LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567เช็ก 48 สาขาวิชาเอก ใช้รับสมัครสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

รายงานการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประ

usericon

รายงานการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่องตัวประ
เรื่องที่ศึกษา รายงานการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นางนิรมล กาเส็มส๊ะ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหัวควน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สตูล
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2556

บทคัดย่อ
    การศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ    
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านหัวควน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 14 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุด (18 แบบฝึกทักษะ) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ 16 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ โดยใช้ทดสอบก่อนเรียนและดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ แล้วทดสอบหลังเรียน
    ผู้รายงานได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้ดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุด รวม 18 แบบฝึกทักษะ สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน ใช้จัดการเรียนรู้เป็นเวลา 16 ชั่วโมง สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ สร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 10 ข้อ โดยผู้รายงานได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสร้างเครื่องมือในการศึกษาแต่ละชนิดอย่างครบถ้วน แล้วได้ให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านได้ตรวจสอบความถูกต้องและให้คำแนะนำเพื่อนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปทดลองใช้กับนักเรียน เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือเพื่อให้เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ โดยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดำเนินการทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 30 คน ที่ได้เรียนเรื่องนี้มาแล้วเพื่อหาค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) เพื่อคัดเลือกข้อที่มีค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก ที่เป็นไปตามเกณฑ์การวัดผลประเมินผล แล้วนำไปหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) มีค่าเท่ากับ 0.89 ถือว่าเป็นแบบทดสอบที่มีคุณภาพมีความเชื่อมั่นสูง ก่อนที่จะนำไปทดลองใช้ร่วมกับแบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ กับนักเรียน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 3 คน โดยคัดเลือกจากนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับ ดี 1 คน ปานกลาง 1 คน อ่อน 1 คน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มที่ 2 จำนวน 10 คน โดยคัดเลือกจากนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับ ดี 3 คน ปานกลาง 4 คน อ่อน 3 คน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่เพื่อนำไปทดลองใช้ภาคสนาม กับนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งจากการทดลองใช้ภาคสนาม ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.00/83.67 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้ 80/80 ผู้รายงานจึงได้นำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ใช้ในการศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวควน 1 ห้องเรียน จำนวน 14 คน
    ผลการศึกษาพบว่า
    1.แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/80.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้ 80/80
    2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3.ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเรื่องตัวประกอบของจำนวนนับมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่วางไว้ คือ ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6992 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.92
    4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับดี
pakpow 08 ธ.ค. 2557 เวลา 20:54 น. 0 985
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^