LASTEST NEWS

16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน  15 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วย ทั่วไป สพฐ.ปี 67 สมัครสอบทั้งสิ้น 154,187 คน ตำแหน่งว่างบรรจุครั้งแรก 4,399 อัตรา 15 พ.ค. 2567สพฐ. ปักหมุด1,808 จุด ทำ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ

พิพิธภัณฑ์ชาวยิวในเบอร์ลิน

usericon

Jewish Museum Berlin ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลเบอร์ลิน ได้จัดการแข่งขันประกวดแบบ เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ยิวแห่งใหม่ โดยพิพิธภัณฑ์ยิวดั้งเดิมถูกเปิดใช้งานมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 โครงการนี้ต้องการแสดงความเคารพ ความรู้สึกขอโทษต่อชาวยิวในอดีต และต้องการนำลูกหลานเชื้อสายชาวยิวกลับไปยังกรุงเบอร์ลินอีกครั้งหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1988 ซึ่ง Daniel Libeskind ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะในการประกวดแบบจากสถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ การออกแบบของเขาเป็นโครงการเดียวที่ใช้แนวคิดแบบหัวรุนแรง และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกเชิงแนวคิดเพื่อเป็นตัวแทนวิถีชีวิตของชาวยิว ทั้งก่อน และหลังเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

พิพิธภัณฑ์ชาวยิวดั้งเดิมในกรุงเบอร์ลินก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2476 แต่เปิดมาได้ไม่นาน ก็ถูกปิดลงในระหว่างการปกครองของนาซีในปี พ.ศ. 2481 จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 เมื่อกลุ่มวัฒนธรรมชาวยิวสาบานว่าจะเปิดพิพิธภัณฑ์ใหม่ขึ้น เพื่อต้องการให้ลูกหลานเชื้อสายยิวปรากฏตัวในกรุงเบอร์ลินอีกครั้ง เช่นในอดีตก่อนเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลังจากที่พยายามมานานหลายสิบปี จนกระทั่งเมื่อ Daniel Libeskind ชนะการประกวด แล้วได้ออกแบบพิพิธภัณฑ์ที่เป็นเสมือนตัวแทนชาวยิวจนเสร็จสมบูรณ์ และเปิดใช้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะสร้างวัฒนธรรมของสังคมชาวยิวในเบอร์ลินขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปัจจุบันลูกหลานผู้กระทำ(นาซี) และผู้ถูกกระทำ (ชาวยิว) จากสงครามสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง 
จากการศึกษาพบว่า ไม่ใช่เพียงแค่ข้างในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ที่มีเรื่องเล่า หรือนัยยะที่แสดงความเจ็บปวดของชาวยิว แต่ภายนอกของตัวอาคาร ถูกออกแบบมาเพื่อ ตั้งใจสื่อถึงรอยแผลที่ชาวยิวได้รับจากการถูกตี ถูกทรมาน และคล้ายกับเป็นรอยแตกร้าวของความรู้สึกของผู้คนในยุโรปที่ไม่สามารถจางหายไปได้เลย ภายนอกอาคารไม่มีหน้าต่างเป็นบานๆ และผนังยังมีลักษณะที่ค่อนข้างทึบ เราจึงไม่สามารถรู้ได้เลยว่าภายในอาคารนั้นมีอะไร มีการจัดนิทรรศการอย่างไร ทั้งนี้มีการเล่นระดับความเข้มความสว่าง ระหว่างแสงและเงา สีเข้ม เพราะฉะนั้นในทุกที่ภายในอาคาร ไม่ว่าส่วนนั้นจะมีการจัดแสดงงานหรือไม่ก็ตาม จะมีการจัดแสงไฟและความมืด เปรียบดั่งตัวช่วยในการเล่าเรื่องราวมากกว่าที่จะโฟกัสความสนใจของผู้เข้าชมไปแค่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น ผู้ชมจะไม่สามารถคาดเดาสเปซภายในตึกได้ว่าจะเจอกับอะไรต่อไป ซึ่งในส่วนนี้สถาปนิกต้องการให้เห็นภาพสะท้อนของชาวยิวในช่วงที่โดนจับตัว พวกเขาไม่สามารถรู้ได้เลยว่าหนทางข้างหน้าจะต้องเผชิญกับอะไร มีความลึกลับ ซับซ้อน และความไม่มั่นใจผสมผสานเข้าด้วยกัน 
Daniel Libeskind มองว่าการออกแบบพิพิธภัณฑ์ยิวเป็นมากกว่าการแข่งขัน มันเป็นเรื่องการสร้าง และรักษาตัวตนของชาวยิวภายในเบอร์ลินซึ่งหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยแนวคิดที่ต้องการแสดงออกถึงความรู้สึกของความเจ็บปวดทารุณ ความหดหู่ ความสูญเสีย และการไร้ซึ่งตัวตน ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดการหายตัวไปของวัฒนธรรมชาวยิวในช่วงสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 
เมื่อเดินเข้ามาตามทางเรื่อยๆ จะพบกับทางแยก 3 เส้นทาง ซึ่งนำไปสู่ส่วนจัดนิทรรศการต่างๆ ได้แก่ Holocaust Tower The Garden of Exile และเส้นทางสุดท้ายคือทางเดินยาวที่บอกเล่าเรื่องราวของเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในอดีต ทางแยก3ทางนั้นจะตัดกันอยู่ ถ้าผู้เข้าชมงานไม่ได้ดูแผนผังมาก่อนจะเกิดความลังเล ว่าเราควรเดินไปในทางเส้นไหนก่อน เพราะเราไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้เลยว่าจะเป็นเช่นไร นั่นแสดงถึงความกลัวในความไม่หยั่งรู้ของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นกับเราทุกคน รวมถึงเป็นความกลัวที่ชาวยิวต้องเผชิญหน้า เป็นระยะเวลาหลายปีด้วยกัน 

