LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้

usericon

รายงานประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้
หัวข้อศึกษา    :    รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
ผู้รายงาน    :    นายปิยะวุฒิ สมจรรยา
ปีที่ศึกษา    :    ปีการศึกษา 2556

[center]บทสรุปสำหรับผู้บริหาร[/center]

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ในด้านบริบทสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการกับความต้องการของบริบทสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยป้อนเกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากรและวิธีการดำเนินการตามโครงการที่กำหนดไว้ ด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการที่ปฏิบัติจริง ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินการกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 23 คน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ (ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน (จากการสุ่มอย่างง่าย) จำนวน 75 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 267 คน รวมทั้งสิ้น 380 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเกิร์ตซึ่งผู้รายงานได้จัดสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจพิจารณาหาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินบริบทสภาพแวดล้อม ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิต จำนวน 50 ข้อ ซึ่งแบบสอบถาม
ประเมินบริบทสภาพแวดล้อมมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .92 แบบสอบถามประเมินปัจจัยป้อนมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .89 แบบสอบถามประเมินกระบวนการมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .90 แบบสอบถามประเมินผลผลิตมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .91

    การจัดเก็บข้อมูล ผู้รายงานดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บ โดยแจกแบบสอบถาม จำนวน 380 ฉบับ แบบสอบถามที่ได้รับคืนมา จำนวน 380 ฉบับ
ซึ่งมีความสมบูรณ์ทั้ง 380 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 แล้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
    ผลการศึกษา พบว่า
    จากการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยภาพรวม ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42 ,  = 0.53)
2. การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง โดยพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้
2.1 ด้านบริบทสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44 ,  =0.63)
2.2 ด้านปัจจัยป้อน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38 ,  =0.64)     
2.3 ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42 ,  =0.66)
2.4 ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45,  = 0.49)     
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง โดยพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้
3.1 ด้านบริบทสภาพแวดล้อม มีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ บุคลากรบางส่วนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของโครงการ ผู้เกี่ยวข้องบางกลุ่ม ไม่ทราบนโยบายของโรงเรียน และสถานที่รับประทานอาหารมีไม่เพียงพอกับนักเรียน ซึ่งมีข้อเสนอแนะ คือ ควรให้บุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของโครงการ ควรมีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่นโยบายให้ทั่วถึง เช่น แผ่นพับ เสียงตามสายฯลฯ และขอรับการจัดสรรงบประมาณจาก สพฐ. เพื่อสร้างโรงอาหาร ตามลำดับ
3.2 ด้านปัจจัยป้อน มีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ งบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานโครงการ ผู้ปกครองและชุมชนยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการ ขาดครูที่มีความรู้ด้านอนามัยโดยเฉพาะและรู้ครอบคลุมทุกเรื่อง รวมทั้งครูมีภาระงานสอนและงานนโยบายมาก ทำให้การปฏิบัติกิจกรรมไม่เป็นไปตามกำหนดการ ซึ่งมีข้อเสนอแนะ คือ ประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ควรมีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งชี้แจงนโยบายและเป้าหมายของการดำเนินโครงการให้ชัดเจน สนับสนุนครูให้เข้ารับการอบรมหรือศึกษาดูงาน เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานอนามัย และควรให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ได้ตามสมควร ตามลำดับ
3.3 ด้านกระบวนการ มีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ การจัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไม่ค่อยเป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ และขาดความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมทั้งประสานความร่วมมือกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ
3.4 ด้านผลผลิต มีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ นักเรียนไม่ค่อยสนใจดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นักเรียนบางคนไม่ค่อยปฏิบัติตนเกี่ยวกับการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และผู้ปกครองบางคนไม่ดูแลเอาใจใส่นักเรียนเนื่องจากไม่มีเวลา ซึ่งมีข้อเสนอแนะ คือ จัดอบรมโดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ ด้านสุขอนามัยมาให้คำแนะนำแก่นักเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนรู้ถึงประโยชน์หรือคุณค่าของอาหารหลัก 5 หมู่ ครูควรให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับประโยชน์ของการล้างมือ และครูออกเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหา เพื่อประสานความเข้าใจระหว่างบ้านกับโรงเรียน พร้อมช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหา ตามลำดับ
terrior 07 ต.ค. 2557 เวลา 14:47 น. 0 1,728
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^