LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม

usericon

ชื่อผลงาน    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม
     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model)
ผู้รายงาน    ปิยลักษณ์ ยุทธอาสา
ปีที่ศึกษา    2560

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องลำดับและอนุกรม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโรงเรียนปางศิลาทองศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องลำดับและอนุกรม จำนวน 13 แผน และแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม จำนวน 6 เล่ม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานและประเมินผลงานกลุ่ม และแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รูปแบบที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามหลักของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกตการณ์ และ 4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยแบ่งวงจรการปฏิบัติเป็น 3 วงจร คือวงจรที่ 1 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 – 5 วงจรที่ 2 ประกอบ ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 – 10 วงจรที่ 3 ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11-13 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย คือวางแผน ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยร่วมกันศึกษาสภาพปัญหา ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) ขั้นปฏิบัติการผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นสังเกตการณ์ ครูผู้ช่วยวิจัยสังเกตรวบรวมข้อมูลจากการเรียนการสอน โดยใช้แบบบันทึกการสอนขณะสอนของครู และแบบบันทึกการเรียนระหว่างเรียน

ผลการวิจัย พบว่า
    1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) เป็นกิจกรรมที่นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มเพื่อนจนเกิดทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสรุปได้ว่ารูปแบบการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) เป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ขั้นทบทวนความรู้เดิม เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ที่เคยเรียนหรือมีประสบการณ์ผ่านมาแล้ว นักเรียนจะต้องตอบคำถามหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่กำหนด 2) ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ กิจกรรมในขั้นนี้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ จากสถานการณ์ปัญหาที่ครูสร้างขึ้นจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมให้เข้ากับความรู้ใหม่ 3) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในกลุ่ม กิจกรรมในขั้นนี้แต่ละกลุ่มได้รับเอกสารประกอบการเรียนรู้ ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง ใบความรู้ ใบงานกิจกรรมกลุ่ม และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยนำความรู้ที่ค้นพบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่ม จัดทำผลงานกลุ่มให้มีคุณภาพและสร้างสรรค์ 4) ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้ นักเรียนได้สรุปหรือสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความรู้จากเรื่องที่เรียน ครูช่วยสรุปจัดระเบียบความรู้ของนักเรียนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น 5) ขั้นแสดงผลงาน ตัวแทนนำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในชั้นเรียน จากนั้นร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นและสรุปความรู้ร่วมกันอีกครั้ง แล้วนำผลงานกลุ่มไปปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ จัดตกแต่งผลงานให้สวยงามตามความคิดสร้างสรรค์ พร้อมนำไปจัดแสดงบนป้ายนิเทศหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อยหรือในชั่วโมงว่าง เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา เปรียบเทียบ ประเมินผลงานกลุ่มของตนกับกลุ่มอื่น และนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขผลงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป 6) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ที่ครูจัดทำขึ้น เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียน และให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน แล้วนำมาส่งครูก่อนเวลาพักรับประทานอาหารกลางวันในวันถัดไป
    2. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.71 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียน ผ่านเกณฑ์จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 88.57 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^