Holocaust Tower ห้องนี้ถูกออกแบบมาเพื่อจำลองสถานที่ที่ใช้ในการปลิดชีพหมู่ชาวยิวเป็นจำนวนมากภายในคราวเดียว เป็นความไร้ปราณีที่เกิดขึ้นแค่ชั่วพริบตา ภายในห้องมีผนังสีดำทึบ ไม่มีต้นกำเนิดแสงอื่นใดนอกจากแสงธรรมชาติเพียงเล็กน้อยจากด้านบนสุด บวกกับความสูงชะลูดของห้องนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง หดหู่ เนื่องจากไม่มีทางออกอื่นใดนอกจากประตูเหล็กขนาดใหญ่ที่เราเปิดเข้ามา สิ่งที่เกิดขึ้นภายในห้องจะมีก็แต่ความเงียบและเสียงในจิตใจเรา ทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้เข้าชมรู้สึกตามไปกับความหดหู่ของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น  และเมื่อตาของเราเริ่มปรับตัวเข้ากับความมืดได้แล้ว เราเริ่มมองเห็นภายในห้องได้ชัดเจนมากขึ้น สภาพแวดล้อมของห้องนี้ ยิ่งทำให้เรารู้สึกสิ้นหวัง และจมดิ่งลึกลงไปในอารมณ์ของความเศร้ามากยิ่งขึ้น 

Garden of Exile เป็นนิทรรศการเพียงหนึ่งเดียวที่จัดภายนอกตึก มีเสาคอนกรีตขนาดใหญ่ เรียงรายกันถึง 9 ต้น และพื้นก็มีความลาดเอียงถึง 10 องศา ทำให้เรารู้สึกถึงความไม่มั่นคง มึน งง ไม่มั่นใจ และรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยในการเดิน เหมือนอยู่ในเขาวงกตที่มีทางวกวนไปมา ซึ่งแม้แต่จะเดินดูเสาคอนกรีตให้ครบทุกต้นยังเป็นไปอย่างยากลำบาก ทำให้เราต้องระมัดระวังไม่ให้ชนกับผู้เข้าชมคนอื่น  เนื่องจากเราสามารถมองเห็นทางได้ทีละเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งเปรียบเสมือนเหตุการณ์หลังจากที่ชาวยิวหนีจากระบอบนาซีมาได้ และไม่รู้ว่าชีวิตหลังจากนี้จะเป็นเช่นไร 
ทางสุดท้ายคือทางที่ตรงไปสู่ส่วนบอกเล่าเรื่องราวของกรุงเบอร์ลินในอดีต โดยผู้เข้าชมต้องเดินไปสุดทาง และขึ้นบันได้ตรงยาว เพื่อเข้าชมนิทรรศการข้างบน ระหว่างที่ขึ้นบันไดนั้นจะพบกับแท่งคอนกรีตที่พุ่งทะลุมาจากกำแพง เปรียบเหมือนความรู้สึกของชาวยิว ที่รู้สึกเจ็บปวดและสิ้นหวังในการใช้ชีวิตอยู่ 

หน้ากากเหล็กรูปหน้าคนกำลังร้องกว่า 10000 ชิ้น วางเต็มพื้นที่จนไม่เห็นพื้นผิวของพื้น สื่อถึงชีวิตที่ล้มตายไปในช่วงเหตุการณ์นั้น ตอนที่เราก้าวเดินไปในแต่ละก้าว เหล็กจะสะท้อนเสียงเวลาที่เราเดินออกมา ซึ่งคล้ายกับเสียงร้องของผู้คนชาวยิวที่ส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ ทำให้เรารู้สึกวังเวงและหวาดหวั่นในการที่จะก้าวเดินผ่านไป ผนังคอนกรีตที่สูงทึบแต่มีหน้ากว้างค่อนข้างคับแคบ ทำให้เกิดเสียงสะท้อนแสนเศร้าดังไปมาตลอดการเดินผ่านจุดนี้ Fallen leaves ออกแบบโดย Menashe Kadishman ศิลปินชาวอิสราเอล 
สนับสนุนบทความโดย https://baccarat99th.com

