
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
 
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
 
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
nhiransu@yahoo.com <mailto:nhiransu@yahoo.com>
 
โทร.0-2218-3317
 
 
  • 14 ส.ค. 2557 เวลา 14:07 น.
  • 1,750

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ต้องอ่าน!!! ถาม-ตอบ ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคติดเชื้ออีโบลา

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^