รายละเอียดโดยสรุปข้างต้น เป็นมุมมองของผู้ที่เข้าชม ทางด้านสถาปัตยกรรมเสียส่วนใหญ่ ผู้เขียนจึงได้ลองชมสารคดี ที่ถูกถ่ายทำเสมือนว่า เราได้เข้าไปรับชม Jewish Museum Berlin จริงๆ พบว่า ลักษณะภายนอกเป็นอาคารทึบ มองไม่เห็นข้างในว่ามีอะไรบ้าง แต่มีการเจาะรูเล็กๆ เพื่อให้แสงลอดเข้าบ้าง เมื่อเข้าไปข้างใน มีแสงตามทางเดินไม่มากนัก เป็นปูนเปลือยข้างใน ราวกับเป็นตึกที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เมื่อเข้าไปถึงตรงที่โชว์นิทรรศการ จะมีการทาสีเป็นสีขาวดำ และ จัดแสดงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจดหมาย และรูปถ่ายของผู้เสียชีวิต รูปถ่ายช่วงสงคราม ทางเชื่อมไป Holocaust Tower เป็นประตูสีดำ ซึ่งถูกแยกออกมาจากตึก ไม่ได้อยู่ภายในตึกนิทรรศการ ข้างในเป็นปูนเปลือยมืดทึบ เพดานสูง มีแสงลอดเข้ามาเพียงน้อยนิด เมื่อออกจากอาคาร มาอีกจะพบ Garden of Exile ซึ่งจัดแสดงภายนอกอาคาร ไม่มีหลังคาใดๆทั้งสิ้น เป็นเสาคอนกรีตที่มีการแบ่งช่องไม่กว้างมาก และด้านบนคลุมไปด้วยต้นไม้ 
อีกทั้งยังมีนิทรรศการที่แสดงรูปถ่ายประวัติศาสตร์ ที่ค่อนข้างละเอียดกว่า โซนขาวดำด้วย และยังมีพื้นที่ให้นั่งฟังเรื่องเล่าของชาวยิวในปัจจุบัน และมีนิทรรศการสำหรับเด็กอีกด้วย มีกิจกรรมให้ทำราวกับว่าผู้เข้าชมเป็นคนสมัยก่อน ทำให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ค่อนข้างหลากหลาย 
ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีส่วนที่พยายามทำให้ผู้ที่เข้าไปรับชมมีความรู้สึกราวกับว่า อยู่ในคุกขนาดใหญ่ และมีส่วนของการจัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีองค์ประกอบในการเล่าเรื่องค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นขนาด ระยะ ปริมาตร แสงเงา และยังมีในส่วนของประวัติศาสตร์ ที่ไม่ได้เล่าเพียงแค่เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เท่านั้นแต่ยังเล่าไปถึงรากของชาวยิว ต้นกำเนิด และพลวัตของชาวยิว นับแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบัน
ตัวสถาปนิกเอง จงใจสร้างตึกและอาคาร เพื่อต้องการสื่ออารมณ์และความรู้สึก สิ้นหวัง หดหู่ให้กับผู้รับชม เนื่องจาก ชีวประวัติของ Libeskind เองนั้นก็ไม่ต่างจากชาวยิวผู้สูญเสียเลย เขาเป็นคนยิวที่เกิดในประเทศโปแลนด์ ครอบครัวของเขาต้องอพยพหนีสงครามล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust) ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เขายังเด็ก Libeskind พบว่า เขาสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปหลายคนจากสงครามครั้งนั้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผู้ชมที่ได้มีโอกาสเข้าไปรับชม มีอารมณ์และความรู้สึกไปตามที่สถาปนิกต้องการให้เป็น ทำให้การเล่าเรื่องของนิทรรศการต่างๆ ได้รับอรรถรสมากขึ้น เมื่อคนเข้าไปชม และพบเห็นถึงความนิสัยไม่ดีร้ายที่ชาวยิวได้รับ ก็ได้นำเอามาเผยแพร่ต่อสาธารณะ และเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจ และมีโอกาส ได้เข้าไปชมนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์นั้น ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่เล่าเรื่องความเจ็บปวดในอดีตของชาวยิวเท่านั้น แต่เป็นการเปิดเผย และเติมเต็มอดีตที่ถูกลบเลือนของชาวยิว เมื่อครั้งเยอรมันปกครอบด้วยระบอบนาซี ให้กลับมามีที่ยืนอีกครั้ง และการจัดแสดงเหล่านี้ ยังเป็นการโต้กลับแนวคิดของผู้ที่เชื่อว่า โฮโลคอสต์ไม่มีจริง เป็นเพียงเรื่องเล่าของผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์เพื่อให้เกิดความชอบธรรมเท่านั้น ด้วยหลักฐานต่างๆมากมาย ที่นำมาจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ 
Giadaexp 07 เม.ย. 2563 เวลา 10:55 น. 0 291
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^